ดร.ภาส ภาสสัทธา ในวัย 67 ปี เกิดในปี พ.ศ. 2496 ที่จังหวัดภูเก็ต กับบุคลิกภาพในปัจจุบันแล้ว บอกได้ว่า ดูหนุ่มกว่าวัยมาก หรือนั่นเป็นเพราะ ดร.ภาส เป็นผู้ที่มีอารมณ์ดี ยิ้มแย้มแจ่มใสอยู่ตลอด ปัจจุบัน หลังจาก เกษียณออกจากสำนักงานป้องกันและปรามปรามการ ทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช.แล้ว นอกจากจะเป็นสมาชิก สภากรุงเทพมหานคร ยังคงทำหน้าที่่ หรือได้รับการ ยอมรับให้เข้าไปเป็นที่ปรึกษา เป็นครูบาอาจารย์ อบรม อยู่ในหลายสำนัก ไม่ว่าจะเป็น กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร, คณะกรรมการ วินิจฉัยอุทธรณ์และร้องทุกข์ของกระทรวงอุดมศึกษาฯ, กรรมการกฎหมายของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริม สวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา, กรรมการมูลนิธิประเทศไทยใสสะอาด, กรรมการตรวจ สอบในองค์การมหาชนของกรมสวัสดิการและคุ้มครอง ฝีมือแรงงาน อาจารย์อบรมพิเศษด้านท้องถิ่่น และอาจารย์ สอนอีกบางแห่ง
ดร.ภาส เปิดบทสัมภาษณ์ให้ฟังว่า พื้นเพเป็นคนภูเก็ต หลังจากจบการศึกษามัธยมต้น ม.ศ.3 ที่ภูเก็ต แล้วมาต่อ ม.ศ.4-5 ที่โรงเรียนอำนวยศิลป์ มีเพื่อนร่วมรุ่นดังๆ อยู่ หลายคน อย่างไรก็ตาม ดร.ภาส ยอมรับว่า เนื่องจาก ไม่ใช่คนร่ำรวยอะไร ชีวิตในวัยเรียนที่กรุงเทพมหานครจึง ค่อนข้างลุ่มๆ ดอนๆ ก็ออกมาทำงาน มีโอกาสก็ไปเรียนที่ มหาวิทยาลัยรามคำแหง 2514 ซึ่งถือเป็นนักศึกษารุ่นแรก ของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ ทำางานด้วยเรียนด้วย พอมาอีกปีก็สามารถมาเข้าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้
“เข้ามาพอดีก็อยู่ในช่วง 14 ตุลาฯ และ 6 ตุลาฯ เรียนจบนิติศาสตร์ จากจุฬาฯ แล้วก็มาเรียนปริญญาโท ด้านบริหารรัฐกิจที่ธรรมศาสตร์ ตอนเรียนโทที่ธรรมศาสตร์ ผมเป็นเจ้าหน้าที่สืบสวน 7 ที่ี ป.ป.ป.(สำนักงานป้องกัน และปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวง ราชการ) ผมอยู่ ป.ป.ป.มาตั้งแต่ปี 2524 สมัยท่าน กล้านรงค์ จันทิก เป็นผู้อำนวยการ กองสืบสวนสอบสวน 1 จนปี 2542 เกิดองค์กรอิสระคือ ป.ป.ช. ท่านโอภาส อรุณินท์ ท่านเป็นประธานกรรมการ ป.ป.ช.คนแรก ผมก็เปลี่ยน ตำาแหน่งเป็นเจ้าพนักงานปราบปรามการทุจริต เติบโต เรื่อยมาจนเกษียณ รวมแล้ว 30 กว่าปี อยู่ในองค์กรตรวจ สอบมาตลอด จนหลังเกษียณก็ยังช่วย ป.ป.ช. ต่อมาอีก จนปัจจุบัน ก่อนเกษียณผมไปเรียนปริญญาเอกที่ มจร. (มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย) และมาจบ เอาตอนหลังเกษียณ”
สำหรับการทำางานใน ป.ป.ช. นั้น ดร.ภาส เล่าให้ฟังว่า เริ่มมาตั้งแต่ยังเป็น ป.ป.ป.และก็ปรับเปลี่ยนมาเป็น ป.ป.ช. ซึ่งก็ทำงานเป็นมือปราบโกงมาโดยตลอด จนขึ้นมาเป็นรอง เลขาธิการ ป.ป.ช. สมัย ณรงค์ รัฐอมฤต เป็นเลขาธิการฯ ซึ่งยังคงเป็นกรรมการในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม หลังเกษียณ ป.ป.ช.ก็ยังคงจ้างต่อ เป็นผู้เชี่ยวชาญ พอกรรมการชุดใหม่ มา ก็ไปเป็นที่ปรึกษา พล.อ.บุณยวัจน์ เครือหงส์ ที่เป็น กรรมการอยู่ในปัจจุบัน ในปี 2557 คณะรักษาความสงบ แห่งชาติ หรือ คสช.กำลังคัดเลือกผู้เหมาะสมมาทำหน้าที่ สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร 30 คน ก็ได้รับแต่งตั้งเข้ามา ตั้งแต่ ปี 2557 จนมาถึงปัจจุบันเกือบ 6 ปีแล้ว
สำหรับการทำงานในหน้าที่มือปราบโกงกับการเข้ามาทำ หน้าที่นิติบัญญัติในสภา กทม. มีความแตกต่างกันอย่างไรนั้น ดร.ภาส บอกว่า ต่างกันเยอะ เบื้องแรก ป.ป.ช.เป็นองค์กร อิสระ เหมือนหน่วยราชการประจำ ทำหน้าที่ตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ในเรื่องโครงสร้างขององค์กรก็เป็นเรื่อง ของระบบราชการ การทำงานก็เป็นการบริหารราชการใน เชิงตรวจสอบ พูดง่ายๆ คือเป็นการทำงานเชิงไต่สวน ซึ่ง ส่วนใหญ่ก็จะพบเจอกับพวกท้องถิ่น ดูแล อปท.ทั้งหลาย ดูกระทรวงมหาดไทย เคยดูกระทรวงสาธารณสุข ทบวง มหาวิทยาลัย ฯลฯ
นอกจากนั้น พอขึ้นมาเป็นผู้อำนวยการ ขึ้นมาเป็น ผู้ช่วย ก็มาดูเรื่องเครือข่ายภาคประชาชน เน้นการป้องกัน เฝ้าระวัง ซึ่งก็มาทำโครงการต่างๆ กับครูบ้าง กับเด็กบ้าง จับมือกับ มจร. ดึงเอาเรื่องศาสนาเข้ามาช่วยกันป้องกัน การทุจริต และที่ถือว่าสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี โดยเฉพาะการ ปลูกจิตสำนึกเด็ก
แต่เมื่อมาทำหน้าที่่ ส.ก. ดร.ภาส ยอมรับว่า เมื่อไม่เคย สัมผัสการเมือง แรกๆ คิดว่าคงไม่ต่างกันมาก แต่พอจริงๆ แล้วมันมีความแตกต่างกัน คือความเป็น ส.ก. มันเป็น ฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่งหนึ่งก็ต้องเป็นเรื่องของการใช้กฎหมาย สอง ก็เป็นเรื่องของการตรวจสอบ สาม เป็นเรื่องของการ ดูแลทุกข์สุขของประชาชน ซึ่งด้านกฎหมายก็จบมาด้านนี้ ประสบการณ์ก็คงใช้ได้ ด้านตรวจสอบก็ทำางานด้านนี้มา ส่วนเรื่องการดูแลประชาชน ตอนอยู่ ป.ป.ช.ก็คลุกคลีกับ ด้านนี้มา ก็เอาแนวต่างๆ นี้มาใช้ได้พอสมควร ก็เป็นเรื่อง ของการออกข้อบัญญัติ ยื่นญัตติ ยื่นอภิปรายในเรื่องนั้น เรื่องนี้ ซึ่งปัจจุบันก็เป็นประธานกรรมการด้านการโยธา และผังเมืองของสภา กทม. และก็ยังต้องลงไปดูแลตามเขตต่างๆ ที่่แบ่งๆ กันไปด้วย
เมื่อถามถึงการทำงานใน ป.ป.ช.ยึดมั่นอะไรมาบ้าง ดร.ภาส กล่าวว่า “คือผมมองเรื่องการทำงานต้องทำ ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต อะไรถูกก็ว่ากันไปตามถูก อะไร ผิดก็ว่ากันไปตามผิด ก็ว่ากันไปตามกฎหมาย อำนาจ ไม่ได้อยู่ที่เรา การวินิจฉัยอะไรเราเป็นเบื้องต้น ไต่สวน เสร็จเรายังต้องส่งไปยังกรรมการ ส่งไปกรรมการเสร็จ สมัยก่อนก็ยังต้องส่งไปยังหน่วยงาน ผมคิดว่าหนึ่งเรา ยึดกฎหมาย แล้วสองยึดหลักความเป็นธรรม หลัก นิติธรรม หลักกฎหมายนิติรัฐ เรื่องความโปร่งใส ถ้า เรายึดถือปฏิบัติเช่นนี้ ผมคิดว่า เราไม่อันตราย ผมไป ต่างจังหวัด ก็ไม่เคยเกิดเรื่อง ผมว่าถ้ากรรมการจะกี่่คน ก็แล้วแต่ วินิจฉัยด้วยความเป็นธรรมแล้วนี่ ผมคิดว่า สิ่งถูกต้อง ความเป็นธรรมทั้งหลาย มันสามารถที่่จะทำให้คน เชื่อมั่นเชื่อถือในตัวองค์กรด้วย แต่เมื่อไหร่ที่ถ้าความเป็น ธรรมมันถูกลดทอนไปโดยอะไรก็ตาม ผมว่าความเชื่อถือ องค์กร หมายถึงเจ้าหน้าที่่ ผู้ปฏิบัติด้วยมันจะลดลง”
ดร.ภาส ยังกล่าวถึงเรื่องของท้องถิ่นด้วยว่า “บ้านเรา ต้องมีการกระจายอำนาจที่แท้จริง เพราะว่าท้องถิ่นจะเป็น รูปแบบที่เอื้อประโยชน์อะไรให้กับประชาชนมากที่สุด โดย เฉพาะอย่างยิ่งกับคนรากหญ้า ผมยังคิดว่า คนที่ทำอะไรอยู่ ในท้องถิ่่นเป็นนายก เป็นผู้บริหารท้องถิ่น เป็นสมาชิกสภา ท้องถิ่่น ถ้ามีจิตใจ หนึ่งเสียสละ สองเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน สาม เข้าใจหัวอกหัวใจคน ที่ยากไร้หรือด้อยกว่าตัวเอง แล้วพยายามหาทางช่วยเหลือ สี่ มีความซื่อสัตย์สุจริต ผมว่าบ้านเมืองดีขึ้น เพราะว่าท้องถิ่น 7,852 แห่ง นี่คือรากหญ้าที่สามารถเปลี่ยนแปลงอะไรไปใน ทางที่ดีได้ เพราะมันคือฐานของประเทศทั้งหมด
ก่อนจบ ดร.ภาส ได้ฝากคำคมของปราชญ์เล่าจือไว้ ด้วยว่า “ไม่มีภัยใดยิ่งกว่าความไม่รู้จักพอ ไม่มีโทษใด ยิ่งไปกว่าความโลภที่ไม่มีวันสิ้นสุด เพราะฉะนั้น ผู้ที่รู้จัก พอจะมีความพอไปตลอดชีวิต เพราะในหลวงรัชกาลที่ 9 ท่านก็พูดถึงเรื่องนี้ในเรื่องของหลักปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียงผมคิดว่าถ้าท้องถิ่นเรามีผู้นำที่ดี ในอนาคตที่จะ มีการเลือกตั้งท้องถิ่นที่จะมาถึง ถ้าได้คนดีเข้าไปบริหาร ลดอัตตาตัวเอง ลดความอยากของตัวเองลงไป มองเห็น ทุกข์ของชาวบ้าน ปัญหาที่เกิดขึ้นมันก็แก้ได้”
“ที่สำคัญ ซื่อสัตย์ต่อตนเองและสังคม โดยเฉพาะ อย่างยิ่งกับบ้านเมือง
คนที่เป็นข้าราชการ จะ เป็นข้าราชการประจำหรือข้าราชการการเมือง
ต้องซื่อสัตย์กับบ้านเมืองให้มากที่สุด ต้องเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่ประโยชน์
ส่วนตัว ผมว่าตรงนั้น ชีวิตมีความสุขแล้ว”