ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
พลังงาน / สิ่งแวดล้อม ย้อนกลับ
ประชาชน ร้องเรียนมลพิษ กับ คพ. กว่า 9,000 เรื่อง
16 ม.ค. 2567

นางปรีญาพร สุวรรณเกษ อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) เปิดเผยว่า คพ.  มีช่องทางรับแจ้งเรื่องร้องเรียนปัญหามลพิษหลายช่องทาง ได้แก่ สายด่วน 1650 แฟนเพจกรมควบคุมมลพิษ เว็บไซต์กรมควบคุมมลพิษ จดหมาย/อีเมล หรือมาด้วยตนเอง ช่องทางที่นิยมมากที่สุด คือ สายด่วน 1650 คิดเป็นร้อยละ 50  ปี 2566 มีประชาชนแจ้งเรื่องร้องเรียนเข้ามา รวมทั้งหมด  9,218 เรื่อง ซึ่งถ้าเป็นกรณีเหตุรำคาญต่าง ๆ คพ. จะให้คำปรึกษาแนะนำเบื้องต้นแก่ผู้ร้องเรียน และแจ้งหน่วยงานท้องถิ่น (อปท.) ซึ่งมีอำนาจหน้าที่โดยตรงตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 เพื่อตรวจสอบและแก้ไขปัญหา ซึ่งมีจำนวน 8,043 เรื่อง อีก 1,175 เรื่อง  คพ. เข้าดำเนินการเอง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแหล่งกำเนิดมลพิษ เช่น โรงงานอุตสาหกรรม อาคารประเภทต่าง ๆ   การเลี้ยงสุกร  โดยเรื่องร้องเรียนที่ คพ. ดำเนินการ ได้รับการแก้ไขแล้ว 836 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 71 ที่เหลืออยู่ระหว่างการติดตามการแก้ไขปัญหา

นางสาวปรีญาพร กล่าวว่า เรื่องที่ คพ. ดำเนินการ บางเรื่องมีปัญหาหลายประเด็น โดยปัญหามลพิษที่ได้รับการแจ้งร้องเรียนมากที่สุด ได้แก่ กลิ่นเหม็น 807 เรื่อง (ร้อยละ 40) รองลงมา คือ ปัญหาฝุ่นละออง/เขม่าควัน 531 เรื่อง (ร้อยละ 26) เสียงดัง/เสียงรบกวน 297 เรื่อง (ร้อยละ 15)  แหล่งที่มาของปัญหา ร้อยละ 39 หรือ 464 เรื่อง มาจากโรงงานอุตสาหกรรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน ส่วนใหญ่เป็นกิจการผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติก ผลิตภัณฑ์จากพืชผลทางการเกษตร  การหลอมหล่อโลหะ รองลงมาร้อยละ 29 หรือ 337 เรื่อง เป็นสถานประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข

เพื่อให้การจัดการเรื่องร้องเรียนให้กับประชาชนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น คพ. มีการสำรวจความพึงพอใจของประชาชนต่อการดำเนินงานของกรม ซึ่งประชาชนต้องการให้ คพ. ติดตามการแก้ไขปัญหาจากหน่วยงานอื่นที่มีอำนาจหน้าที่โดยตรงอย่างต่อเนื่อง  คพ. จะนำข้อคิดเห็นมาปรับปรุงการดำเนินงานให้สอดคล้องกับความคาดหวังของประชาชนต่อไป นางสาวปรีญาพร กล่าว

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...