ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
เกษตรนำไทย ย้อนกลับ
“จะเพิ่มพื้นที่ชลประทานขึ้นอีกปีละประมาณ 7 แสนไร่”
15 ม.ค. 2561

สัมภาษณ์พิเศษ

ทองเปลว กองจันทร์

อธิบดีกรมชลประทาน

“จะเพิ่มพื้นที่ชลประทานขึ้นอีกปีละประมาณ 7 แสนไร่”

            กรชลประทาน นับเป็นหน่วยงานในสังกัดของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่เข้ามามาดูแลและควบคุมปริมาณน้ำที่ใช้อยู่ในประเทศ ที่สำคัญยังมีส่วนต่อการสนับบสนุนภาคคการเกษตรของประเทศด้วย ซึ่งที่ผ่านมาจะเห็นได้ชัดจากทั้งภาวะน้ำท่วมในการควบคุมปริมาณน้ำ และภาวะน้ำแล้งในการเก็บกักปริมาณน้ำไว้ให้ใช้อย่างพอเพียง

                อปท.นิวส์ได้มีโอกาสได้สัมภาษณ์อธิบดีกรมชลประทานคนใหม่นายทองเปลว กองจันทร์ ซึ่งได้รับการแต่งตั้งแทนนายสมเกียรติ ประจำวงษ์ ที่ถูกโยกไปนั่งผู้อำนวยการสำนักงานบริหารจัดการทรัพยากรนํ้าแห่งชาติ สังกัดสำนักนายกฯ ตามคำสั่งมาตรา 44 ของหัวหน้าคสช. มีผลตั้งแต่ 22 พ.ย. 60 ที่ผ่านมา

  • การเพิ่มพื้นที่ชลประทานในปี 2561 จะดำเนินการอย่างไรบ้าง

                แผนยุทธศาสตร์น้ำนี่เรามีมา 20 ปีแล้ว มันมีความชัดเจนแล้ว แม้กระทั่งแผน  12 ปีของสภาพัฒนฯ งานเรื่องการบริหารจัดการน้ำจะเพิ่มพื้นที่ชลประทานปีละประมาณ 7 แสนไร่ และก็มีน้ำเก็บกักปีละประมาณ 400-500 ล้านลูกบาศก์เมตร การที่ได้พื้นที่ชลประทานกับน้ำ 400-500 ล้านลูกบาศก์เมตร นั่นก็คิอการเข้าไปสร้างแหล่งเก็บกักน้ำ พอสร้างแหล่งเก็บกักน้ำแล้วก็ต้องมีระบบส่งน้ำ เพื่อที่จะส่งไปให้พื้นที่ที่ไม่ใช่พื้นที่ชลประทานให้กลายเป็นพื้นที่ชลประทาน นั่นก็คือยุทธศาสตร์ที่รัฐบาลนี้ได้วางไว้ ตอนแรกวางไว้ 12 ปี คือปี 57ถึงปี 69 ตอนนี้เราวางไปจนถึงปี 79 คือ 20 ปีเลย คือจากทุกวันนี้ที่มีพื้นที่ชลประทานอยู่ 30 ล้านไร่ อีก 20 ปีก็จะเพิ่มขึ้นอีก 18 ล้านไร่ รวมเป็น 48 ล้านนไร่

                ตอนนี้เราเรียกว่า แผนบูรณาการน้ำ ซึ่งตอนนี้รัฐบาลได้ตั้งสำนักใหม่ขึ้นมา เรียกว่า สำนักบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ อันนี้จะเป็นหน่วยงานที่จะบูรณาการแผน กรมชลประทานก็จะกลายเป็นแค่หน่วยปฎิบัติการ เมื่อมีแผนมียุทธศาสตร์ยังไง ที่เกี่ยวพันกับกรมชลประทาน กรมชลประทานก็ทำตาม

  • เมื่อสำนักงานฯ ที่ตั้งขึ้นใหม่เป็นฝ่ายกำหนดนโยบาย กรมชลฯ เป็นหน่วยปฎิบัติแล้วงบประมาณเป็นของใคร

            งบประมาณก็เป็นของหน่วยปฎิบัติ คือสำนักบริหารจัดการทรัพยากรน้ำจะดูทั้งแผนทั้งงบประมาณ ตรวจกลั่นกรองความเหมาะสม คือเดิมจะเป็นลักษณะต่างคนต่างทำ คือเดิมกรมชลประทานวาแผนเอง วางยุทธศาสตร์เอง ทำเอง ซึ่งอาจจะมองไม่ครบทุกมิติ เข่น ไม่ตอบโจทย์ในพื้นที่ อาจจะตอบโจทย์แค่ภาระกิจ พันธกิจของกรมชลฯ เท่านั้นเอง แต่เมื่อหน่วยงานระดับชาตินี้ขึ้นมา ก็จะมองหมดว่าหน่วยงานทั้งหมดทำอะไร ตอบนโยบายไหม ตอบแผน 12 ไหม ตอบยุทธศาสตร์น้ำไหม

  • งบประมาณปีนี้ กรมชลฯ วางไว้เท่าไหร่

                ปีนี้กรมชลประทานวางงบฯ ไว้ประมาณ 56,000 ล้านบาท

  • เรื่องเขื่อนแก่งเสือเต้น

                คือมันมีทั้งอยากได้ และคัดค้าน เพราะฉะนั้นตัวแหล่งเก็บกักน้ำเหล่านี้จะต้องทำความเข้าใจกันไป ถามว่ามันมีประโยน์ไหม มันมี เขื่อนแก่งเสือเต้นเก็บได้   1,1 78 ล้านลูกบาสก์เมตร ตัวใหญ่มาก อยู่ต้นน้ำยม อยู่แหนือจังหวัดแพร่ แล้วก็สามารถเก็บกักน้ำไว้ได้ เพราะปัจจุบันมันไม่มี น้ำมีเท่าไหร่ ก็ไปเท่านั้น ไปหลากหลายพื้นที่ ผ่านมาสุโขทัย น้ำท่วม บ่อยครั้งแล้วในปีนี้ เพราะฉะนั้นอันนี้ก็เป็นทางเลือกที่จะทำ แต่ถ้ายังไม่เห็นพ้องกัน แผนก็เลยถูกชะลอไว้ ก็จะไปทำเรื่องอื่นที่ทำได้ทน เช่น เพิ่มประสิทธิภาพของการระบายน้ำ ในคลองยมน่าน เพิ่มทางน้ำที่จะรับน้ำเข้าแก้มลิง จะมี  3 แก้มลิง คือ บึงตะเคร็ง บึงระมาณ บึงขี้แร้ง อันนี้เราก็มาขุดลอกชักน้ำขึ้นมาเก็บ แล้วเราก็มาเพิ่มพื้นที่รับน้ำรองที่เขาเรียกบางระกำ เดิมมี  2 แสน 6 หมื่น  5 พัน  ไร่ ตรงนี้ก็ขยายอีกประมาณสัก 1 แสน 2 หมื่น ไร่

  • การทำงานร่วมกันกับท้องถิ่น

            ประมาณเกือบ 10 งาน ที่ถ่ายโอนภาระกิจไปแล้ว ก็ให้ท้องถิ่นทำแล้วก็บริหารจัดการ ถึงแม้เราจะถ่ายโอนไปแล้ว เราก็ยังมีการฝึกสอนในเชิงเทคนิค ในเชิง วิชาการ ในทางความรู้ ให้แนวทางอยู่ตลอด

  • แผนการจัดสรรน้ำในช่วงฤดูแล้งปี 2560/2561

สำหรับแผนการจัดสรรน้ำในช่วงฤดูแล้งปี 2560/2561 เพื่อสนับสนุนการใช้น้ำในเขตชลประทานทั่วประเทศ คิดเป็นปริมาณน้ำใช้การได้รวมกันทั้งสิ้น 25,067 ล้าน ลูกบาสก์เมตร  แยกเป็นการใช้น้ำเพื่อการเกษตร 15,952 ล้านลูกบาศก์เมตร. เพื่อการอุปโภค-บริโภค 2,167 ล้านลูกบาศก์เมตร. เพื่อการรักษาระบบนิเวศและอื่น ๆ 6,948 ล้านลูกบาสก์เมตร ส่วนที่เหลืออีกประมาณ16,797 ล้านลูกบาศก์เมตร. จะสำรองไว้สนับสนุนการใช้น้ำในช่วงต้นฤดูฝนปี 2561

ทั้งนี้ ได้กำหนดแผนการเพาะปลูกพืชฤดูแล้งในเขตชลประทานปี 2560/61 ทั้งประเทศ จำนวน 13.74 ล้านไร่ แยกเป็น ข้าวนาปรัง 8.35 ล้านไร่ พืชไร่-พืชผัก 0.70 ล้านไร่ และพืชอื่น ๆ 4.69 ล้านไร่

สำหรับในพื้นที่ชลประทานลุ่มน้ำเจ้าพระยา ได้วางแผนการจัดสรรน้ำในช่วงฤดูแล้งปี 2560/61 โดยการใช้น้ำต้นทุนจากเขื่อนหลัก 4 แห่ง ได้แก่ เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ รวมกันเป็นจำนวน 14,187 ล้านลูกบาศก์เมตร ตามมาตรการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน แบ่งเป็นการใช้น้ำในช่วง ฤดูแล้ง จำนวน 7,700 ล้านลูกบาศก์เมตร ดังนี้ อุปโภคบริโภค 1,140 ล้าน ลูกบาศก์เมตร,รักษาระบบนิเวศและอื่นๆ 1,450 ล้านลูกบาศก์เมตร และการเกษตร 5,110 ล้าน ลูกบาศก์เมตร ส่วนที่เหลืออีก 6,487 ล้าน ลูกบาศก์เมตร จะสำรองไว้ใช้ในช่วงต้นฤดูฝนเดือนพฤษภาคม – กรกฎาคม 2561 ซึ่งในส่วนของการจัดสรรน้ำเพื่อสนับสนุนภาคการเกษตร นั้น ได้กำหนดพื้นที่เพาะปลูกพืชฤดูแล้งในเขตลุ่มน้ำเจ้าพระยาไว้ทั้งสิ้นประมาณ 6.26 ล้านไร่ ประกอบด้วย ข้าวนาปรัง 5.17 ล้านไร่ พืชไร่-พืชผัก 0.06 ล้านไร่ และพืชอื่นๆ 1.03 ล้านไร่

​                สำหรับ ปัจจุบัน  ตัวเลขเมื่อ 20 ธ.ค. 60 ทั้งประเทศมีการใช้น้ำไปแล้ว 6,171 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือร้อยละ 25 ของแผนจัดสรรน้ำฯทั้งประเทศ เฉพาะในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีการใช้น้ำไปแล้ว 1,538 ล้าน ลูกบาศ์เมตร หรือร้อยละ 20 ของแผนจัดสรรน้ำฯ

สำหรับพื้นที่ลุ่มต่ำ 13 ทุ่ง ที่ใช้เป็นพื้นที่หน่วงน้ำในช่วงฤดูน้ำหลากที่ผ่านมา นั้น กรมชลประทาน จะใช้ระบบชลประทาน ส่งน้ำเข้าไปให้ทุกทุ่ง เพื่อให้เกษตรกรได้ทำการเพาะปลูกอย่างเต็มพื้นที่ และขอย้ำว่าปริมาณน้ำที่มีอยู่ในอ่างเก็บน้ำต่างๆ มีปริมาณเพียงพอที่จะสนับสนุนการใช้น้ำให้เป็นไปตามแผนที่วางไว้ตลอดในช่วงฤดูแล้งนี้ อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องขอความร่วมมือจากประชาชนทุกภาคส่วน ร่วมแรงร่วมใจกันใช้น้ำอย่างประหยัด เพื่อให้เกิดความมั่นคงในด้านการใช้น้ำอย่างยั่งยืนตลอดไป

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...