ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
การเมือง / การปกครอง ย้อนกลับ
ราชกิจจาฯให้เทศบาลมีอำนาจปรับเป็นพินัยเริ่ม14พ.ย.2566
15 พ.ย. 2566

เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้มีอำนาจปรับเป็นพินัยตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 มีนายอนุทิน ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นผู้ลงนาม

ประกาศฉบับดังกล่าวระบุว่า ด้วยพระราชบัญญัติว่าด้วยการปรับเป็นพินัย พ.ศ. 2565 มีผลบังคับใช้ โดยพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 ถูกกำหนดให้เป็นกฎหมายตามบัญชี 1 (ลำดับที่ 75) ท้ายพระราชบัญญัติว่าด้วยการปรับเป็นพินัย พ.ศ. 2565 ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในฐานะผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 จะต้องดำเนินการประกาศกำหนดเจ้าหน้าที่ของรัฐ ผู้มีอำนาจปรับเป็นพินัย

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการปรับเป็นพินัย พ.ศ. 2565 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจึงออกประกาศกำหนดให้เจ้าหน้าที่ของรัฐต่อไปนี้ เป็นผู้มีอำนาจ ปรับเป็นพินัยในความผิดทางพินัยตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496

  • 1. นายกเทศมนตรี
  • 2. ปลัดเทศบาล
  • 3. รองปลัดเทศบาล
  • 4. หัวหน้าสำนักปลัดเทศบาล
  • 5. หัวหน้าฝ่ายนิติการ
  • 6. นิติกรระดับชำนาญการขึ้นไปที่รับผิดชอบงานดำเนินคดีทางกฎหมาย

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 14 พฤศจิกายน 2566 เป็นต้นไป

สำหรับพระราชบัญญัติว่าด้วยการปรับเป็นพินัย พ.ศ. 2565 เป็นกฎหมายกลางในการพิจารณาและกำหนดมาตรการสำหรับผู้ที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายที่ไม่ใช่ความผิดร้ายแรง โดยเรียกมาตรการใหม่นี้ว่า “การปรับเป็นพินัย” ซึ่งกำหนดให้ผู้กระทำความผิดต้องชำระเงินค่าปรับตามที่กำหนด โดยการปรับนั้นมิใช่เป็นโทษปรับทางอาญา รวมทั้งไม่มีการจำคุกหรือกักขัง ตลอดจนไม่มีการบันทึกลงในประวัติอาชญากรรมของผู้กระทำความผิดด้วย

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...