เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ คำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด – 19 ) ที่ 3 /2564เรื่อง พื้นที่สถานการณ์ที่กำหนดเป็นพื้นที่ควบคุม พื้นที่เฝ้าระวังสูง และพื้นที่เฝ้าระวัง ตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548
ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2563 และต่อมาได้ขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าวออกไป เป็นคราวที่ 4 จนถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 นั้น
เพื่อให้การบริหารจัดการและเตรียมความพร้อมในการป้องกันการระบาดระลอกใหม่ ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามแนวทางการจัดเขตพื้นที่สถานการณ์ตามข้อกําหนด ออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 4 (2) ของคําสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 4/2563 เรื่อง แต่งตั้งผู้กํากับการปฏิบัติงาน หัวหน้าผู้รับผิดชอบและพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไข สถานการณ์ฉุกเฉิน ลงวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2563 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
นายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อํานวยการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด – 19 โดยคําแนะนําของศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉิน ด้านการแพทย์และสาธารณสุข และศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด – 19 กระทรวงมหาดไทย จึงมีคําสั่ง ให้หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินและพนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการให้เป็นไป ตามมาตรการตามข้อกําหนดฯ สําหรับเขตพื้นที่สถานการณ์ที่กําหนดเป็นพื้นที่ควบคุม พื้นที่เฝ้าระวังสูง และพื้นที่เฝ้าระวัง ตามบัญชีรายชื่อจังหวัดแนบท้ายคําสั่งนี้
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป จนกว่าจะมีคําสั่งเปลี่ยนแปลง เป็นอย่างอื่น
สั่ง ณ วันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี
ผู้อํานวยการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด – 19
ประกอบด้วย
พื้นที่ควบคุม
1. กรุงเทพมหานคร 2. จังหวัดตาก 3. จังหวัดนครปฐม 4. จังหวัดนนทบุรี 5. จังหวัดปทุมธานี 6. จังหวัดราชบุรี 7. จังหวัดสมุทรปราการ 8. จังหวัดสมุทรสงครามรวมทั้งสิ้น 8 จังหวัด
พื้นที่เฝ้าระวังสูง