ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
การเมือง / การปกครอง ย้อนกลับ
มหาดไทยลดค่าธรมเนียมลงตราต่างด้าวเหลือ500บาท
29 ต.ค. 2566

น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล เลขานุการ รมว.มหาดไทย และโฆษกกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า เมื่อวันที่ 27 ต.ค.ที่ผ่านมาราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ กฎกระทรวง การกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการตรวจลงตรา และค่าธรรมเนียมคำขออนุญาตเพื่อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวต่อไป

สำหรับคนต่างด้าวซึ่งเข้ามาทำงานในราชอาณาจักรตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการจ้างแรงงานหรือได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ พ.ศ. 2566 ประกาศดังกล่าวออกโดยกระทรวงมหาดไทยและลงนามโดยนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง และนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.มหาดไทย ซึ่งจะมีผลบังคับเมื่อพ้นกำหนด 15 วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา และมีกำหนดใช้บังคับ 4 ปี

น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า สาระสำคัญของกฎกระทรวงฯ จะเป็นการปรับลดอัตราค่าธรรมเนียมการตรวจลงตราจาก 2,000 บาท เป็น 500 บาท และค่าธรรมเนียมคำขออนุญาตเพื่ออยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวต่อไปจาก 1,900 บาท เป็น 500 บาท สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม ซึ่งเข้ามาทำงานในราชอาณาจักรตามบันทึกความเข้าใจ หรือ MOU ว่าด้วยความร่วมมือด้านการจ้างแรงงาน หรือได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.)

การลดค่าธรรมเนียมเป็นระยะเวลา 4 ปี จะมีส่วนสนับสนุนให้มีการจ้างงานคนต่างด้าวโดยชอบด้วยกฎหมาย แก้ไขปัญหาคนต่างด้าวที่หลบหนีเข้าเมืองเพื่อการทำงาน ให้เข้าสู่ระบบการเป็นผู้เข้าเมืองเพื่อทำงานโดยถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อรักษาความมั่นคง และบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ประกอบธุรกิจทั้งภาคการผลิตสินค้า ภาคการบริการและภาคการส่งออก และพัฒนาประเทศทางด้านเศรษฐกิจของประเทศด้วย

 “กระทรวงมหาดไทยได้ออกกฎกระทรวงฯ ฉบับนี้สอดคล้องกับแนวทางการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวเพื่อส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศของรัฐบาล เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังโควิด19 ซึ่งการลดค่าธรรมเนียมลงเป็นการช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายของทั้งแรงงานและนายจ้าง” น.ส.ไตรศุลี กล่าว

 

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 1 - 15 พฤษภาคม 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...