ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
คุณภาพชีวิต ย้อนกลับ
เร่งกำจัดลูกน้ำยุงลาย วายร้าย 3 โรค ในพื้นที่ จ.สมุทรปราการ
16 ก.ย. 2562

ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับกรมควบคุมโรค สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรปราการ หน่วยงานในพื้นที่ และพลังชุมชนพื้นที่อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เร่งกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย พาหะนำโรคไข้เลือดออก  พร้อมเชิญชวนประชาชน ชุมชน และหน่วยงานต่างๆ ร่วมกันกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นมาตรการ “3 เก็บ ป้องกัน 3 โรค”

นางสาวเรวดี รัศมิทัต ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 6 พบอัตราป่วยต่อประชากรแสนคนสูงกว่าระดับประเทศ และปัจจุบันยังคงมีผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องทั่วประเทศ จากข้อมูลสถานการณ์โรคไข้เลือดออก จังหวัดสมุทรปราการ ณ วันที่ 8 กันยายน 2562 มีผู้ป่วย จำนวน 633 ราย อัตราป่วย 48.61 ต่อประชากรแสนคน เสียชีวิต 1 ราย จากข้อมูลข้างต้นกระทรวงสาธารณสุข จึงได้จับมือกับทุกภาคส่วนในพื้นที่ดำเนินการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อนำโดยยุงลาย โดยมุ่งเน้นการนำพลังชุมชนมาร่วมสำรวจและกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายบริเวณชุมชน บ้านพัก สถานที่ทำงาน และขอเชิญชวนประชาชน ชุมชน และหน่วยงานต่างๆ ร่วมมือกันกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายอย่างต่อเนื่อง โดยใช้มาตรการ “3 เก็บ ป้องกัน 3 โรค” ได้แก่

1) เก็บบ้านให้สะอาด เช่น พับเก็บเสื้อผ้าใส่ในตู้หรือแขวนให้เรียบร้อย เพื่อไม่ให้มีมุมอับทึบเป็นที่เกาะพักของยุง 2) เก็บขยะ ที่อยู่บริเวณรอบบ้าน เก็บขยะ เก็บภาชนะใส่อาหารหรือน้ำดื่มที่ทิ้งไว้ใส่ถุงดำ และนำไปทิ้งลงถังขยะ เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง และ 3) เก็บน้ำ ภาชนะที่ใส่น้ำเพื่ออุปโภค บริโภค ต้องปิดฝาให้มิดชิด ล้างคว่ำภาชนะใส่น้ำ และเปลี่ยนน้ำในกระถางหรือแจกันทุกสัปดาห์ ป้องกันไม่ให้ยุงลายวางไข่ ซึ่งจะสามารถป้องกันได้ 3 โรค คือ 1.โรคไข้เลือดออก 2.โรคติดเชื้อไวรัสซิกา 3.โรคไข้ปวดข้อยุงลาย  และที่สำคัญในช่วงนี้บางพื้นที่ยังมีฝนตก ทำให้มีน้ำขังตามภาชนะต่างๆ รวมถึงภาชนะที่ใช้เก็บกักน้ำในบ้าน อาจเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงลายได้

ด้านนายแพทย์ขจรศักดิ์ แก้วจรัส รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวเสริมว่า โรคไข้เลือดออก ประชาชนสามารถสังเกตอาการเบื้องต้นได้ คือ ไข้สูงไม่ลดมากกว่า 2 วันหลังจากทานยาลดไข้ หากมีอาการสงสัยรีบพบแพทย์ เพราะอาจช็อก และเสียชีวิตได้ ทั้งนี้ประชาชนควรเตรียมความพร้อมใน 3 เรื่อง คือ 1) การป้องกันการถูกยุงกัด โดยทายากันยุง นอนในมุ้ง กำจัดยุงตัวเต็มวัยด้วยสเปรย์ ไม้ช็อตไฟฟ้า กำจัดลูกน้ำและแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในภาชนะน้ำใส นิ่ง 2) การเฝ้าระวังอาการของโรค และ 3) การไปพบแพทย์เร็วเมื่อป่วยมีไข้สูง เพื่อให้แพทย์วินิจฉัยโรค และเฝ้าระวังเป็นพิเศษในช่วงไข้ลด หากเกิดอาการช็อกจากไข้เลือดออก ต้องรีบกลับไปโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด ถ้าช้าอาจทำให้เสียชีวิตได้ และหากประชาชนมีข้อสงสัยสอบถามได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร.1422

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...