ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายประวัฒน์ พวงทอง ผู้อำนวยการส่วนควบคุมและปฏิบัติการไฟป่า สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 3(บ้านโป่ง) กล่าวว่า จากนโยบายของพลตำรวจเอก พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
มอบนโยบาย ติดตามการเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์ไฟป่า หมอกควันและฝุ่นละออง สั่งการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งจากส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ท้องถิ่น ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ผู้ว่าราชการจังหวัด เร่งรัดการดำเนินมาตรการเพื่อลดฝุ่นควัน PM2.5 ทั้งระบบให้เกิดผลเป็นรูปธรรม เน้นย้ำให้ทุกหน่วยงานปฏิบัติการด้วยความ “แม่นยำ รวดเร็ว ทันท่วงที มีประสิทธิภาพ”
จากนโยบายข้างต้นนายอนันต์ โพธิ์พันธุ์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 3(บ้านโป่ง)ได้มอบหมายให้ตน ลงพื้นที่ ติดตามการปฏิบัติงานการควบคุมไฟป่า ตามมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ที่สถานีควบคุมไฟป่าไทรโยค สถานีควบคุมไฟป่าสลักพระ-เอราวัณ ศูนย์ปฏิบัติการไฟป่ากาญจนบุรี ศูนย์ปฏิบัติการควบคุมไฟป่า และที่ศูนย์ฝึกอบรมและพัฒนาการควบคุมไฟป่าภาคกลาง
พร้อมทั้งได้มอบแนวทางการทำงาน กำชับเจ้าหน้าที่เฝ้าระวัง ลาดตระเวนและเตรียมความพร้อมในการป้องกันไฟป่าและให้เข้าดับไฟป่าให้ทันท่วงที โดยเฉพาะในช่วงหยุดยาวเทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ 2567
สำหรับมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า ระยะเตรียมการ ได้จัดประชุมเตรียมความพร้อมการปฏิบัติงานสร้างความต่อเนื่องการมีส่วนร่วมของชุมชน/เครือข่ายรณรงค์ประชาสัมพันธ์และให้ความรู้ด้านการป้องกันไฟป่า ฝึกอบรมพัฒนาความรู้ความสามารถแก่เจ้าหน้าที่ เครือข่าย เยาวชน เตรียมความพร้อมกำลังพลบูรณาการทุกหน่วยงานในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ เตรียมความพร้อมเครื่องมืออุปกรณ์ดับไฟป่าจัดตั้งศูนย์สั่งการและติดตามสถานการณ์ไฟป่า (War room) บริหารจัดการเชื้อเพลิงตามหลักวิชาการจัดตั้งจุดตรวจ/จุดสกัด และจุดเฝ้าระวัง พร้อมจัดอัตรากำลังไปเฝ้าระวัง ดำเนินการสำรวจและจัดทำแผนแก้ไขปัญหาปศุสัตว์ในพื้นที่ป่าอนุรักษ์
ส่วนมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าระยะเผชิญเหตุ ให้ยกระดับการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ป้องกันไพป่าให้เข้มข้นลาดตระเวนภาคพื้นดินเพื่อตรวจหาไฟ 24 ชม. โดยหน่วยงานภาคสนามในพื้นที่ รับผิดชอบพื้นที่ดำเนินการดับไพป่า ให้ชุดเสือไฟเข้าสนับสนุนการดับไฟป่าในสถานการณ์รุนแรง ตรวจติดตามการเกิดจุดความร้อน (hotopote)บังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด คำเนินการกับผู้กระทำผิดด้านการจุดไฟเผาป่าบูรณาการการปฏิบัติงานป้องกันและควบคมไฟป่าร่วมกับหน่วยงานอื่นอย่างรวดเร็ว
มาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าระยะบรรเทา ดำเนินการสำรวจและประเมินความเสียหายพื้นที่เกิดไฟไหม้ ป้องกันพื้นที่ที่ถูกไฟไหม้ไม่ให้มีการเข้าไปบุกรุกครอบครองทำประโยชน์จัดทำโครงการฟื้นฟูพื้นที่ที่เกิดความเสียหายจากไฟป่าดำเนินการถอดบทเรียน (After Action Rerien: 448) เพื่อกำหนดแนวทางการปฏิบัติงานในปีถัดไป
สำหรับสาเหตุการเกิดไฟป่า มีอยู่ 3 ประเด็นหลัก คือ การเตรียมพื้นที่เกษตรกรรมด้วยวิธีการเผา ปราศจากการควบคุมที่ดี ทำให้ไฟลุกลามเข้าสู่ป่าธรรมชาติ การลักลอบล่าสัตว์ป่าด้วยการเผาป่า เวลาเดินจะได้ไม่เกิดเสียงดังทำให้ล่าสัตว์ได้สะดวกและง่ายขึ้น และ การเก็บหาของป่าจำพวกผักหวานป่า ด้วยความเชื่อที่ว่าเมื่อเผาป่าแล้วจะทำให้ผักหวานแตกยอดอ่อนได้เร็วยิ่งขึ้น
เบื้องต้นได้ประสานไปถึงผู้น้ำท้องถิ่น ผู้นำท้องที่ ให้ช่วยประชาสัมพันธ์ให้ประชาชน ได้เข้าใจถึงปัญหาฝุ่นควันที่ก่อให้เกิดฝุ่น PM2.5 ซึ่งส่งผลถึงสุขภาพของคนในครอบครัว ดังนั้นขอให้หันหน้ามาช่วยกันป้องกันไม่ให้เกิดไฟป่าในพื้นที่ของท่าน เพื่อสุขภาพของตัวท่านเอง
////////////////////////////////////////////////////////////////////
ข่าวภูมิภาคกาญจนบุรี / ปรีชา ไหลวารินทร์ - รายงาน