ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ย้อนกลับ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สืบพงษ์ ปราบใหญ่ อธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง
11 ก.ย. 2567

หากจะพูดถึงความรอบรู้ ความเก่งรอบด้าน ไต่เต้าจากการเป็นผู้มีความรู้ด้านช่าง ไฝ่หาความรู้จนไต่ระดับได้รับการยอมรับเข้าสู่กระบวนการแรงงาน มองเห็นการเติบโตของคนไทยอย่างมีนัย จนท้ายสุดได้รับการเลือกตั้งเข้าสู่ผู้บริหารระดับสูงของสถาบันการศึกษาระดับชาติ เชื่อว่า คงหาใครเปรียบเทียบได้อยากกับคนที่ชื่อ สืบพงษ์ ปราบใหญ่ ที่ปัจจุบันมีดีกรีนำหน้าเป็นถึง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สืบพงษ์ ปราบใหญ่ ในตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง

            อย่างไรก็ตาม แม้ปัจจุบันตำแหน่งอธิการบดีรามคำแหงของอาจารย์สืบพงษ์ จะอึมครึมที่ยังหาบทสรุปไม่จบ แต่ไม่ว่าจะอย่างไร หากผู้ใดได้สัมผัสและรู้จักกับอาจารย์สืบพงษ์แล้ว ย่อมรับรู้ได้ไม่ยากนักในทันทีว่า บุคคลผู้นี้สมแล้วกับคำว่า “อาจารย์” อย่างเต็มภาคภูมิไม่ต้องสงสัย เพราะมีแต่วิชาความรู้ที่อัดแน่น ที่พร้อมจะมอบให้กับผู้สนทนาด้วยอย่างไม่ปิดบังในทุกแง่มุม วันนี้คอลัมน์ อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก จึงเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้นำตัวตนของ ผศ.ดร.สืบพงษ์ ปราบใหญ่ มาแนะนำสู่ท่านผู้อ่าน

                อาจารย์สืบพงษ์ ในวัย 53 ปี เริ่มตอบคำถามเราถึงพื้นเพบ้านเกิดว่า คุณพ่อคุณแม่เป็นคนพระประแดง สมุทรปราการ แถวๆ สุขสวัสดิ์ จึงโตมาจากที่นั่นจนถึงปัจจุบันนี้ คุณพ่อเป็นวิศวกรในโรงงานประกอบรถยนต์ คุณแม่เป็นแม่บ้าน มีพี่น้องทั้งหมด 5 คน ผู้หญิง 1 ผู้ชาย 4 โดยคนโตเป็นผู้หญิงคนเดียว ส่วนอาจารย์เป็นผู้ชายคนรอง ที่เหลือก็เป็นน้องชายทั้งหมด ซึ่งคุณพ่อจะเน้นให้ลูกทุกคนได้รับการศึกษาที่ดี

                อย่างไรเริ่มแรกคุณพ่อให้เข้าเรียนที่กรุงเทพคริสเตียน แต่เมื่อคุณพ่อได้เริ่มผันตัวเองออกกมาประกอบอาชีพส่วนตัว จึงต้องย้านมาเรียนที่ราชวินิจใกล้สโมสรกองทัพบกสมัยก่อน และก็มาต่อมัธยม 1-3 ที่วันสุทธิวราราม ส่วนมัธยมปลายได้มาเรียนด้านพาณิชย์อยู่พักหนึ่งแต่ไม่ชอบ ที่ชอบคืออยากเป็นช่างก็เลยเข้ามาเรียนช่างที่ช่างกลสยามแถวท่าพระ

                “ที่นี่เมื่อได้เรียนเหมือนกับได้ค้นพบตัวตน เพราะรู้สึกชอบทั้งด้านช่าง เครื่องกล การเขียนแบบ อะไรก็ได้ที่เกี่ยวกับช่างทั้งหมด ชอบหมด ไม่ว่าจะเป็น ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ แล้วก็มีอยู่วันหนึ่งอาจารย์เรียกผู้ปกครองไป คุณพ่อก็กลัวว่าเกิดปัญหาอะไรขึ้น คุณแม่ก็ไปแทน แต่ผลปรากฎว่า อาจารย์บอกเรียนได้เกรดเฉลี่ย 3.5 จากภาพที่สมัยมัธยมเป็นเด็กเกเรมากก็เปลี่ยนไป ทำให้เราได้รู้ตัวตน อาจารย์ก็ดีมาก สอนทั้งความรู้และทักษะ”

                จบ ปวช.แล้ว ก็จะมาต่อ  ปวส. ก็มาสอบที่เทคนิคกรุงเทพ และที่ช่างกลปทุมวัน ผมก็เลือกมาเรียนที่ช่างกลปทุมวัน ในแผนกเครื่องต้นกำลัง ยุคนั้นก็มีเรื่องปัญหาตีรันฟันแทงกันมาก หลักสูตรก็เปลี่ยนแปลงโดยขณะนั้นก็จะให้นักเรียนไปศึกษาที่โรงงานจริง ผมก็ได้ไปศึกษาในระบบทวิภาคีอยู่ที่โรงงานรถยนต์โตโยต้าที่สำโรงอยู่ 1 ปี ก็ได้สัมผัสการทำงานจริงจากเจ้านายญี่ปุ่น ทำให้เห็นภาพได้ทั้งหมดของการเป็นช่างตั้งแต่ถอดน็อดประกอบน็อดจนไปถึงเรื่องใหญ่ๆ เขาสอนหมด ก็ได้ความรู้ได้เงินเดือนไปด้วย เแล้วก็มาอยู่ในรั้วช่างกลปทุมวันอีก 1 ปี ก็จบ ก็ได้เกรดเฉลี่ยค่อนข้างสูง ช่วงนี้คุณพ่อก็แนะนำให้ไปเรียนภาษาอังกฤษไว้เพื่อความก้าวหน้า

                จากนั้นก็ขยับเข้าศึกษาเพิ่มเติมในระดับปริญญาตรีก็เลือกเรียนครุศาสตร์อุตสาหกรรม หรือครุศาสตร์เทคโนโลยี ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ซึ่งเป็นคณะใหม่ โดยการเรียนศาสตร์นี้ทำให้เราได้รู้ในเทคโนโลยีใหม่ๆ การสื่อสาร แล้วก็เรื่องของการถ่ายทอด การทำสื่อ การออกแบบ การเรียนรู้ของคน เป็นต้น ตรงนี่ก็เหมือนสอนให้เราเป็นครูช่าง มีการฝึกหลายด้าน พอได้เรียนตรงนี้ ทำให้เราได้ค้นพบหลายๆ ในรื่องการเรียนรู้ของมนุษย์ ก็ได้นำมาพัฒนาตนเองว่าจะเป็นครู เป็นนักฝึกสอนจะต้องทำยังไง ได้มาฝึกสอนที่ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา ได้เรียนรู้ว่าโลกของการเรียนรู้มี

                อาจารย์สืบพงษ์ บอกต่อด้วยว่า พอจบมาถึงขั้นนี้ พี่สาวคุณพ่อแนะนำให้ศึกษาในขั้นที่สูงขึ้นก็คือในระดับปริญญาโท คุณพ่อก็บอกว่าสนใจเรื่องการบินไหม ให้ไปเรียนที่อเมริกา การไปเรียนที่ยูทาห์ที่เดียวกับมราคุณพ่อจบมา ก็ได้เรียนเกี่ยวกับโครงสร้างการบิน ระบบการสื่อสารในเครื่องบิน ทำให้ได้ซึมซับคำว่าเทคโนโลยีเข้าไปเยอะมาก รูปแบบกระบวนการทางความคิดต่างๆ โดยหลักสูตรที่เรียนเรียกว่า Engineering Technology and Education เป็นหลักสูตรปริญญาโท

                อย่างไรก็ตาม ถือว่าเป็นจังหวะที่ดีมาก ช่วงที่เรียนปริญญาโท ก็มีโครงการเงินกู้ ADB ของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน ขณะที่ตอนนั้นก็เป็นประธานนักเรียนไทยในยูทาห์ก็ได้มีโอกาสเข้ามาช่วยงานอาจารย์ฝรั่งที่กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ก็ได้ความคิดในเรื่องของการพัฒนาคนในด้านอุตสาหกรรม ได้เรียนรู้จากรุ่นพี่ๆ ในกรมพัฒน์ฯ หลังจากกลับไปอาจารย์ฝรั่งก็ให้ทำวิจัยก็เกิดแนวคิดช่างเครื่องยนต์ก็ควรได้รับการพัฒนาให้มีความรอบรู้ในเรื่องของระบบไฟฟ้าไปด้วย ซึ่งก็คือจุดเริ่มต้นของการพัฒนาเด็กช่าง

                หลังจากจบปริญญาโท ก็ยังสนใจเกี่ยวกับการพัฒนาคน ก็ไปสอบ ก.พ. ผู้ใหญ่ก็สนใจในแนวทางของเราก็เรียกไปสัมภาษณ์ในลักษณะของเป็นผู้พัฒนาครูฝึกหรือที่เรียกว่า train the trainer ก็เลยได้สัมผัสกับเรื่องของแรงงานตั้งแต่ปี 44 จนได้ไปเป็นเลขานุการของอธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงานขณะนั้น คือ สุรินทร์ จิรวิศิษฎ์ ทำให้ได้เรียนรู้หลายอย่างทั้งข้อกฎหมาย การจัดข้อมูล ก็ได้เห็นจุดแข็งและจุดอ่อน คือ เราจะพัฒนายังไง ถ้าเรายังไม่รู้ว่าจะพัฒนาอะไร ก็เก็บเกี่ยวความรู้จากผู้ใหญ่ทั้งจากข้าราชการและนักการเมือง ก็อยู่กระทรวงแรงงานมาเกือบ 10 ปี แล้วก็ลาออก

                หลังการรัฐประหาร 2549 ก็มีผู้ใหญ่แนะนำให้ไปเรียนต่อในระดับปริญญาเอก ก็คิดว่าถ้าได้เรียนปริญญาเอกในเรื่องบริหารจัดการก็น่าจะบูรณาการพัฒนาคนได้ดี ก็ได้ค้นพบจริงๆคือได้คีย์เวิร์ดตอนนั้นมา ต้องมีการวางแผนที่ดี มีองค์กรที่ดี มีการทำที่ดี มีการบังคับควบคุมที่ดี

                สำหรับการเข้าสู่แวดวงการศึกษา อาจารย์สืบพงษ์ บอกว่า จริงๆแล้วตอนอยู่กรมพัฒนาฝีมือแรงงานก็เกี่ยวของกับการพัฒนาคนอยู่แล้ว และการที่ได้เรียนมาตั้งแต่ปริญญาตรีครุศาสตร์อุตสาหกรรม ปริญญาโททางด้าน Industrial Technology and Education ทำให้เห็นว่า ทุกสิ่งทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นอะไรก็คนทั้งนั้นเลย ดังนั้น อนาคตจะบอกว่าเป็น AI แล้ว AI ใครเป็นคนคิดละ ก็เกิดความคิดบางอย่างว่า เราจะต้องเปลี่ยนรูปแบบความคิดของคนที่จะให้ความรู้อย่างเดียวเป็นการให้ “ทักษะ” ให้รูปแบบ learn how to learn คือสามารถต่อยอดพัฒนาตนเองได้

                “ผมก็คิดว่า ถ้าได้กลับไปอยู่กระทรวงแรงงานก็จะชูตัวนี้ก็คือ พัฒนาคน พัฒนาช่าง ค้นคว้าหาความรู้ให้มีสกิลที่จะพัฒนาต่อยอดจากความรู้เดิมได้ก็จะสามารถอยู่ในโลกของอาชีพได้”

                อย่างไรก็ตาม ขณะที่ศึกษาปริญญาโทอยู่ที่อเมริกาได้มีกลุ่มคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยรามคำแหงมาชวนพัฒนาหลักสูตรตอบสนองอาชีวะ ซึ่งขณะนั้นประเทศไทยกำลังให้ความสนใจด้านส่งเสริมอาชีวะ ซึ่งก็มาตรงกับความต้องการของตนเองที่จะตอบโจทย์ของการพัฒนาคน ซึ่งถ้าเราได้เข้ามาอยู่ในแวดวงการศึกษาก็จะมีโอกาสได้เข้าพัฒนาคนตามความหวังได้เป็นอย่างดี ต่อมาจึงได้สมัครเข้าเป็นอาจารย์คณะศึกษาศาสตร์ ประจำภาควิชาการศึกษาต่อเนื่องและอาชีวศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง อยู่ 2 ปีครึ่ง จึงได้รับเลือกให้เป็นกรรมการสภาคณาจารย์ฯ และก้าวขึ้นเป็นประธานสภาคณาจารย์ฯ ก่อนได้รับเลือกเข้านั่งในตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหงในที่สุด

90

โดยอาจารย์สืบพงษ์ กล่าวว่า “ตลอดระยะเวลาที่ทำงานในตำแหน่งอธิการบดีฯ ทำงานทุกวันตลอดสัปดาห์ไม่มีวันหยุด ให้กับมหาวิทยาลัย สอนหนังสือเสาร์อาทิตย์ ปริญญาโท วันธรรมดาบางทีต้องไปสอนต่างจังหวัด บริหารการศึกษา ผมถือว่าเมื่อรามให้โอกาสผมก็จะเอาความรู้ความสามารถที่มีอยู่ทั้งหมดทุ่มเทให้นักศีกษา ให้เด็ก คุมสอบทุกครั้ง เราจะบอกตัวเอง อะไรที่ไม่ถูกต้องแลเดือดร้อนเราไม่ทำ ในห้องทำงานผมไม่มีเครื่องอำนายความสะดวก เช่น ตู้เย็น ใม่มี แฟ้มไม่หมดบนโต๊ะไม่กลับบ้าน สองทุ่มสามทุ่มครึ่ง ผมก็ยังทำงาน”

นี่คือก้าวย่างเพียงบางส่วนเท่านั้นของคนที่มีคุณภาพที่สมควรถูกเรียกขานว่า “อาจารย์” อย่างเต็มภาคภูมิ ไม่ว่าสาเหตุอะไร มาจากไหน ที่ทำให้การทำงานในหน้าที่อธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหงของ ผศ.ดร.สืบพงษ์ ปราบใหญ่ ต้องสะดุด แต่ตลอดเวลากว่า 2-3 ชั่วโมงที่ อปท.นิวส์ ได้สนทนาด้วย มีเรื่องราวดีๆ ประกอบความรอบรู้ที่ได้รับฟังเป็นจำนวนมาก เห็นได้ชัดว่า อาจารย์สืบพงษ์เต็มไปด้วยภูมิความรู้รอบด้านที่เชื่อมโยงกับวิชาชีพ มาถึงตลาดแรงงาน และจนมาถึงการบ่มเพาะการศึกษาที่มีแนวสอดคล้องต้องการของตลาดอย่างมีนัยยิ่ง

มองอย่างไรก็ไม่เห็นถึงเรื่องผลประโยชน์ มองอย่างไรก็ไม่เห็นในเรื่องเส้นสนกลการเมือง การได้บุคลากรแบบนี้มานั่งบริหารถือเป็นโอกาสอันดียิ่ง หากมหาวิทยาลัยรามคำแหงพลาดต่อการคว้าคนดีมีความรู้มานั่งบริหารแล้ว ความเชื่อที่ว่า สถาบันการศึกษาแห่งนี้ คืออาณาจักรมืดที่แฝงไปด้วยผลประโยชน์ก็คงไม่ไกลเกินจริง เสียดายก็แต่นักศึกษารามที่จะขาดมือดีๆ มานั่งให้บริการการศึกษาอย่างมีอนาคตที่รุ่งโรจน์ ....

ผศ.ดร.สืบพงษ์ ปราบใหญ่ - อดีตประธานสภาคณาจารย์ คณบดีบัณฑิตวิทยาลัยและอาจารย์ประจำภาควิชาการศึกษาต่อเนื่องและอาชีวศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง การศึกษา : - Doctor of Business Administration (International Business & Management) Pacific States University, California USA พ.ศ. 2554 - Master of Science (Engineering Technology and Education) Utah State University, Logan, Utah USA พ.ศ. 2541 - ครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต (ครุศาสตร์เทคโนโลยี) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี พ.ศ. 2537 - ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาวิชาช่างยนต์เทคนิคงานเครื่องต้นกำลัง สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน พ.ศ. 2535

ประสบการณ์ : - 2554 ถึง ปัจจุบัน อาจารย์ประจำภาควิชาการศึกษาต่อเนื่องและอาชีวศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2558 ถึง 2560 กรรมการสภามหาวิยาลัยรามคำแหง, 2558 ถึง 2560 ประธานสภาคณาจารย์ รุ่นที่ 30 มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2557 ถึง 2558 รองผู้อำนวยการบัณฑิตศึกษา คณะศึกษาศาสตร์, 2556 ถึง 2557 ทำหน้าที่หัวหน้าภาควิชาการศึกษาต่อเนื่องและอาชีวศึกษา คณะศึกษาศาสตร์, 2555 ถึง 2556 รองหัวหน้าภาควิชาการศึกษาต่อเนื่องและอาชีวศึกษา คณะศึกษาศาสตร์, 2552 ถึง 2554 Teaching & Research Assistant at College of Business, Pacific States University, USA, 2549 นักวิชาการแรงงาน 6 สำนักงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน (ทำหน้าที่เลขานุการส่วนตัวรัฐมนตรีว่าการกระทรวง - นายอภัย จันทนะจุลกะ)

2546 ถึง 2549 นักวิชาการแรงงาน 6 กองตรวจความปลอดภัย กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน (ทำหน้าที่เลขานุการหน้าห้องอธิบดี) 2544 ถึง 2546 นักวิชาการฝึกอาชีพ 4 - 5 กองมาตรฐานฝีมือแรงงาน กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน (ทำหน้าที่เลขานุการหน้าห้องอธิบดี) 2542 ถึง  2544 Project Implementation Units/ADB Project, Department of Skill Development, Ministry of Labour, Thailand, 2541 ถึง 2542 Project Associate (Automotive Technology) at USU/CID Office, Department of Skill Development, Ministry of Labour, Thailand, 2540 ถึง 2541 Teaching & Research Assistant at Department of Technology & Engineering Education, Utah State University, USA, 2539 ถึง  2540 ประธานสมาคมนักเรียนไทย Utah State University, Logan, UT. USA

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 กันยายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...