ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กรมชลประทาน ได้ดำเนินการศึกษาการเพิ่มปริมาณน้ำกักเก็บในลุ่มห้วยลำตะเพิน โดยเพิ่มความจุอ่างเก็บน้ำลำตะเพินเดิม และสร้างอ่างเก็บน้ำลำตะเพินตอนบน เพื่อยกระดับให้สูงขึ้นพอที่จะผันข้ามมาช่วยยังพื้นที่ประสบปัญหาภัยแล้งได้ ปัจจุบันกรมชลประทานศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) และทบทวนความเหมาะสมโครงการอ่างเก็บน้ำลำตะเพินตอนบน และท่อผันน้ำแล้วเสร็จ
ทางสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติมีเป้าประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาแล้งซ้ำซาก ในพื้นที่ 5 อำเภอ ประกอบด้วย อำเภอห้วยกระเจา เลาขวัญ บ่อพลอย หนองปรือ และอำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งมีพื้นที่ทำการเกษตรจำนวน 414,000 เพื่อเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของราษฎรที่อยู่ในเขตพื้นที่โครงการ และบริเวณใกล้เคียง ตามนโยบายของรัฐบาล ลดปัญหาการย้ายถิ่นฐานของราษฎร โดยการส่งเสริมให้ราษฎรในท้องถิ่นมีอาชีพการเกษตรกรรมที่มั่นคง ซึ่งระยะเวลาดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 720 วัน นับจากวันเริ่มปฏิบัติงาน 16 กันยายน 2566 สิ้นสุดสัญญา 4 กันยายน 2568
สำหรับพื้นที่โครงการผันนน้ำจากอ่างเก็บน้ำเขื่อนศรีนครินทร์ จะประกอบด้วยอุโมงค์ผันน้ำขนาด 4.20 เมตร ความยาวประมาณ 20.53 กิโลเมตร จากอ่างเก็บน้ำเขื่อนศรีนครินทร์ไปยังอ่างเก็บน้ำลำอีซู ผันน้ำได้สูงสุด 12 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และท่อส่งจากลำอีซู ไปยังบ่อพักน้ำหลุมรัง บ่อพักน้ำหลุมรัง เป็นท่อเหล็กเหนียว ขนาด2.50 เมตร ระยะทาง 14.267 กิโลเมตร อัตราการไหลสูงสุด 12 ล้านลูกบาศก์เมตร ต่อ วินาที มีพื้นที่บ่อพักน้ำหลุมรัง ขนาดพื้นที่ 651 ไร่ ความจุ 3.70 ล้านลูกบาศก์เมตร คลองส่งน้ำจากบ่อพักน้ำหลุมรังไปยังที่รับประโยชน์ฝั่งตะวันออกของลำตะเพินในเขต อำเภอบ่อพลอย ห้วยกระเจา และอำเภอเลาขวัญ ขนาดคลองส่งน้ำความกว้างก้นคลอง 3.00 เมตร ความลึก 2.20 เมตร ความยาวคลองประมาณ 94.20 กิโลเมตร เขตคลองรวม 40.00 เมตร อัตราการส่งน้ำสูงสุด 10 ล้านลูกบาศก์เมตร ต่อวินาที และมีท่อแยกซอยจากคลองส่งน้ำสายใหญ่รวม 42 สาย ความยาวรวม 315 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 414,000 ไร่ ของเขตอำเภอบ่อพลอย ห้วยกระเจา และอำเภอเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี
นายพิเชษฐ รัตนปราสารทกุล ผู้อำนวยการสำนักงานออกแบบวิศกรรมและสถาปัตยกรรม กรมชลประทาน ได้กล่าวถึงโครงการผันน้ำจากอ่างเก็บน้ำเขื่อนศรีนครินทร์ เพื่อบรรเทาภัยแล้ง ไปยัง 5 อำเภอ ซึ่งเป็นโครงการของกรมชลประทาน และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์การเกษตร เพื่อไปบรรเทาในการที่เกิดสถานการณภัยแล้ง ชอง 5 อำเภอ ของจังหวัดกาญจนบุรี โดยรูปแบบของโครงการสามารถดูแลพื้นที่ทางการเกษตรกว่า 4 แสนไร่ โดยดึงน้ำจากอ่างเก็บน้ำเขื่อนศรีนครินทร์ ให้ไหลโดยแรงโน้มถ่วงโลก จะไม่ใช้ไฟฟ้า เครื่องสูบน้ำแต่อย่างใดผ่านในอุโมงค์ไปยังแหล่งบ่อกักเก็บน้ำลำอีซู จากนั้นจะดึงจากลำอีซู ไปยัง อำเภอบ่อพลอย ห้วยกระเจา และเลาขวัญ
และระหว่างนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนสำรวจ ออกแบบ คำนวณราคาในอัตราค่าก่อสร้างทั้งหมด ระยะเวลาดำเนินการ 720 วัน ก่อนนำไปเสนอยังรัฐบาล และโครงการนี้ผ่านการศึกษาเรียบร้อยแล้ว............................ นายพิเชษฐ รัตนปราสารทกุล ผู้อำนวยการสำนักงานกรมฃลประทาน กล่าวทิ้งท้าย................................
//////////////////////////////////////////////////////
ข่าวภูมิภาคกาญจนบุรี / ปรีชา ไหลวารินทร์ - รายงาน