ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
เกษตรนำไทย ย้อนกลับ
พบโรคอุบัติใหม่มันสำปะหลัง พุ่มแจ้-ใบด่าง
08 พ.ค. 2561

ทั้งนี้ มีรายงานข่าวจากกรมส่งเสริมการเกษตร ระบุว่า จากข้อมูลที่พบการระบาดของโรคพุ่มแจ้ และโรคใบด่างมันสำปะหลังในประเทศกัมพูชาและเวียดนาม กรมส่งเสริมการเกษตรได้ดำเนินการติดตามสถานการณ์การปลูกและศัตรูมันสำปะหลังในประเทศไทยยังไม่พบโรคใบด่าง แต่พบโรคพุ่มแจ้มันสำปะหลังบริเวณชายแดนไทยแล้วนั้น ล่าสุดเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมการเกษตรลงพื้นที่เพิ่มเติม พบหลายพื้นที่มีมันสำปะหลังแสดงอาการคล้ายโรคพุ่มแจ้ จึงเก็บตัวอย่างจากแปลงดังกล่าวส่งให้กรมวิชาการเกษตรตรวจวินิจฉัย ก่อนวางแนวทางป้องกันกำจัดโรคต่อไป

นายประสงค์ ประไพตระกูล รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า เจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมการเกษตรลงพื้นที่ต้องสงสัยที่เสี่ยงได้รับผลกระทบจากโรคพุ่มแจ้บริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออกของไทย จากการลงพื้นที่สำรวจพบมันสำปะหลังที่แสดงอาการคล้ายโรคพุ่มแจ้ในหลายจังหวัดและพบค่อนข้างมากในจังหวัดกำแพงเพชร สระแก้ว ชลบุรี และมุกดาหาร จึงเร่งส่งตัวอย่างมันสำปะหลังจากแปลงในจังหวัดดังกล่าวให้กรมวิชาการเกษตรตรวจวินิจฉัยว่า มันสำปะหลังที่พบเป็นโรคพุ่มแจ้หรือไม่ ทั้งนี้ กรมส่งเสริมการเกษตร ได้ดำเนินการแจ้งเตือนไปยังสำนักงานเกษตรจังหวัดทั้ง 56 จังหวัด ที่มีพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังแล้ว เพื่อให้เจ้าหน้าที่ในพื้นที่จังหวัดดังกล่าว เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่องเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการระบาดในวงกว้าง

รองอธิบดีฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า โรคพุ่มแจ้ เกิดจากเชื้อไฟโตพลาสมา มีลักษณะอาการคล้ายกับการเข้าทำลายของเพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง คือ ใบยอดมันสำปะหลังจะหยิกงอ แคระแกร็น และแตกเป็นฝอยค่อนข้างมากแต่หากสังเกตยอด

ที่แสดงอาการจะไม่พบตัวเพลี้ยแป้ง โดยโรคพุ่มแจ้มีเพลี้ยจักจั่น เป็นแมลงพาหะนำโรค ซึ่งสามารถเจริญเติบโตและแพร่ขยายพันธุ์ได้ดี ในสภาพอากาศร้อน และแห้งแล้ง ส่วนโรคใบด่างมันสำปะหลัง ต้นมันสำปะหลังจะแสดงอาการใบด่างเหลือง ใบเสียรูปทรง และมีขนาดเล็กลง ยอดที่แตกใหม่จะด่างเหลือง ลำต้นแคระแกรน

ทั้งนี้ กรมส่งเสริมการเกษตร ได้เข้าไปให้ความรู้แก่เกษตรกรเพื่อให้สามารถสังเกตอาการของโรคดังกล่าวได้เบื้องต้นแล้ว โดยในแปลงมันสำปะหลังที่พบอาการคล้ายโรคพุ่มแจ้ เจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมการเกษตรแนะนำให้เกษตรกรขุดต้นมันสำปะหลังไปเผาทำลายนอกแปลง และหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิต ไม่ให้เก็บต้นมันสำปะหลังไว้ทำพันธุ์ในฤดูการปลูกต่อไป เพื่อตัดวงจรไม่ให้เกิดการระบาดของโรคพุ่มแจ้ พร้อมทั้งแนะนำให้เกษตรกรหาท่อนพันธุ์ปลอดโรคจากแหล่งพันธุ์ที่เชื่อถือได้ โดยสามารถขอคำปรึกษาจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรอำเภอ/จังหวัด อย่างไรก็ตาม ควรระมัดระวังในการคัดเลือก และเคลื่อนย้ายท่อนพันธุ์ด้วย

โดยสิ่งสำคัญในการป้องกันกำจัดโรคพุ่มแจ้ และโรคใบด่างมันสำปะหลัง คือ เกษตรกรควรหมั่นสำรวจแปลงมันสำปะหลังอย่างสม่ำเสมอ กำจัดวัชพืชที่เป็นพืชอาศัยของโรคพุ่มแจ้ เช่น สาบม่วง หญ้าตีนตุ๊กแก หลีกเลี่ยงการปลูกพืชอาศัยของโรคใบด่างมันสำปะหลัง เช่น ละหุ่ง สบู่ดำ ยาสูบ และพืชอาศัยของแมลงพาหะ เช่น มันฝรั่งกะเพราะ โหระพา พริก ในพื้นที่ที่มีการปลูกมันสำปะหลัง ประกอบกับบำรุงต้นมันสำปะหลังให้สมบูรณ์แข็งแรง โดยการให้ปุ๋ยและน้ำอย่างเพียงพอ หลีกเลี่ยงการเคลื่อนย้ายท่อนพันธุ์จากแหล่งที่พบการระบาดไปยังแหล่งอื่น หากพบมันสำปะหลังแสดงอาการของโรคพุ่มแจ้ หรือโรคใบด่างมันสำปะหลังให้แจ้งสำนักงานเกษตรอำเภอ หรือสำนักงานเกษตรจังหวัดใกล้บ้านทันที

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...