ก็อ่านดูนะ เป็นความรู้
@อย่าก่อสังฆเภท@
คณะสงฆ์เถรวาทในประเทศไทยแต่เดิมเป็นเอกภาพหนึ่งเดียวกัน ต่อมาในยุคต้นรัตนโกสินทร์เมื่อได้เกิด “ธรรมยุติกนิกาย” ขึ้นแยกจากคณะสงฆ์เดิม คณะสงฆ์ไทยแต่เดิมจึงเรียกว่า “มหานิกาย”
>>ในประเทศศรีลังกาและกัมพูชามีคณะสงฆ์เถรวาทหลายนิกาย แต่ละนิกายก็มีพระสังฆราชของตนเองปกครอง เป็นไปตามหลักพระธรรมวินัยที่พระภิกษุนานาสังวาสจะไม่ทำสังฆกรรมร่วมกัน แต่ในประเทศไทยคงปกครองร่วมกันเพื่อความสามัคคี
<< ปัจจุบัน >>
คณะสงฆ์มหานิกายมีวัด 31,890 แห่ง พระภิกษุ 256,826 รูป
คณะสงฆ์ธรรมยุติ มีวัด 1,987 แห่ง พระภิกษุ 33,189 รูป
โดยเฉลี่ยสัดส่วนของวัดและพระภิกษุของมหานิกายต่อธรรมยุติประมาณ 10:1
>>เนื่องจากคณะสงฆ์ธรรมยุติถือกำเนิดโดยรัชกาลที่ 4 จึงมีความใกล้ชิดกับพระราชวงศ์ และมีสิทธิ์พิเศษหลายอย่าง เช่น สมัยที่ยังมีเจ้าคณะภาค เจ้าคณะจังหวัด เจ้าคณะอำเภอ เจ้าคณะตำบล ตำแหน่งละ 1 รูป หากเจ้าคณะเหล่านี้เป็นพระภิกษุธรรมยุติจะปกครองวัดมหานิกายในพื้นที่นั้นๆได้ แต่หากเจ้าคณะพื้นที่ใดเป็นพระภิกษุมหานิกาย ห้ามปกครองวัดธรรมยุติ ให้ปกครองแต่พระภิกษุและวัดมหานิกายเท่านั้น ส่วนวัดธรรมยุติจะไปขึ้นตรงกับเจ้าคณะใหญ่ธรรมยุติที่กรุงเทพฯ
>>การถูกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมนี้สร้างความอึดอัดแก่คณะสงฆ์มหานิกาย แต่ก็กล้ำกลืนฝืนทน และมาถูกจุดระเบิดขึ้นเมื่อพ.ศ.2494
>> ในขณะนั้น การปกครองคณะสงฆ์ไทยเป็นไปตามพรบ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2484 ซึ่งกำหนดให้สมเด็จพระสังฆราชทรงแต่งตั้งสังฆนายกคล้ายนายกรัฐมนตรีของสงฆ์ แล้วสังฆนายกแต่งตั้งสังฆมนตรีว่าการองค์การต่างๆ
>>ในพ.ศ.2494 ตำแหน่งสังฆนายกว่างลง สมเด็จพระสังฆราช กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ วัดบวรนิเวศวิหาร แทนที่จะแต่งตั้งสมเด็จปลด วัดเบญจมบพิตรพระมหาเถระฝ่ายมหานิกาย ซึ่งมีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ แต่กลับทรงมีพระบัญชาตั้งพระศาสนโสภณ ซึ่งเป็นพระธรรมยุติด้วยกันเป็นสังฆนายก
>>พระราชาคณะ 47 รูป ฝ่ายมหานิกายจึงได้ทำจดหมายเปิดผนึกถึงสมเด็จพระสังฆราช คัดค้านพระบัญชาดังกล่าวอย่างเด็ดเดี่ยว ส่งผลให้พระศาสนโสภณลาออกจากตำแหน่งสังฆนายก และสมเด็จพระสังฆราชได้นิมนต์พระเถระฝ่ายมหานิกายและธรรมยุติประชุมร่วมกัน ณ ตำหนักเพชร วัดบวรนิเวศ เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ.2494 มีข้อตกลงร่วมกันคือ
__1. การปกครองส่วนกลาง คงบริหารร่วมกัน แต่การปกครองบังคับบัญชาให้เป็นไปตามนิกาย
__2.การปกครองส่วนภูมิภาคให้แยกไปตามนิกาย
>>ข้อตกลงนี้เรียกว่า __“ข้อตกลงตำหนักเพชร 2494”__ ซึ่งรัฐบาลได้รับรองอย่างเป็นทางการด้วย
>>ผลจาก__ข้อตกลงตำหนักเพชร__ทำให้มีตำแหน่งเจ้าคณะภาค เจ้าคณะจังหวัด เจ้าคณะอำเภอ เจ้าคณะตำบล ตำแหน่งละ 2 รูป เป็นของพระภิกษุมหานิกายและธรรมยุต แยกขาดจากกัน
จากนั้นสมเด็จพระสังฆราช ก็ได้มีพระบัญชาแต่งตั้งสมเด็จปลด วัดเบญจมบพิตร เป็นสังฆนายก
>>ปัจจุบันการปกครองคณะสงฆ์ตาม พรบ.คณะสงฆ์ 2505 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2535 กำหนดให้มหาเถรสมาคมเป็นองค์กรปกครองสูงสุดของคณะสงฆ์ มีสมเด็จพระสังฆราชเป็นประธานกรรมการ และมีกรรมการมหาเถรสมาคมฝ่ายมหานิกายและธรรมยุต ฝ่ายละ 10 รูป รวมเป็น 21 รูป
>>คณะสงฆ์มหานิกายมีมากกว่าคณะสงฆ์ธรรมยุติถึง 8:1 การกำหนดให้มีจำนวนกรรมการมหาเถรสมาคมเท่ากัน ไม่ยุติธรรม แต่คณะสงฆ์มหานิกายก็ยอมรับ เพราะเห็นแก่ความสงบเรียบร้อยของคณะสงฆ์และชาติบ้านเมือง
>>เมื่อดูการดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช ก็พบว่า ตั้งแต่ พ.ศ.2453 ถึงปัจจุบัน มีสมเด็จพระสังฆราชเป็นพระภิกษุฝ่ายธรรมยุติรวมระยะเวลา 89 ปี เป็นพระภิกษุฝ่ายมหานิกายรวมระยะเวลา 14 ปี
>>เมื่อพระมหาเถระฝ่ายธรรมยุติได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชอย่างยาวนาน คณะสงฆ์มหานิกายก็ไม่เคยคัดค้าน
>> แต่บัดนี้เมื่อสมเด็จพระญาณสังวรฯสมเด็จพระสังฆราชสิ้นพระชนม์ ตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชว่างลง มหาเถรสมาคมได้มีมติเป็นเอกฉันท์เมื่อวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2559 เสนอนามสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ วัดปากน้ำ ภาษีเจริญซึ่งเป็นพระมหาเถระฝ่ายมหานิกายและมีอาวุโสสูงสุดทั้งโดยสมณศักดิ์และโดยพรรษาในบรรดาสมเด็จฯที่ยังปฏิบัติหน้าที่ได้ เป็นสมเด็จพระสังฆราช
>>คณะสงฆ์โดยรวมไม่มีปัญหา สมเด็จพระวันรัต วัดบวรนิเวศวิหาร เจ้าคณะใหญ่ธรรมยุติเป็นผู้เสนอนามสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ต่อที่ประชุมเองด้วยซ้ำไป กรรมการมหาเถรสมาคม ทั้งฝ่ายมหานิกายและธรรมยุติมีมติเป็นเอกฉันท์เห็นพ้องต้องกัน สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์เป็นปูชนียะที่คณะสงฆ์มหานิกายทั่วประเทศให้ความเคารพเป็นอย่างสูง
ถ้าทำตามกฎหมายก็ไม่มีปัญหา แต่ปัญหาเกิดเพราะมีกลุ่มบุคคลที่ไม่หวังดีจะตะแบงเอาตามใจตัวเอง เรื่องการปกครองคณะสงฆ์ ไม่ฟังมติมหาเถรสมาคมแล้วจะฟังใคร