ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
ท้องถิ่นไทย ย้อนกลับ
สส.ศักดิ์ดาฯ แนะรัฐ สนับสนุนจัดหาแหล่งน้ำบาดาลสะอาดช่วย ปชช. หลังปัจจุบันคุณภาพน้ำผิวดินปนเปื้อนสารเคมี
03 พ.ย. 2566

 หวั่นส่งผลต่อสุขภาพ ช่วงหน้าแล้ง

วันนี้ 3 พ.ย.66 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายศักดิ์ดา วิเชียรศิลป์ สส.กาญจนบุรี พรรคเพื่อไทย  อดีตอธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาลดาล (ทส.) เปิดเผยว่า ที่ผ่านมาประชาชนต่างก็ทราบกันดีว่า อาการป่วยเป็นโรคผิวหนัง รวมทั้งโรคระบบทางเดินหายใจนั้น ต้นเหตุ เกิดจากการนำน้ำบนผิวดินที่มีอยู่ตามห้วยหนองคลองบึง รวมทั้งอ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ มา อุปโภค-บริโภค เพราะน้ำบนผิวดินเหล่านี้ปนเปื้อนสารเคมีชนิดต่างๆ ที่นำมากำจัดวัชพืชภายในไร่ นา สวน เช่นปุ๋ย ยาฆ่าหญ้าและ ยาฆ่าแมลง เป็นต้น ซึ่งแต่ละปีรัฐบาลต้องสูญเสียงบประมาณใน การรักษาผู้ป่วยจำนวนมหาศาล 

ปัจจุบันประชาชนชาวไทยได้หันมาใช้น้ำใต้ดินด้วยการจัดหาแหล่งน้ำบาดาลมาใช้ในการอุปโภคบริโภค เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงหน้าแล้งเป็นช่วงที่น่าห่วงมากที่สุด เพราะการที่ประชาชนหาแหล่งน้ำบาดาลขึ้นใช้เองนั้นขาดขั้นตอนการปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ น้ำที่ได้มาจึงไม่สะอาดพอเนื่องจากยังมีสารเคมีปนเปื้อนอยู่ และถึงแม้จะได้น้ำ แต่ก็ไม่เพียงพอใช้สำหรับช่วงฤดูแล้ง

ดังนั้นจึงขอให้หน่วยงานภาครัฐ โดยเฉพาะกรมทรัพยากรน้ำบาล (ทส.)เป็นหน่วยงานเข้าไปดูแลประชาชนในการขุดเจาะค้นหาแหล่งน้ำบาดาล เพราะเป็นหน่วยงานที่มีผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการอยู่เป็นจำนวนมาก และรัฐบาลจะต้องให้การสนับสนุนอย่างจริงจัง เพราะกว่าจะได้มาซึ่งน้ำบาดาลต้องใช้ข้อมูลและวิธีการปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักวิชาการมีขั้นตอนต่างๆทางวิชาการอย่างเป็นระบบ ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของบ่อน้ำบาดาล ทั้งปริมาณน้ำ คุณภาพน้ำ และวัตถุประสงค์ของการใช้ เช่นนำไปใช้เพื่อการอุปโภคบริโภค เพื่อเกษตรกรรม หรือเพื่ออุตสาหกรรม

การสูบน้ำออกจากบ่อน้ำบาดาลด้วยอัตราที่กำหนด พร้อมทั้งวัดระดับน้ำที่เปลี่ยนแปลง และจะใช้เวลาสูบต่อเนื่องกันไป ประมาณ 6-72 ชั่วโมง เพื่อประเมินคุณลักษณะของบ่อน้ำบาดาล ว่าสามารถสูบได้ในปริมาณเท่าใด มีระดับน้ำปกติและระดับน้ำลดเท่าใด และยังสามารถนำข้อมูลที่ได้ไปคำนวณหาคุณสมบัติทางชลศาสตร์ของบ่อ และชั้นน้ำบาดาล ในขั้นตอนนี้สามารถนำข้อมูลไปใช้ในการคัดเลือกชนิดและขนาดแรงม้าของเครื่องสูบน้ำ 
การคำนวณระดับความลึกที่เหมาะสมในการติดตั้งท่อดูดน้ำ ตลอดจนสามารถกำหนดอัตราการสูบที่เหมาะสมกับบ่อได้ ทำให้เป็นมาตรการที่ดีในการบริหารจัดการการพัฒนาแหล่งน้ำในเชิงอนุรักษ์ และมีการกำหนดอัตราการสูบน้ำบาดาลขึ้นมาใช้ได้อย่างเหมาะสมและยั่งยืน

ตามปกติแล้วการจะนำน้ำบาดาลมาใช้อุปโภคและบริโภคต้องมีการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำบาดาลก่อน ได้แก่ วิเคราะห์คุณสมบัติทางกายภาพ เคมี และแบคทีเรีย ตลอดจนสารพิษ ว่าคุณภาพน้ำที่ได้นั้นเป็นอย่างไร หากมีคุณภาพไม่เหมาะสมก็ต้องติดตั้งระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำก่อนนำไปใช้ ซึ่งสารส่วนเกินที่พบบ่อย คือ สารสะลายเหล็ก แมงกานีส และฟลูออไรด์ เพราะถ้านำมาดื่มกินแล้วตรวจพบว่ามีสารบางชนิดที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย เช่น ฟลูออไรด์ หรือสารหนู ก็จะทำให้เกิดการเจ็บป่วยในภายหลังได้ ดังนั้น การส่งตัวอย่างไปวิเคราะห์ก่อนใช้จะทำให้เกิดความมั่นใจ ถือว่าเป็นเรื่องที่คุ้มค่า

แต่อย่างไรก็ตามก่อนถึงฤดูแล้ง ปี 2567 นี้ เบื้องต้นขอให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องออกตรวจคุณภาพน้ำของระบบประปาหมู่บ้านทั่วประเทศ ทั้งที่ใช้น้ำต้นทุนจากแหล่งน้ำบาดาลหรือน้ำผิวดิน ว่าผ่านเกณฑ์มาตรฐานที่องค์การอนามัยโลกกำหนดไว้หรือไม่

 บูรณาการปรับปรุงให้มีจุดบริการน้ำดื่มสะอาดฟรี เพื่อให้ประชาชนประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้อน้ำดื่มทั่วประเทศ  เป่าล้างทำความสะอาดบ่อน้ำบาดาล ที่มีอายุการใช้งานเกิน 5 ปี เจาะบ่อน้ำบาดาลเสริมให้กับระบบประปาเดิม ซ่อมแซมระบบประปาที่ใช้แหล่งน้ำดิบจากบ่อน้ำบาดาล โดยจัดหน่วยซ่อมเคลื่อนที่เร็ว ไว้คอยบริการประชาชน จัดฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลระบบประปาบาดาลทั่วประเทศ พร้อมอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรน้ำบาดาล โดยการเติมน้ำลงสู่ชั้นน้ำบาดาลผ่านระบบสระ ร่อง หรือบ่อวงเติมน้ำเพื่อเป็นการรักษาสมดุลของระบบน้ำบาดาล และระบบนิเวศใต้ดิน
   /////////////////////////////////////////////////////////////////////
ข่าวภูมิภาคกาญจนบุรี / ปรีชา   ไหลวารินทร์ - รายงาน

 

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...