วันที่ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๖ เวลา ๑๐.๐๐ นาฬิกา เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
(นายธสรณ์อัฑฒ์ ธนิทธิพันธ์) มอบหมายให้นายอุฬาร จิ๋วเจริญ รองเลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค นายพัสกร ทัพมงคล ผู้อำนวยการกองคุ้มครองผู้บริโภคด้านฉลาก และเจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ร่วมกับจังหวัดสมุทรสาคร ลงพื้นที่ตรวจสอบผู้ผลิต และผู้จำหน่ายสินค้าประเภทดอกไม้เพลิง
ตามประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ ๓๖ (พ.ศ. ๒๕๕๖) เรื่อง ให้ดอกไม้เพลิงเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก ในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร เพื่อสร้างความมั่นใจและเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค พร้อมให้คำแนะนำผู้ประกอบการปฏิบัติตามมาตรฐานเพื่อสร้างความปลอดภัย
นายอุฬาร กล่าวว่าช่วงเทศกาลลอยกระทงจะมีการเล่นพลุ ประทัด และดอกไม้เพลิงเป็นจำนวนมากและในทุกปีจะปรากฏข่าวตามสื่อต่างๆ เกี่ยวกับอุบัติเหตุที่เกิดจากการเล่นพลุ ประทัด และดอกไม้เพลิง ส่วนใหญ่เกิดจากการเล่นที่ไม่ถูกวิธีหรือเป็นการเล่นอย่างคึกคะนองทำให้ได้รับบาดเจ็บถึงขั้นสูญเสียอวัยวะหรือในบางครั้งอาจก่อให้เกิดอัคคีภัย ซึ่งคณะกรรมการว่าด้วยฉลากได้ออกประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลากที่ ๓๖ (พ.ศ. ๒๕๕๖) เรื่อง ให้ดอกไม้เพลิงเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก ซึ่งฉลากสินค้าต้องระบุข้อความ ได้แก่ชื่อประเภท/ชนิดของสินค้า ผู้ผลิต ผู้สั่ง/ผู้นำเข้า สถานที่ตั้ง ชื่อประเทศที่ผลิต ขนาด/มิติ/ปริมาณ/ปริมาตร/น้ำหนัก วิธีใช้ ข้อแนะนำในการใช้ รวมทั้งต้องระบุอย่างน้อย ดังนี้ ผู้เล่นดอกไม้เพลิงที่มีอายุต่ำกว่า ๑๔ ปี ต้องอยู่ในการกำกับดูแลของผู้ใหญ่ ควรเก็บให้พ้นมือเกิดจากการเล่นพลุ ประทัด และดอกไม้เพลิง ส่วนใหญ่เกิดจากการเล่นที่ไม่ถูกวิธีหรือเป็นการเล่นอย่างคึกคะนองทำให้ได้รับบาดเจ็บถึงขั้นสูญเสียอวัยวะหรือในบางครั้งอาจก่อให้เกิดอัคคีภัย ซึ่งคณะกรรมการว่าด้วยฉลากได้ออกประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลากที่ ๓๖ (พ.ศ. ๒๕๕๖) เรื่อง ให้ดอกไม้เพลิงเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก ซึ่งฉลากสินค้าต้องระบุข้อความ ได้แก่ ชื่อประเภท/ชนิดของสินค้า ผู้ผลิต ผู้สั่ง/ผู้นำเข้า สถานที่ตั้ง ชื่อประเทศที่ผลิต ขนาด/มิติ/ปริมาณ/ปริมาตร/น้ำหนัก วิธีใช้ ข้อแนะนำในการใช้ รวมทั้งต้องระบุอย่างน้อย ดังนี้ ผู้เล่นดอกไม้เพลิงที่มีอายุต่ำกว่า ๑๔ ปี ต้องอยู่ในการกำกับดูแลของผู้ใหญ่ ควรเก็บให้พ้นมือเด็ก ไม่ควรเก็บรักษาไว้ในที่มีอุณหภูมิสูง ไม่ควรจุดไฟใหม่ หากจุดชนวนแล้วไม่ติด ควรเล่นในที่โล่งกว้างห่างไกลจากวัตถุไวไฟ และคำเตือนต้องระบุว่า “อันตรายอาจถึงตายหรือพิการหากเล่นไม่ถูกวิธี หรือคึกคะนอง หากผู้ประกอบธุรกิจไม่จัดทำฉลากหรือจัดทำฉลากไม่ถูกต้องจะมีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๖ เดือนหรือปรับไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ กรณีเป็นผู้ผลิต ผู้สั่งหรือนำเข้าจะมีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๑ ปีหรือปรับไม่เกิน ๒๐๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ทั้งนี้ หากผู้บริโภคถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้ประกอบธุรกิจหรือพบผู้ประกอบธุรกิจจำหน่ายสินค้าที่อาจไม่ปลอดภัยแก่ผู้บริโภค สามารถร้องเรียน หรือแจ้งเบาะแสไปยังสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ผ่านช่องทางหากเล่นไม่ถูกวิธี หรือคึกคะนอง หากผู้ประกอบธุรกิจไม่จัดทำฉลากหรือจัดทำฉลากไม่ถูกต้องจะมีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๖ เดือนหรือปรับไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ กรณีเป็นผู้ผลิต ผู้สั่งหรือนำเข้าจะมีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๑ ปีหรือปรับไม่เกิน ๒๐๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ทั้งนี้ หากผู้บริโภคถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้ประกอบธุรกิจหรือพบผู้ประกอบธุรกิจจำหน่ายสินค้าที่อาจไม่ปลอดภัยแก่ผู้บริโภค สามารถร้องเรียน หรือแจ้งเบาะแสไปยังสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น สายด่วน สคบ. ๑๑๖๖ หรือทางเว็บไซต์ www.ocpb.go.th และระบบร้องทุกข์ OCPB Connect ได้ตลอด ๒๔ ชั่วโมง