ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้อำนวยการสำนักสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุน การสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เปิดเผยว่า สสส. มีนโยบายสนับสนุนให้สถานประกอบการ เห็นความสำคัญของการลดปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพของพนักงานในองค์กร โดยได้จัดทำโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในสถานประกอบการให้เป็น “องค์กรลดพุงลดโรค” พร้อมกับการเผยแพร่ “คู่มือ 9 ขั้นตอนสู่การเป็นองค์กรลดพุง ลดโรค” ซึ่งเป็นนวัตกรรมการบริหารองค์กรเชิงรุก เพื่อสร้างเสริมศักยภาพและเพิ่มประสิทธิภาพให้องค์กร ลดความเสี่ยงด้านสุขภาพให้กับบุคลากรในองค์กร ผู้ประกอบการสามารถนำคู่มือฉบับนี้กลับไปใช้เป็นแนวทางในการขยับปรับเปลี่ยนองค์กรให้เป็นองค์กรลดพุงลดโรค ด้วยขั้นตอนที่ง่าย และสามารถเกิดผลสำเร็จที่ยั่งยืน
นายสุวรรณชัย โลหะวัฒนกุล ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ISMED) เปิดเผยว่า สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่หลักในการให้คำปรึกษา และพัฒนาองค์ความรู้และการเชื่อมโยงธุรกิจให้กับผู้ประกอบการและบุคลากรในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยมีภาคีเครือข่ายและองค์กรสมาชิกกระจายอยู่ทั่วประเทศจำนวนมาก ซึ่งที่ผ่านมาสถาบันฯ มุ่งเน้นการพัฒนาองค์ความรู้ด้านการดำเนินธุรกิจแก่ผู้ประกอบการและบุคลากร ทั้งนี้สถาบันฯ เล็งเห็นว่า การพัฒนาด้านสุขภาพของบุคลากรในสถานประกอบการในปัจจุบัน มีความจำเป็นและมีความสำคัญไม่น้อย ไปกว่ากัน เนื่องจากการที่บุคลากรมีสุขภาพดีจะช่วยทำให้สุขภาพจิตดีขึ้นและการทำงานมีประสิทธิภาพดีขึ้นตาม จึงได้ร่วมกับ สสส. จัดงานสัมมนาสถานประกอบการและอบรมเขียนแผนสู่การเป็นองค์กรลดพุงลดโรค โดยเปิดให้องค์กรสมาชิกและผู้ประกอบการสมัครเข้าร่วมสัมมนา ครั้งที่1และครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 9 และ 10 สิงหาคม 2559 ซึ่งได้รับความสนใจจากองค์กรต่างๆ ทั้งองค์กรขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่สมัครเข้าร่วมสัมมนามากกว่า 150 องค์กรในเวลาอันรวดเร็ว นับเป็นสัญญาณที่ดีที่บอกว่าผู้ประกอบการยุคใหม่มีการตื่นตัวเรื่องสุขภาพมากขึ้น โดยคาดหวังว่าผู้ที่เข้ารับการอบรมจะสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ให้เกิดการดำเนินงานภายในองค์กรจนบรรลุผลสู่การเป็นองค์กรลดพุงลดโรค
นางสาวนฑาห์ มหันตพล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซูเปอร์จิ๋ว จำกัด เปิดเผยว่า หลังจากที่ตัดสินใจเข้าร่วมเป็นบริษัทต้นแบบ องค์กรลดพุงลดโรค ก็ได้มีการดูแลสุขภาพพนักงานอย่างจริงจัง โดยการนำทฤษฎี 3 อ. เข้ามาใช้ โดย 1.อ.อารมณ์ ได้สร้างแรงจูงใจพนักงานว่าต้องการอยู่ในกลุ่มสุขภาพดีหรือเสี่ยงต่อการเป็นโรค จากนั้น ได้กระตุ้นพนักงานด้วย 2.อ.อาหาร มีการจัดอาหารที่ดีต่อสุขภาพ 3 มื้อทุกวันในช่วงแรก เพื่อเป็น