ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
ท้องถิ่นไทย ย้อนกลับ
ผู้ว่าฯ สระบุรี ร่วมพิธีเปิดโครงการมอบนโยบายและสัมมนาตามโครงการเร่งรัดการดำเนินการแก้ไขปัญหาสถานะบุคคลให้แก่บุคคลที่อพยพเข้ามาอยู่ในราชาอาณาจักรเป็นเวลานาน ตามมติคณะรัฐมนตรี
02 พ.ค. 2568

วันพฤหัสบดีที่ 1 พฤษภาคม 2568 เวลา 13.30 น. นายบัญชา เชาวรินทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี พร้อมด้วย นายยุทธนา โพธิวิหค ปลัดจังหวัดสระบุรี และนายอำเภอทั้ง 13 อำเภอ ร่วมพิธีเปิดโครงการมอบนโยบายและสัมมนาตามโครงการเร่งรัดการดำเนินการแก้ไขปัญหาสถานะบุคคลให้แก่บุคคลที่อพยพเข้ามาอยู่ในราชาอาณาจักรเป็นเวลานาน  ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2567 โดยมีนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.มหาดไทย เป็นประธานมอบนโยบายและสัมมนาตามโครงการเร่งรัดการดำเนินงานแก้ไขปัญหาสถานะบุคคลให้แก่บุคคลที่อพยพเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นเวลานาน ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2567 พร้อมด้วย นายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ ปลัดกระทรวงมหาดไทย นายไชยวัฒน์ จุนถิระพงศ์ อธิบดีกรมการปกครอง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมประชุม ณ ห้องประชุมวายุภักษ์ 244 ชั้น 4 ศูนย์ประชุมวายุภักษ์ โรงแรมเซ็นทารา ไลฟ์ ศูนย์ราชการ และคอนเวนชันเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ

ณ ห้องประชุมวายุภักษ์ 244 ชั้น 4 ศูนย์ประชุมวายุภักษ์ โรงแรมเซ็นทารา ไลฟ์ ศูนย์ราชการ และคอนเวนชันเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.มหาดไทย กล่าวว่า การแก้ไขปัญหาสถานะบุคคลเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาล และกระทรวงมหาดไทย ที่มุ่งสร้างโอกาสแห่งการพัฒนาชีวิต ให้แก่บุคคลกลุ่มเป้าหมายตามสิทธิที่พึงจะได้รับตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ที่ประเทศไทยได้ร่วมลงนามไว้กับสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ  ซึ่งได้ระบุสิทธิอันสำคัญคือสิทธิที่จะมีสัญชาติ  "หลักใหญ่ใจความที่เราจะต้องไม่ลืมคือ เมื่อบุคคลใดอยู่ในโลกนี้โดยปราศจากการมีสถานะ ก็เท่ากับเขาถูกลิดรอนสิทธิ ในการจะมีชีวิตในฐานะมนุษย์ ที่เท่าเทียมกับคนอื่น ๆ ในสังคมนั้น ไม่ว่าจะเป็นสิทธิในการศึกษา สิทธิในการรักษาพยาบาล สิทธิในการครอบครองทรัพย์สิน สิทธิในการเดินทาง การได้รับการดูแลคุ้มครองจากรัฐ หรือแม้แต่ สิทธิในการทำงาน" 

ปัญหาสัญชาติและสถานะบุคคล นำไปสู่การขาดโอกาส การถูกเลือกปฏิบัติ และการถูกกีดกันจากการมีส่วนร่วมในสังคม และทำให้ประชาชนกลุ่มดังกล่าว ตกอยู่ในสภาวะเปราะบางและมีความเสี่ยงในการดำรงชีวิต อันนำไปสู่ปัญหาอื่นๆรวมถึงการค้ามนุษย์ และอาชญากรรมต่างๆ ดังนั้น การเร่งรัดแก้ไขปัญหาสัญชาติและสถานะบุคคล จึงถือเป็นเรื่องสำคัญ ทางมนุษยธรรม ความมั่นคง และเพื่อให้เป็นไปตามพันธกรณีระหว่างประเทศ แสดงให้เห็นถึงความตั้งใจในการจัดการกับภาวะไร้รัฐไร้สัญชาติของประเทศไทยตามความภาคีระหว่างประเทศที่สำคัญ ได้แก่ UNHCR ซึ่งจะส่งผลดีต่อภาพลักษณ์ของประเทศไทย บนเวทีในระดับนานาชาติด้วย

 

"ขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัด ปลัดจังหวัด และนายอำเภอทุกท่าน ได้เป็นผู้นำในการศึกษาทำความเข้าใจกระบวนการทำงานในขั้นตอนใหม่ ตามที่มติคณะรัฐมนตรีกำหนด ที่ให้ลดระยะเวลากระบวนการทำงาน จาก 270 วันเหลือเพียง 5 วัน ซึ่งการกระทำเช่นนี้ต้องได้รับความร่วมมือและความมุ่งมั่นจากทุกภาคส่วน ซึ่งมั่นใจว่าไม่เกินความสามารถของทุกท่าน  ร่วมกันแก้ไขให้กลุ่มเป้าหมายได้รับชีวิตใหม่ ได้เข้าถึงโอกาส และสามารถใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้ โดยมีสิทธิที่พึงมี ในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง" นายอนุทิน กล่าว 

นายไชยวัฒน์ จุนถิระพงศ์ อธิบดีกรมการปกครอง  กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยยังคงมีบุคคลที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย ในการแก้ไขปัญหาสัญชาติและสถานะบุคคล ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2567 รวมทั้งสิ้นกว่า 4 แสนคน โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มบุคคลที่อพยพเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นเวลานาน ประมาณกว่า 3 แสนคน และกลุ่มบุตรที่เกิดในราชอาณาจักร ประมาณกว่า 1 แสนคน ซึ่งบุคคลกลุ่มนี้ ล้วนมีภูมิลำเนา และอาศัยอยู่ ในทุกภูมิภาคของประเทศไทย จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ที่จะต้องให้ผู้ปฏิบัติงาน ในส่วนภูมิภาค มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อน การปฏิบัติภารกิจ เร่งรัดแก้ไขปัญหา สถานะบุคคล

#SARABURI SANDBOX
#Saraburi Low Carbon City
#คุณภาพชีวิตดีคนสระบุรี
ไม่ทอดทิ้งกัน
สมพงษ์ ปานรุ่ง สระบุรี

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 1 - 15 พฤษภาคม 2568
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
21 เม.ย. 2568
“กีฬา ... กีฬา ... เป็นยาวิเศษ” ส่วนหนึ่งของคำประพันธ์ที่นำมาร้องกันในสมัยก่อน หรืออาจจะร่วมถึงในยุคสมัยนี้ด้วยก็คงไม่ผิด และแน่นอนความหมายของนั้นก็คือ การเล่นกีฬา การออกกำลังกายนั้น มีคุณประโยชน์ต่อร่างกายเปรียบเสมือนเกราะป้องกันโรคภัยของเรานั่นเอ...