ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
คุณภาพชีวิต ย้อนกลับ
Never Try Never Know จุดประกายจากสิ่งเล็ก ๆ เพียงแค่เริ่มตั้งคำถาม เรียนรู้ แล้วลองทำ
17 มี.ค. 2563

              สถานการณ์การระบาดของ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง หลายหน่วยงานใน กฟผ. ได้มีการร่วมมือกันเพื่อรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นการผลิตเจลล้างมือเพื่อแจกจ่าย และการนำเทคโนโลยีจากโรงไฟฟ้ามาใช้คัดกรองบุคคลก่อนเข้าสำนักงาน ซึ่งมาตรการต่าง ๆ เหล่านี้ สะท้อนให้เห็นถึงแนวคิดในการจุดประกายจากสิ่งเล็ก ๆ รอบตัว นำไปสู่การสร้างองค์ความรู้ใหม่ ๆ เช่นเดียวกับเรื่องราวที่นำเสนอในภาพยนตร์โฆษณาชุดใหม่ ของ กฟผ. “Never Try Never Know” ซึ่งเผยแพร่ให้ได้รับชมกันแล้วในวันนี้ (วันที่ 9 มีนาคม 2563) เป็นวันแรก 

             เพราะ กฟผ. เชื่อว่าการจุดประกายความคิดจากสิ่งรอบตัว นำไปสู่การสร้างองค์ความรู้ใหม่ ๆ ได้ โดยเฉพาะในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในปัจจุบัน ซึ่งมีการนำองค์ความรู้จากการผลิตไฟฟ้าภายใต้แต่ละหน่วยงานมาประยุกต์ใช้ ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีกล้อง Thermoscanซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ใช้เพื่อตรวจสอบความผิดปกติของเครื่องจักรและอุปกรณ์ไฟฟ้าขณะใช้งานในโรงไฟฟ้า ซึ่งฝ่ายบำรุงรักษาไฟฟ้า (อบฟ.) และฝ่ายโรงงานและอะไหล่ (อรอ.) ได้นำเทคโนโลยีนี้มาประยุกต์ใช้ในการคัดกรองผู้ปฏิบัติงานก่อนการเข้าสำนักงาน หรือจะเป็น “เจลอนามัย น้ำใจ กฟผ.” ที่ทางฝ่ายเคมี (อคม.) ได้ใช้ความรู้ทางด้านเคมีที่ใช้ในกระบวนการผลิตไฟฟ้าของ กฟผ. มาประยุกต์ใช้ ทั้งหมดนี้เกิดจากการสร้างองค์ความรู้ใหม่ ๆ นอกเหนือจากขอบเขตเดิม ๆ ที่มีเพียงการผลิตไฟฟ้าเพียงเท่านั้น โดยเริ่มจากขั้นตอนง่าย ๆ คือการสำรวจสิ่งที่เรามีอยู่รอบตัว เริ่มตั้งคำถามว่าเราสามารถทำมันได้หรือไม่ เรียนรู้จากคำถามนั้น จุดประกายเป็นนวัตกรรมเพื่อสร้างประโยชน์จากองค์ความรู้ใหม่ที่ได้มา

              ซึ่งการพัฒนาองค์ความรู้เหล่านี้และสรรค์สร้างเป็นนวัตกรรมใหม่ ๆ สอดคล้องกับคอนเซปท์ภาพยนตร์โฆษณาชุดใหม่ของ กฟผ. “Never Try Never Know” ซึ่งเผยแพร่ตั้งแต่วันที่ 9 มีนาคม 2563 เป็นต้นไป ทางสถานีโทรทัศน์ดิจิทัล ช่อง 3HD ช่อง 7HD ช่อง MONO29 ช่อง Workpoint TV ช่อง One ช่อง Thairath TV และช่อง Amarin TV ความยาว 60 วินาที และ 30 วินาที โดยภาพยนตร์โฆษณาชุดนี้ ตั้งใจสะท้อนความคิดที่ว่า เพราะ กฟผ. เชื่อว่าความรู้ไม่ได้อยู่แค่ในห้องเรียน แต่อยู่รอบ ๆ ตัวเรา แค่เพียงเราหัดคิด หัดสังเกต หัดตั้งคำถามกับสิ่งที่เราสงสัยที่เรายังไม่รู้ จากนั้นหาคำตอบให้เจอ และนำคำตอบมาต่อยอดลงมือทำ เราก็จะได้องค์ความรู้ อย่างไม่มีสิ้นสุด

               ที่มาของไอเดียนี้มาจากโครงการที่ กฟผ. ได้ริเริ่มในการจัดการแข่งขัน STEM : SOLAR FAST RACING THAPSAKAE รถแข่งพลังงานแสงอาทิตย์ ทับสะแก ซึ่งจัดเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ที่ศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ บอกเล่าเรื่องราวผ่านกลุ่มเพื่อน 3 คน ที่เริ่มต้นจากการตั้งคำถามกับรถของเล่นคันเล็ก เด็ก ๆ มีความอยากรู้และมักตั้งคำถามกับสิ่งรอบ ๆ ตัวอยู่เสมอ จนวันหนึ่งเด็กกลุ่มนี้ได้มาที่ศูนย์การเรียนรู้ EGAT LEARNING CENTER ความรู้หลาย ๆ สิ่งที่เด็กเหล่านี้ได้มาเห็นและเรียนรู้ โดยเฉพาะเรื่องการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานจากแสงอาทิตย์ ได้สร้างแรงบันดาลใจให้เด็กทั้ง 3 คน รวมพลังความคิด ลงมือประดิษฐ์รถพลังงานแสงอาทิตย์ได้เป็นผลสำเร็จ

              ทั้งนี้ กฟผ. มีจุดมุ่งหมายที่จะสร้างสรรค์สังคมแห่งภูมิปัญญาเพื่อชีวิตที่ดีกว่า และพร้อมที่จะส่งต่อความรู้ สร้างแรงบันดาลใจ และสนับสนุนให้เกิดพื้นที่แห่งการเรียนรู้ในสังคม เพื่อเป้าหมายที่จะเป็นองค์การที่คนไทยไว้วางใจและภาคภูมิใจ มุ่งเน้นการดำเนินงานที่โปร่งใส และเป็นที่ยอมรับของสังคม รวมถึงการพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชนโดยรอบไฟฟ้าและระบบส่งอย่างยั่งยืนต่อไป

นอกจากจะสามารถติดตามชมภาพยนตร์โฆษณาผ่านทางโทรทัศน์แล้ว ยังมีในช่องทางสื่อโฆษณาโรงภาพยนตร์ สื่อสิ่งพิมพ์ และช่องทางโซเชียลมีเดียของ กฟผ. อาทิ www.egat.co.th, Facebook Fanpage: กฟผ. การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และ Youtube Channel : กฟผ. การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ ขอเชิญชวนร่วมกันกดไลค์ กดแชร์พร้อมติดแฮชแทค #NeverTryNeverKnowเผยแพร่สื่อโฆษณาดังกล่าวเพื่อขยายการรับรู้ในภารกิจของ กฟผ. สู่สาธารณชนในวงกว้างต่อไป

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...