ททท.จัดงาน rethink reimagine Korat Tourism together ระดมไอเดียสุดสร้างสรรค์ พลิกโฉมโคราชสู่หมุดหมายใหม่ของมหานครการท่องเที่ยวระดับโลกด้วยซอฟต์พาวเวอร์ ผสานความยั่งยืน
ณ โรงแรม Centre Point Hotel Terminal 21 โคราช การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) จัดงาน “rethink reimagine Korat Tourism together” เปิดเวทีแลกเปลี่ยนมุมมองแนวคิดด้านการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ชวนนักคิด นักการตลาด เวิร์กชอปร่วมกับผู้ประกอบการท่องเที่ยว ตลอดจนหน่วยงานภาครัฐในพื้นที่ พลิกโฉมการท่องเที่ยวใหม่ให้กับโคราชและสร้าง “แบรนด์” การท่องเที่ยวให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในระดับโลก
นายอภิชัย ฉัตรเฉลิมกิจ รองผู้ว่าการด้านสินค้าและธุรกิจท่องเที่ยว ททท. กล่าวว่า เมืองโคราช หรือนครราชสีมา เป็นมหานครที่โดดเด่นทั้งด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ภูมิทัศน์อันงดงามของธรรมชาติในระดับโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “โคราช จีโอพาร์ค” ซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนจากองค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก ให้เป็นอุทยานธรณีโลก (UNESCO Global Geopark)
ดังนั้น เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมสู่การยกระดับเมืองโคราชให้เป็น “เมืองท่องเที่ยวยอดนิยม” ของประเทศไทย ที่ทั่วโลกต้องรู้จัก อันจะนำมาซึ่งเศรษฐกิจยุคใหม่ของจังหวัดนครราชสีมา ททท. จึงจัดกิจกรรม “rethink reimagine Korat Tourism together” นับเป็นการจัดทำกลยุทธ์ด้านการท่องเที่ยวที่สร้างสรรค์สินค้าท่องเที่ยวใหม่ๆ ที่สอดคล้องกับบริบทและปรากฎการณ์ใหม่ที่จะเกิดขึ้นในโคราชและเพื่อให้ได้มุมมองที่เปิดกว้างมากยิ่งขึ้น จึงได้เชิญนักคิด นักออกแบบ นักการตลาด ที่มีผลงานเป็นที่รู้จักจากนอกพื้นที่ ร่วมออกแบบไอเดียท่องเที่ยวใหม่ที่แตกต่าง ผสมผสานระหว่าง Soft Power และ Sustainability ให้กับเมืองโคราช ขณะเดียวกันได้เชิญหน่วยงานภาครัฐ และเอกชนที่มีบทบาทในการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวในพื้นที่เข้าร่วมรับฟังไอเดีย และระดมความคิดเห็น แชร์มุมมอง ต่อยอดแนวคิด เพื่อสร้างมูลค่าให้กับสินค้าการท่องเที่ยว ที่ไม่เพียงปรับเปลี่ยนโฉมการท่องเที่ยวไปสู่รูปแบบใหม่เท่านั้น หากต้องถูกใจตลาด และตอบโจทย์นักท่องเที่ยวควบคู่กัน ให้สอดคล้องกับบริบทในพื้นที่ที่ท้าทายของโคราชอีกด้วย
สำหรับไอเดียการท่องเที่ยวใหม่จากนักคิด ที่จะนำเสนอให้กับโคราช รวม 11 ไอเดีย ประกอบด้วย
1. Korat Gastronomy Capital Of Thailand The 4Fs: Field : Faith : Fossils : Fresh และ Korat Healthilicious Carnival
นำเสนอโดย บริษัท CIA จำกัด และบริษัท เทสท์อิงค์ เอเชีย จำกัด
2. FASHION & FAITH A2C. ART. CRAFT. CALTURAL นำเสนอโดย บริษัท ฟรายเดย์ ทริป จำกัด
3.Korat sustainable wellness festival from personal to planetary นำเสนอโดย บริษัท พอลล่า เจ จำกัด, บริษัท ครีเอทีฟ มูฟ จำกัด และบริษัท พราวด์ พราวด์ จำกัด
4. เทศกาลบุญขวัญข้าว นำเสนอโดย บริษัท ราโบร่า จำกัด
5. Korat blood นำเสนอโดย บริษัท ไทยไรซ์ โปรเจ็ค จำกัด และ บริษัท อูดาชี จำกัด
6. Korat Net Zero Journey นำเสนอโดย บริษัท ฟายด์ โฟล์ค จำกัด
7. Korat Art Toy Travel นำเสนอโดย บริษัท ปีเตอร์มู จำกัด
8. โครงการมะหมาพาเทรล นำเสนอโดย บริษัท Petpedia จำกัด
9. ที่นี่ ที่เดียว…ที่ โคราช นำเสนอโดย บริษัท เดอ คัวร์ จำกัด
10. มวยโคราช AMAZING MUAY THAI นำเสนอโดย หจก.เฟิร์สนิวส์
11. โคราชเมืองแห่งการเรียนรู้ 4 เส้นทางการเรียนรู้ เที่ยวได้ทั้งปี นำเสนอโดย บริษัท เวลาเที่ยว จำกัด
สำหรับกิจกรรมในครั้งนี้ ได้รับความสนใจทั้งจากหน่วยงานภาครัฐ เข้าร่วมคิด และต่อยอดแนวคิดมากกว่า 30 องค์กร อาทิ สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดนครราชสีมา, องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา, สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (TCEB), สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา, สภาวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา, สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (CEA), สถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหิน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, กฟผ.โรงไฟฟ้าลำตะคองชลภาวัฒนา สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดนครราชสีมา, ศูนย์การค้าเซ็นทรัล โคราช, สหกรณ์ผู้ให้บริการขนส่งสินค้าภาคอีสาน, สมาคมโรงแรมจังหวัดนครราชสีมา, ชมรมรถโดยสารโคราช, หอการค้าจังหวัดนครราชสีมา, เทคโนธานี
ผู้สนใจจากภาคเอกชน ได้แก่ กราน-มอนเต้ วินยาร์ด แอนด์ ไวเนอรี, Trekking & Organize (Thailand), บริษัท จี โอ ดี โซลูชั่น จำกัด, World Reward Solutions (WRS GROUP), ชมรมฮักเขาใหญ่, ชมรมจักรยานเพื่อการท่องเที่ยววังน้ำเขียว, สมาคมการท่องเที่ยวเขาใหญ่, สมาคมการท่องเที่ยวอำเภอวังน้ำเขียว, Dairyhome, เพจ Korat : เมืองที่คุณสร้าง, เพจ Korat Next Step, มูลนิธินักข่าวจังหวัดนครราชสีมา,มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน, โรงสีข้าวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, เครือข่ายธุรกิจ Bizclub
รองผู้ว่าการด้านสินค้าและธุรกิจท่องเที่ยว ททท. กล่าวสรุปว่า การขับเคลื่อนการท่องเที่ยวในพื้นที่ระดับมหานครโคราชนี้นับเป็นภารกิจใหญ่ที่ต้องผสานทำงานร่วมกันเป็น ‘ภาพใหญ่ ในเชิงกลยุทธ์’ ซึ่งการ workshop ในวันนี้จะทำให้โคราช เกิดไอเดียใหม่ๆ ในการสร้างสรรค์สินค้าบริการท่องเที่ยวที่เหมาะสมกับศักยภาพและบริบทปัจจุบันของพื้นที่ ตลอดจนส่งเสริมการทำงานอย่างมีส่วนร่วม เกิดการขับเคลื่อน และเติมเต็ม Ecosystem ของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในพื้นที่อย่างเข้มแข็งและยั่งยืน