ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
ท้องถิ่นไทย ย้อนกลับ
หนูนา โพสต์ แม่พังสร้อยทอง ช้างป่าทองผาภูมิ ป่วยแก้มบวม ล้มแล้ว ส่วนคณะวัตวแพทย์ เตรียมเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อไปพิสูจน์หาสาเหตุ ก่อนนิมนต์พระสงฆ์มาทำพิธีทางศาสนา
24 มิ.ย. 2567

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นางสาวกัญจนา ศิลปะอาชา หรือหนูนา ได้นำภาพแม่พังสร้อยทอง ช้างป่าทองผาภูมิ ที่เสียชีวิตอยู่กลางป่า มาโพสต์ลงในเฟสบุ๊ก พร้อมกับระบุว่า “สู่สุคตินะแม่สร้อยแก้มป่อง..ไม่ต้องห่วงลูกนะ เชื่อว่าลูกของแม่ โตพอที่จะหากินเองได้แล้วด้วยสัญชาตญาณลูกช้างป่าผู้เข้มแข็ง…แม่ทำหน้าที่อย่างดีเยี่ยมจนวาระสุดท้าย..ได้ข้อมูลมาว่า…เมื่อวานเย็น ..เจ้าหน้าที่เห็นลูกแม่แก้มป่องออกมาเดินหากินตัวเดียว ไม่เห็นแม่..

แต่ด้วยความที่มืดค่ำแล้ว จึงไม่ได้เข้าไปดู และไม่คิดว่าจะเกิดเหตุอะไร ด้วยว่าเมื่อวานแม่สร้อยแก้มป่องก็ยังกินกล้วย กินขนุนได้ดี..เช้านี้เข้าไปดูพบว่าแม่ล้มแล้วแต่ยังไม่เจอตัวลูก  …อาจจะมีบางท่านพูดว่า เอาลูกมาเลี้ยงไม่ได้หรือ.. ต้องตอบว่า.. ไม่ควร  น้องเป็นช้างป่า สัญชาตญาณป่าน้องมีแล้ว และน้องก็โตพอสมควร..น่าจะราว 2 ขวบกว่า..เอาน้องมา น้องเครียดแน่นอน..

90%

อย่างกรณี ตุลา มีนา กันยา…นั้นเราเจอน้องอายุน้อย แค่ประมาณสองเดือน จึงเอามาบริบาลได้..หมอกำลังเข้าไปตรวจร่างแม่..ได้ฝากเจ้าหน้าที่ ชาวบ้าน ช่วยตามดูลูกแม่แก้มป่องต่อเนื่อง…ดิฉันก็จะตามตลอด..จากโพสต์ดังกล่าวมีผู้เข้าไปแสดงความคิดเห็นกันเป็นจำนวนมาก

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 2 พ.ค.2567 พระครูภาวนาสุทธาจารย์ (หลวงพ่อสาคร ธัมมาวุโธ) เจ้าอาวาสวัดเวฬุวันวนาราม (วัดเวฬุวัน) ต.ท่าขนุน อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี ประธานมูลนิธิคชสาร และนายปฐม แหนกลาง อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านปากลำห้วยปิล็อก พบแม่พังสร้อยทอง ช้างป่าทองผาภูมิ เพศเมียอายุประมาณ 40- 50 ปี มีอาการป่วยแก้มซ้ายอักเสพอย่างรุนแรงจนแก้มบวมขนาดใหญ่ ออกหากินอยู่กับลูกเพศผู้อายุ ประมาณ 2 ปี  จึงรีบแจ้งนายรัชสิต จงจรัสพร หัวหน้าอุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ พร้อมเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ ร่วมเดินทางไปตรวจสอบ 

และหลังจากนายอนันต์ โพธิ์พันธุ์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 3 (บ้านโป่ง) ได้รับรายงาน จึงมอบหมายให้ สพ.ญ.กิตติยาภรณ์  เอี่ยมสะอาด สัตวแพทย์ศาสตร์กลุ่มงานจัดการสุขภาพสัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช สพ.ญ.ลักษณา ประสิทธิชัย สัตวแพทย์จากสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 3 (บ้านโป่ง) ร่วมกับ ผศ.ดร.สพ.ญ.สุภาเพ็ญ ศรีพิบูลย์ สพ.ญ.สุธีรานันท์ พิพิธวณิชธรรม คณะสัตวแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน นายรัชสิต จงจรัสพร หัวหน้าอุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ พร้อมเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ พระครูภาวนาสุทธาจารย์ (หลวงพ่อสาคร ธัมมาวุโธ) ประชุมหาแนวทางในการรักษามาอย่างต่อเนื่อง 

โดยเมื่อวันที่ 8 มิ.ย.67 ที่ผ่านมา คณะเจ้าหน้าที่ได้ยิงไซลาซีน (Xylazine) ที่เป็นยาซึม เมื่อยาออกฤทธิ์ คณะสัตวแพทย์จึงใช้เครื่องอัลตราซาวนด์ตรวจแก้มด้านซ้ายเพื่อหาสาเหตุของการบวม พบลักษณะเป็นของเหลวอยู่ภายในแก้ม จึงทำการดูดของเหลวออกมามีลักษณะเป็นน้ำใสปนเลือด และพบว่ามีการอักเสบ และมาอาการหนาตัวของเนื้อเยื่อแก้มด้านนอกและกระพุ้งแก้มด้านใน ทีมสัตวแพทย์จึงได้ทำการฉีดยาฆ่าเชื้อ รวมทั้งให้ยาลดการอักเสบและลดอาการปวด รวมทั้งให้วิตามิน และสารน้ำทางเส้นเลือด และได้เก็บตัวอย่างเลือด ตัวอย่างของเหลวที่แก้ม เพื่อนำไปตรวจวิเคราะห์สุขภาพทางห้องปฏิบัติการ เพื่อหาเชื้อแบคทีเรีย และระหว่างนี้คณะเจ้าหน้าที่ได้เฝ้าติดตามดูอาการของแม่พังสร้อยทอง อย่างใกล้ชิดมาโดยตลอด 52 วันที่ผ่านมา

สำหรับผลการตรวจแก้มและช่องปาก พบลักษณะการบวมและขยายขนาดของเนื้อเยื่อกระพุ้งแก้มที่อยู่ในช่องปาก ส่งผลให้ช่องปากมีพื้นที่ลดลงประกอบกับฟันด้านล่างซ้ายมีการโยกขยับตัวคล้ายกับการผลัดชุดฟันของช้างทำให้เคี้ยวอาหารได้ลำบาก แก้มด้านนอกเมื่อสัมผัสดูมีลักษณะเป็นเนื้อนิ่ม เกิดจากการอักเสบและหนาตัวของเนื้อแก้ม จากการอัลตราซาวนด์ พบว่าด้านในเป็นของเหลว จึงทำการเจาะดูดพบมีของเหลวสีใสปนเลือด ไม่พบสิ่งแปลกปลอมภายในช่อปาก เหงือก หรือแก้มด้านนอก

ส่วนผลการตรวจเลือด พบค่าตับไตอยู่ในเกณฑ์ปกติ ส่วนค่าเม็ดเลือดขาวต่ำกว่าปกติ สามารถพบเจอตอนที่ติดเชื้อรุนแรง หรือติดเชื้อในกระแสเลือด ซึ่งพังสร้อยทองยังไม่แสดงอาการที่บ่งชี้ไปในทางนั้น หรืออาจเกิดจากการอักเสบเรื้อรังร่วมกับการขาดสารอาหาร ทำให้กลไกของร่างกายพังสร้อยทองยังดำเนินไปเรื่อยๆ แต่ร่างกายสร้างทดแทนใหม่ไม่ทัน พบวาวะเลือดจาง ที่มาจากการอักเสบ และการขาดสารอาหารโดยตรง สรุปการที่ช้างกินอาหารได้ไม่ปกติ ทำให้เกิดภาวะขาดสารอาหารและเลือดจาง รวมทั้งมีอาการอักเสบเรื้อรังของร่างกาย ทำให้เม็ดเลือดต่างๆต่ำลง จึงติดเชื้อในกระแสเลือด ส่วนสาเหตุการเสียชีวิตที่แท้จริงนั้น คณะสัตวแพทย์ประจำสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 3(บ้านโป่ง)จะเก็บตัวอย่างเนื้อเยื้อไปพิสูจน์อีกครั้งหนึ่ง 

ซึ่งขณะนี้เวลา 14.00 น. นายรัชสิต จงจรัสพร หัวหน้าอุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ นายปฐม แหนกลาง อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านปากลำห้วยปิล็อก พร้อมเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ และชาวบ้านจำนวนหนึ่ง ได้นิมนต์พระสงฆ์จากหลายวัดมาทำพิธีทางศาสนา โดยมีเจ้าหน้าที่ ตร.สภ.ทองผาภูมิ เดินทางมาร่วมพิสูจน์เพื่อนำข้อมูลไปลงบันทึกประจำวันเอาไว้เป็นหลักฐาน ก่อนที่จะใช้รถแบคโฮ ขุดหลุมเพื่อฝังซากโรยด้วยปูนขาวเพื่อป้องกันเชื้อ สำหรับจุดที่พบซากพังสร้อยทองอยู่ภายในเขตองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ สวนป่าไม้ห้วยเขย่ง บ้านไร่ป้า หมู่ 5 ต.ห้วยเขย่ง อ.ทองผาภูมิ  ซึ่งเจ้าหน้าที่ต้องเดินเท้าเข้าไปประมาณ 2 กิโลเมตร ส่วนลูกของพังสร้อยทองที่หายตัวไป จะติดตามหาอีกครั้งหนึ่งในภายหลัง
                         /////////////////////////////////////////////////////////////////
ข่าวภูมิภาคกาญจนบุรี / ปรีชา   ไหลวารินทร์

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 1 - 15 ตุลาคม 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...