ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ 20 ก.พ.67 ที่ห้องประชุม มุกดา1 (เรือนธารา)การไฟฟ้าฝ่ายผลิตเขื่อนศรีนครินทร์ หมู่ 4 บ้านเจ้าเณร ต.ท่ากระดาน อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี พล.ท.ชิษณุพงศ์ รอดศิริ แม่ทัพภาคที่ 1/ผอ.กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 1 (มทภ.1 / ผอ.รมน.ภาค 1)เป็นประธารประชุมรับทราบสถานการณ์ไฟป่าและมลพิษทางอากาศในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี
โดยมีร้อยโททศพล ไชยโกมินทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี พล.ต.วุทธยา จันทมาศ ผบ.พล.ร.9 นายอธิสรรค์ อินทร์ตรา รอง ผวจ.กาญจนบุรี นายฑรัท เหลืองสอาด ปลัดจังหวัดกาญจนบุรี พ.อ.ศตวรรษ อินทร์กง รอง ผอ.รมน.จังหวัดกาญจนบุรี นายนฤพนธ์ ทิพย์มณฑา ผู้อำนวยการสำนักป้องกัน ปราบปราม และควบคุมไฟป่านายอนันต์ โพธิ์พันธุ์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 3(บ้านโป่ง)นายเชษฐ พวงจิตร ผอ.สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดกาญจนบุรี นายประทีป เหิมพยัคฆ์ ผอ.สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 10 (ราชบุรี)รวมทั้งหัวหน้าอุทยานฯ ในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี 7 แห่ง หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฯ 2 แห่ง หัวหน้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่า 3 แห่ง รวมทั้งนายอำเภอ 6 อำเภอ ประกอบด้วย อ.เมือง อ.ไทรโยค อ.ทองผาภูมิ อ.สังขละบุรี อ.บ่อพลอย และ อ.ศรีสวัสดิ์ เข้าร่วมประชุม การประชุมใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมงก็แล้วเสร็จ
จากนั้นคณะแม่ทัพภาคที่ 1 เดินทางไปที่บ้านต้นมะพร้าว ต.แม่กระบุง อ.ศรีสวัสดิ์ เพื่อเยี่ยมเยียนให้กำลังใจและมอบสิ่งของบำรุงขวัญให้กับเจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการดับไฟป่าเสือไฟ รวมทั้งกำลังพลฝ่ายทหารและประชาชนจิอาสา และเดินทางไปที่อุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์ เพื่อเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการดับไฟป่า (War room )มีนายอนันต์ โพธิ์พันธุ์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 3(บ้านโป่ง)นายประวัติ พวงทอง ผอ.ส่วนควบคุมและปฏิบัติการไฟป่า (สบอ.3 บ้านโป่ง)นายมานะ เพิ่มพูล ผอ.ส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่า รักษาการหัวหน้าเขตรักษาพันสัตว์ป่าสลักพระ ให้การต้อนรับ
ทั้งนี้ร้อยโททศพล ไชยโกมินทร์ ผวจ.กาญจนบุรี ได้กล่าวรายงานถึงสถานการณ์ไฟป่าและมลพิษทางอากาศในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี บางตอนว่า ประเทศไทยเข้าสู่ฤดูร้อน ประกอบกับปรากฏการณ์เอลนีโญ่ ส่งผลให้สภาพภูมิประเทศในประเทศไทยโดยเฉพาะจังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่กว้างมาก และมีภูเขาสูงชัน ความชื้นในอากาศน้อยทำให้แห้งแล้งทั่วบริเวณ ทำให้เกิดไฟป่าตามธรรมชาติหลายแห่ง นอกจากนี้ ยังมีการเผาป่าเพื่อเตรียมทำพื้นที่เกษตรกรรม เป็นผลให้ในทุกปี จ.กาญจนบุรี จะตรวจพบจุดความร้อนเป็นจำนวนมากในระดับต้น ๆ ของประเทศ โดยบางวันตรวจพบจุดความร้อน กว่า 300 แห่ง ทำให้เกิดมลภาวะทางอากาศ ในระดับที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
การดำเนินการดับไฟป่า และการควบคุมมวลพิษทางอากาศในห้วงที่ผ่านมา จังหวัดกาญจนบุรี ได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เตรียมการรับมือสถานการณ์ไฟป่า และมลพิษทางอากาศตั้งแต่เดือน ธ.ค. 66 ด้วยการดำเนินมาตรการต่าง ๆ ทั้งในพื้นที่ชุมชน และพื้นที่อนุรักษ์ แต่ในห้วงต้นเดือน ก.พ. 67 สถานการณ์ไม่ดีขึ้น โดยมีการตรวจพบจุดความร้อน 100-200 แห่ง โดยเฉพาะในเขตอุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์ อ.ศรีสวัสดิ์ และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ อ.เมืองกาญจนบุรี
เมื่อวันที่ 10 ก.พ. 67 จังหวัดกาญจนบุรี ได้บูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการดับไฟป่า โดยได้รับการสนับสนุน เฮลิคอปเตอร์ KA -32 จากกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในการรดน้ำดับไฟป่า และเฮลิคอปเตอร์ จากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในการบินสำรวจพื้นที่ นอกจากนี้ ยังได้รับการสนับสนุนทีมเดินเท้าเสือไฟ จากสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จังหวัดต่าง ๆ จำนวน 350 นาย ร่วมในการดับไฟป่าในพื้นที่ดังกล่าวด้วย
โดยมีการทิ้งน้า ตั้งแต่วันที่ 10 ก.พ. 67 สะสม 10 วัน จานวน 98 เที่ยว ปริมาตรน้ำรวม 294,000 ลิตร แต่จากสภาพภูมิประเทศ เป็นป่าและภูเขาสูงสลับซับซ้อน รวมถึงข้อจำกัดในการบินของเฮลิคอปเตอร์ และทีมเดินเท้าดับไฟ จึงสามารถควบคุมไฟป่าได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น โดยในพื้นที่สูงชัน ยังมีไฟป่าอยู่หลายแห่ง เป็นผลให้สภาพอากาศ ยังอยู่ในระดับที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และเมื่อวันที่ 15 ก.พ. 67 นายกรัฐมนตรี มีความห่วงใยต่อสถานการณ์ไฟป่า และมลพิษทางอากาศในพื้นที่ จ.กาญจนบุรี จึงบัญชาให้ จ.กาญจนบุรี เร่งรัดดำเนินการดับไฟป่า และแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศโดยเร็ว
สำหรับสถานการณ์ภาพรวมในปัจจุบันภายหลังบัญชาจาก นายกรัฐมนตรี ที่ให้หน่วยเร่งรัดแก้ไขปัญหาไฟป่าในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี เมื่อวันที่ 15 ก.พ.67 ซึ่ง ทภ.1/กอ.รมน.ภาค 1 ร่วมกับ จังหวัดกาญจนบุรี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่สำนักป้องกันปราบปรามและควบคุมไฟป่า, สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 3 (บ้านโป่ง), สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 10 (ราชบุรี) ได้บูรณาการจัดกำลังร่วมกันดำเนินการดับไฟป่า (ชุดเสือไฟ, ฝ่ายทหาร และพี่น้องประชาชนในพื้นที่) ประกอบกับเมื่อวันที่ 17 ก.พ.67 เวลาประมาณ 19.00 น. มีฝนตกกระจายในพื้นที่ประมาณร้อยละ 40 ของพื้นที่จังหวัด ครอบคลุมหลายพื้นที่ในเขตป่าอนุรักษ์ เป็นผลให้ในภาพรวม สถานการณ์ไฟป่า และค่ามลพิษทางอากาศในพื้นที่ จ.กาญจนบุรี ดีขึ้นตามลาดับ ดังนี้
สถานการณ์จุดความร้อนในพื้นที่ จังหวัดกาญจนบุรี ศูนย์สั่งการและติดตามสถานการณ์ไฟป่าและหมอกควัน (War Room) สานักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 3 (บ้านโป่ง) ขอแจ้งข้อมูลจุดความร้อน(HOTSPOT) จากดาวเทียม SUOMI NPP (ระบบ VIIRS) เพื่อใช้ประกอบการวางแผนการแก้ไขปัญหาไฟป่าในพื้นที่ป่าอนุรักษ์
โดยวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567 (รอบเช้า) พบจุด HOTSPOT ในพื้นที่ จานวน 133 จุด วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2567 (รอบเช้า) พบจุด HOTSPOT ในพื้นที่ จานวน 113 จุด วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2567 (รอบเช้า) พบจุด HOTSPOT ในพื้นที่ จานวน 19 จุด วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2567 (รอบบ่าย)พบจุด HOTSPOT ในพื้นที่ จานวน 4 จุด วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2567 (รอบเช้า) พบจุด HOTSPOT ในพื้นที่ จานวน 6 จุด และวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2567 (รอบเช้า) พบจุด HOTSPOT ในพื้นที่ จานวน 7 จุด
ในส่วนของสาเหตุการลดลงของจุดความร้อน นั้น จากการสอบถามและวิเคราะห์สถานการณ์ พบว่า การลดลงเกิดจากการประชุมฯ การวางแผนฯ การสั่งการฯ และการทำงานของทีมเสือไฟทั้งสองทีม คืออุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีฯและเขตอนุรักษ์พันธ์สัตว์ป่าสลักพระ ประกอบกับมีฝนตกลงมา ในพื้นที่ของอำเภอศรีสวัสดิ์บางส่วนจึงมีส่วนช่วยให้จุดความร้อนลดลง
///////////////////////////////////////////////////////////////////
ข่าวภูมิภาคกาญจนบุรี / ปรีชา ไหลวารินทร์ - รายงาน