ที่ โบราณสถานวัดสนามชัย ตำบลสนามชัย อำเภอเมืองสุพรรณบุรี ดร. สรชัด สุจิตต์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุพรรณบุรี เขต ๑ เป็นประธาน เปิดตลาดนัดชุมชน เพื่อฅนท้องถิ่น ภายใต้งาน “สืบสานตำนานเล่าขาน โบราณสถานวัดสนามชัย” ค่ำวานนี้(13 พ.ย.67) พร้อมกล่าวว่า โบราณสถานวัดสนามชัยแห่งนี้เป็นพื้นที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ของชุมชนตำบลสนามชัย การเปิดตลาดในครั้งนี้ เป็นการสนับสนุน และพัฒนาชุมชนในหลายมิติ ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม โครงการนี้ ถูกออกแบบมาเพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชน และสร้างโอกาสให้ชาวบ้านได้มีส่วนร่วม ในการพัฒนาและเติบโตอย่างยั่งยืน หนึ่งในหลักการสำคัญของโครงการนี้ คือการส่งเสริมเศรษฐกิจท้องถิ่น โดยการจัดตลาดนัดจะเปิดโอกาสให้สินค้าหรือผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่นมาจำหน่าย การจำหน่ายสินค้าเหล่านี้ไม่เพียงแต่ช่วยสร้างรายได้ให้กับครอบครัว แต่ยังช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในชุมชน ทำให้เงินหมุนเวียนอยู่ในพื้นที่ นอกจากนี้ ยังมุ่งเน้นการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีที่สืบทอดกันมา พร้อมสร้างสรรค์บรรยากาศให้ผู้ที่มาเยือนได้สัมผัสกับวิถีชีวิตอันเป็นเอกลักษณ์ของตำบลสนามชัยอย่างแท้จริง และนับได้ว่าเป็นโอกาสอันดี ที่การจัดงานในวันนี้ แสดงให้เห็นถึงพลังแห่งความร่วมมือ ร่วมใจ ของหน่วยงานราชการ ภาคประชาชน และภาคเอกชน รวมทั้งทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ตำบลสนามชัย มีจุดมุ่งหมายเดียวกันที่จะร่วมกันการพัฒนา การส่งเสริม และการต่อยอด ให้ตำบลสนามชัยเกิดความเข้มแข็ง ทั้งมิติทางวัฒนธรรม เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ อันเกิดจากพลังความร่วมมือจากทุกภาคส่วน เพื่อเป็นประโยชน์ส่วนรวมต่อท้องถิ่น และจังหวัดสุพรรณบุรี
ด้านนายวศิน เจริญสุข นายกองค์การบริหารส่วนตำบลสนามชัย กล่าวเพิ่มเติมว่าการส่งเสริมเศรษฐกิจท้องถิ่น โดยการจัดตลาดนัดจะเปิดโอกาสให้สินค้าหรือผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่นมาจำหน่าย การจำหน่ายสินค้าเหล่านี้ไม่เพียงแต่ช่วยสร้างรายได้ให้กับครอบครัว แต่ยังช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในชุมชน ทำให้เงินหมุนเวียนอยู่ในพื้นที่ นอกจากนี้ ยังมุ่งเน้นการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีที่สืบทอดกันมา พร้อมสร้างสรรค์บรรยากาศให้ผู้ที่มาเยือนได้สัมผัสกับวิถีชีวิตอันเป็นเอกลักษณ์ของตำบลสนามชัยอย่างแท้จริง ซึ่งการจัดงานครั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากชุมชน หน่วยงานต่างๆ รวมถึงผู้ประกอบการในท้องถิ่น ซึ่งได้ให้การสนับสนุนเป็นอย่างดีในนามผู้จัดงาน เชื่อมั่นว่ากิจกรรมในวันนี้จะไม่เพียงแต่สร้างความสุขให้แก่ผู้เข้าร่วมงาน แต่ยังส่งเสริมความภาคภูมิใจและการมีส่วนร่วมของคนในท้องถิ่นอย่างยั่งยืนต่อไป