ภายใต้โครงการยุทธศาสสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น
***ดร.เอมอร แสนภูวา ผู้ช่วยอธิการบดี ม.ราชภัฏศรีสะเกษ เปิดเผยว่า โครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น เพื่อสนองพระราโชบายของพระบามสมเด็จพระชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 ตามยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏในด้านการพัฒนาท้องถิ่น ประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2567 ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับรายได้ให้กับชุมชนฐานราก ดังนั้น การดำเนินงานโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนเชิงวัฒนธรรม อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ (ข้าวหอมมะลิระยะเม่า) มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ คือ เพื่อศึกษาบริบทชุมชน วิเคราะห์และสังเคราะห์ ศักยภาพ ทุนทางสังคม วางแผนการพัฒนาทุนมนุษย์ กลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชนข้าวหอมมะสิระยะเม่าที่นำมาใช้ประโยชน์ รวมทั้งงานด้านวัฒนธรรม Bio+Culture ที่เป็นอัตลักษณ์ในท้องถิ่น เพื่อพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนข้าวหอมมะลิระยะเม่าให้มีมาตรฐานที่สูงขึ้น เพื่อฟัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับรายได้ให้กับชุมชนฐานราก
***ขณะที่ นางแรม เขตนิมิตร อายุ 50ปี ชาวบ้านตำบลดู่ อ.ปรางค์กู่ สมากชิกกลุ่มเครือข่ายข้าวหอมมะลิระยะเม่า กล่าวว่า การที่ได้เข้ามาอบรมโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนเชิงวัฒนธรรม อำเภอปรางค์กู่ ข้าวหอมมะลิระยะเม่า ในครั้งนี้ ทำให้เราได้รับความรู้ในการทำข้าวหอมมะลิระยะเม่าอย่างถูกวิธี เป็นไปตามกระบวนการ เราสามารถนำไปต่อยอดในการสร้างงานสร้างอาชีพ เพิ่มราคาผลผลิตที่ได้ ทำให้เกษตรกรในกลุ่มเครือข่ายเรามีรายได้ที่เพิ่มขึ่น
***ส่วนนายสุทัศน์ นาคนวล ปราชญ์ชาวบ้าน และประธานกลุ่ม กล่าวว่า กลุ่มข้าวหอมมะลิระยะเม่าจังหวัดศรีสะเกษ ตอนนี้เรามีสมาชิก 50 ราย เราได้รับการฝึกอบรมและทดลองทำกันมาร่วม 1 ปีแล้ว เราสามารถจำหน่ายข้าวหอมมะลิระยะเม่าได้ราคาสูงถึง 175 บาทต่อกิโลกรัม เราจะพากันเดินหน้าต่อไป เชื่อว่าถ้าเราทำให้ได้มากขึ้นก็จะทำให้มีรายได้เข้าสู่ครัวเรือนเพิ่มขึ้น
***ด้านนายสุพจน์ กุหลาบกุลี นายก อบต.สวาย กล่าวว่า ตามอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่ในการพัฒนาท้องถิ่นทั้งตำบล ในเรื่องของเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ครั้งนี้ถือว่าเป็นโอกาสดีที่มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ร่วมกับภาคีเครือข่ายได้มองเห็นความสำคัญได้นำโครงการดีๆมาสู่ชุมชน ที่ได้เลือกหมู่บ้านแสนแก้วนี้ก็เนื่องจากหมู่บ้านนี้ทำเกษตรทำนาอินทรีย์อยู่แล้ว ฉะนั้น ตรงนี้ก็จะเป็นโมเดลที่จะขยายไปสู่หมู่บ้านอื่นทั้ง 10 หมู่บ้าน สำหรับแนวทางการส่งเสริมของท้องถิ่น เรามองว่าโครงการนี้จะเกิดประโยชน์ต่อชุมชนและสังคม ดังนั้น ทาง อบต.เราก็ยินดีที่จะร่วมกันขับเคลื่อน กลุ่มข้าวหอมมะลิระยะเม่าไปพร้อมกับภาคีเครือข่าย เพื่อสร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้ประชาชนในชุมชน เพราะถ้าเมื่อชุมชนเข้มแข็งก็จะเป็นการตอบโจทย์ในการที่ท้องถิ่นที่ช่วยพัฒนาชุมชน.
////////////
ณัฐธรชนม์ สิริโชติสกุล / ศรีสะเกษ
โทร.08-1600-7969