ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ศูนย์เรียนรู้เกษตรทฤษฏีใหม่บ้านหนองสามพราน ตำบลวังด้ง อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี นายพิเชษฐ เจริญพร อดีตผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 9 บ้านหนองสามพราน เผยถึงความก้าวหน้าของศูนย์เรียนรู้เกษตรทฤษฏีใหม่บ้านหนองสามพราน ได้ริเริ่มมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2554 พร้อมนำเสนอในสิ่งที่ได้ทำซึ่งปัจจุบันมีการพัฒนาไปสู่ความมั่นคงและยั่งยืน เพื่อเป็นแนวทางให้กับเกษตรกร โดยยึดแนวทางปฏิบัติตามพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ 9
ผู้ใหญ่พิเชษฐ กล่าวว่า ก่อนจะมาเป็นศูนย์เรียนรู้เกษตรทฤษฏีใหม่บ้านหนองสามพราน ได้นำแนวทางพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ รัชกาลที่ 9 คิดริเริ่มเปลี่ยนแปลงแก้ไข จากการลดความเสี่ยงของอาชีพทำอ้อยอย่างเดียว มาทำเกษตรผสมผสาน เกษตรทฤษฎีใหม่ ต้องเตรียมน้ำ ต้องเตรียมสวน ต้องเตรียมอะไรหลายอย่าง ทั้งด้านปศุสัตว์ ด้านประมง รวมๆอยู่ในนี้ ซึ่งปัจจุบันนี้พืชผลทางด้านการเกษตรที่เราปลูกไปนั้น รวมทั้งทางด้านปศุสัตว์ ได้ให้ผลผลิตหลายรุ่นแล้ว
ผู้ใหญ่พิเชษฐ กล่าวว่า เวลานี้ทางศูนย์ฯ ได้เริ่มปลูกไผ่ซางหม่น เพื่อเป็นการต่อยอด เป็นการเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรที่มาเรียนรู้ที่ศูนย์เรียนรู้เกษตรทฤษฏีใหม่นี้ ซึ่งไม้ไผ่โตเร็วจะให้ผลตอบแทนระยะยาว เราปลูก 1 ปี 2 ปี 3 ปี พอปีที่ 4 เราสามารถตัดหน่อนำไปจำหน่ายประกอบเป็นอาหาร ลำต้นสามารถจำหน่ายได้สร้างรายได้ดีมากไม่แพ้พืชอื่นๆ นี่คือความยั่งยืนของการเรียนรู้ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9
ผู้ใหญ่พิเชษฐ กล่าวอีกว่า ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับแล้วว่าไผ่นี้คลายอ๊อกซิเย่นเกิน 30 เปอร์เซ็นต์เกษตรกรที่อยากจะทำเกษตรทฤษฎีใหม่ สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ต้องมีความขยัน มีความอด ทั้งนี้ทั้งนั้นแล้ว ด้วยความขยัน ความอดทน หรือเราจะมีทุนน้อยก็ไม่เป็นไรแต่ค่อยๆ ทำตามแนวทางไป ค่อยๆเติม ค่อยๆแต่ง ค่อยๆปรับปรุง ทุกอย่างจะสมความปรารถนาของเกษตรกรที่ได้ทำ และจะมีผลตอบแทน เข้ามาอย่างไม่คาดคิด
และอยากจะให้ผู้ว่าราชการจังหวัดฯ อบจ. หรือหน่วยงานกรมการปกครอง ตัวนำเพื่อให้ชุมชนเกิดความแข็งแรง ทรัพยากรของเรายังมีโอกาสอีกมาก โดยเฉพาะกาญจนบุรี ปลูกฝังเพื่อให้เป็นเมืองไผ่ หากหน่วยงานท้องถิ่นลงมาดำเนินการ เชื่อว่าพื้นที่สาธารณะยังมีอยู่มาก ไผ่ให้ผลตอบแทนสูงมาก ตลาดไม่ตัน คิดวันนี้อีก 5 ปี สามารถนำรายได้มาบริหารจัดการในชุมชนได้อย่างสบาย
ผู้ใหญ่พิเชษฐ กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ฝากไปถึงรัฐบาล การเพิ่มพื้นที่สีเขียว หรือคาบอนเครดิต น่าจะมองพืชไม้ไผ่เป็นตัวหลัก อยากจะเห็นไผ่ในกาญจนบุรี ซึ่งอดีตเป็นอัตลักษณ์เกิดในพื้นที่กาญจนบุรี ก็อยากเห็นกาญจนบุรี เป็นเมืองไผ่ ไม่ใช่ในจังหวัดอื่น อดีตกาญจนบุรี มีโรงงานกระดาษจากเยื่อไม้ไผ่ ไผ่จะคลายออซิเจนถึง 30 เปอร์เซ็นต์ หากประชาชนที่ปลูกพืชหลักยังสามารถปลูกไผ่แซมได้ สร้างรายได้เพิ่มอีกทางหนึ่ง...............เสียงผู้ใหญ่พิเชษฐ กล่าวทิ้งท้าย..............
//////////////////////////////////////////////////////
ข่าวภูมิภาคกาญจนบุรี / ปรีชา ไหลวารินทร์