ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
พลังงาน / สิ่งแวดล้อม ย้อนกลับ
รัฐจับมือรุกแผนรับมือท่วม-แล้ง
13 พ.ย. 2561

         สทนช.หารือหน่วยเกี่ยวข้องคาดการณ์สถานการณ์น้ำภาคใต้ พร้อมจับมือทุกหน่วยทำแผนรับมือพื้นที่เสี่ยงขาดน้ำอุปโภค-บริโภคและภาคเกษตร เร่งหาเร่งน้ำต้นทุนสำรอง เตรียมตั้งคณะทำงานกำหนดหลักเกณฑ์การจัดทำเกณฑ์การบริหารจัดการน้ำในเขื่อน และแหล่งน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่

          นายสมเกียรติ  ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติกล่าวภายหลังการประชุมคณะทำงานอำนวยการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำติดตามสถานการณ์น้ำมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมอุตุนิยมวิทยา การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย กรมชลประทาน กรมทรัพยากรน้ำ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมส่งเสริมการเกษตร กองทัพบก กองทัพไทย โดยมีสาระสำคัญใน 2 ประเด็นหลัก คือ 1.การติดตามสภาพอากาศภาคใต้ที่อยู่ในช่วงฤดูฝน สถานการณ์น้ำท่วมในปัจจุบัน การให้ความช่วยเหลือพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ รวมถึงการคาดการณ์ปริมาณฝนล่วงหน้าเพื่อเตรียมรับมือ และ 2. การติดตามความก้าวหน้าแผนการรับมือสถานการณ์ภัยแล้งในปี 61/62 โดยเฉพาะการวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงให้ชัดเจน เพื่อเตรียมแผนรับมือการจัดหาแหล่งน้ำต้นทุนสำรอง และแจ้งเตือนประชาชนในพื้นที่ให้ได้รับผลกระทบน้อยที่สุด 

          ซึ่งเบื้องต้นสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติได้มีหนังสือแจ้งไปยัง 3 กระทรวง ได้แก่ กระทรวงมหาดไทย เพื่อทำการสำรวจประปาหมู่บ้าน และประปาเทศบาลที่เสี่ยงต่อการขาดแคลนแหล่งน้ำต้นทุน พร้อมจัดทำแผนสำรองและแนวทางแก้ไขร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำรวจข้อมูลอ่างเก็บน้ำขนาดเล็กนอกเขตชลประทาน และจัดทำแผนรองรับและสนับสนุนน้ำอุปโภคบริโภคและน้ำเพื่อการเกษตร และกระทรวงเกษตรฯ เพื่อตรวจสอบและยืนยันพื้นที่เพาะปลูกทั้งในเขตและนอกเขตชลประทาน และจัดทำมาตรการรองรับ 

          ทั้งนี้ จากการรวบรวมข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สทนช.วิเคราะห์แล้ว พบว่า พื้นที่เสี่ยงได้อาจจะรับผลกระทบจากสถานการณ์ภัยแล้ง แบ่งเป็น 2 กรณี คือ 1. พื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร ปี 2561/62 เป็นพื้นที่นอกเขตชลประทาน ซึ่งพิจารณาการมีทั้งสิ้น 11 จังหวัด 27 อำเภอ 71 ตำบล ประกอบด้วย จ.อุทัยธานี นครสวรรค์ กำแพงเพชร สุโขทัย อุตรดิตถ์ สุพรรณบุรี หนองบัวลำภู ชัยภูมิ ขอนแก่น มหาสารคาม และศรีสะเกษ และ 2. พื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค โดยพิจารณาจากพื้นที่ที่มีปริมาณฝนสะสมในช่วง 1 ม.ค.-31 ต.ค.61 น้อยกว่า 20 % ของค่าเฉลี่ย รายภาค ยกเว้นพื้นที่ในเขตชลประทาน พบว่า มีจำนวนทั้งสิ้น 11 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ แพร่ ชัยภูมิ นครราชสีมา นครสวรรค์ บุรีรัมย์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ลำปาง สุราษฎร์ธานี และหนองบัวลำภู

         ขณะที่แผนการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง ปี2561/62  ตามที่กระทรวงเกษตรฯ เสนอ แบ่งเป็น ในเขตชลประทาน ข้าวนาปรังปี 61/62 ประมาณ 8.3 ล้านไร่ ซึ่งได้มีการปรับลดพื้นที่ลงจากปี 60/61 จำนวน 4.5  แสนไร่ พืชไร่พืชผักอื่นๆ 6 แสนไร่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 1.7  ล้านไร่ ส่วนพื้นที่นอกเขตชลประทาน 5.6 ล้านไร่ ประกอบด้วย ข้าวนาปรังปี 61/62 จำนวน 3.3 ล้านไร่ พืชไร่พืชผักอื่นๆ 1.4 ล้านไร่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 8 แสนไร่  ซึ่งที่ประชุมรวมถึงได้หารือแผนมาตรการเตรียมการรับสถานการณ์ภัยแล้ง และแนวทางแก้ไขปัญหา และได้มอบหมายให้หน่วยงานที่รับผิดชอบแหล่งน้ำ เร่งสำรวจและจัดทำบัญชีแหล่งน้ำ พร้อมติดตามแผนการจัดสรรน้ำในช่วงฤดูแล้ง ผลการเพาะปลูกพืชจริงตามแผนการจัดสรรน้ำ โดยแยกเป็นรายลุ่มน้ำประกอบด้วย ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ลุ่มน้ำชี-มูล ลุ่มน้ำแม่กลอง และลุ่มน้ำภาคตะวันออก เพื่อนำเสนอต่อที่ประชุมคณะอนุกรรมการวิเคราะห์ติดตามสถานการณ์และบริหารจัดการทรัพยากรน้ำครั้งต่อไป

          นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้มีการตั้งคณะทำงานกำหนดหลักเกณฑ์การจัดทำเกณฑ์การบริหารจัดการน้ำ (Rule Curve) สำหรับอ่างเก็บน้ำ และแหล่งน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่ ใน 2 กรณี ได้แก่ 1) น้ำมาก น้ำปานกลาง และน้ำน้อย และ 2) น้ำวิกฤติ โดยให้สอดคล้องกับปริมาณความต้องการน้ำที่อาจมีการเปลี่ยนแปลงไปและวัตถุประสงค์ของการจัดสรรน้ำ ในรูปแบบเกณฑ์การควบคุมที่เหมาะสมตามสถานการณ์ และเกณฑ์การควบคุมตามสภาวะปกติ 

         สำหรับสถานการณ์น้ำในพื้นที่ภาคใต้ล่าสุดขณะนี้ ยังคงมีฝนหนักได้ในบางพื้นที่ ปริมาณฝน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักถึงหนักมากในพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ จ.ประจวบคีรีขันธ์อ.บางสะพานน้อย  อ.กงหรา จ.พัทลุง อ.ร่อนย์พิบูลย์ จ.นครศรีธรรมราช  และ อ.หลังสวน จ.ชุมพร 
แม้ปริมาณฝนตกในพื้นที่ภาคใต้จะลดลงแต่ยังคงมีฝนอยู่

         ทั้งนี้ สทนช.ได้บูรณาการการทำงานร่วมกับทุกหน่วยงาน กำกับ ติดตาม และเตรียมแผนบริหารจัดการน้ำในอ่างเก็บน้ำพื้นที่ภาคใต้ ได้แก่ ลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลอ่าวไทยตะวันตก ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออก ลุ่มน้ำตาปี ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา และลุ่มน้ำปัตตานี พร้อมขุดคลองคลองและอ่างเก็บน้ำต่างๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการระบายน้ำ ตรวจสอบความพร้อมการใช้งานของอาคารบังคับน้ำและสถานีสูบน้ำต่างๆ รวมทั้ง กรมชลประทานได้เตรียมความพร้อมเครื่องจักรเครื่องมือเพื่อรับมืออุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ไว้แล้ว โดยติดตั้งบริเวณพื้นที่เสี่ยงที่จะเกิดน้ำท่วมเป็นประจำ ให้สามารถนำไปช่วยเหลือได้ทันที ได้แก่ เครื่องสูบน้ำ 453 เครื่อง เครื่องผลักดันน้ำ 300 เครื่อง รถแทรกเตอร์/รถขุด 108 คัน เครื่องจักรกลสนับสนุนอื่นๆ เพื่อเตรียมพร้อมเข้าดำเนินการได้ทันทีเมื่อเกิดปัญหาน้ำท่วม ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้บูรณาการการทำงานร่วมกันเพื่อให้สถานการณ์คลี่คลายโดยเร็ว

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...