ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
คอลัมนิสต์ประจำอปท.นิวส์ ย้อนกลับ
ของมันต้องมี ต๊าช ปัง จึ้ง สภาพ
25 ม.ค. 2565

DigiC : โดย ธวัชชัย สุขสีดา (อ.ดร.ต้นรัก) วิทยากรการตลาดดิจิทัล

ของมันต้องมี ต๊าช ปัง จึ้ง สภาพ

วลีฮิตติดหู ติดใจคนไทยในโลกออนไลน์

ภาษาไทยเป็นอีกหนึ่งภาษาที่มีความลื่นไหลสูง คนไทยอาจจะเป็นหนึ่งในชาติที่มีความครีเอทีฟสูงก็ว่าได้ เพราะไม่ว่าจะเกิดเหตุการณ์อะไรก็มักจะสร้างแฮชแท็ก คำ หรือวลีใหม่ ๆ ในโลกออนไลน์ให้กับคนไทยได้ติดหู ติดใจ กับเรื่องในกระแสสังคมได้อย่างรวดเร็วอยู่เสมอๆ

บทความนี้ขออ้างอิงข้อมูลจากบริษัท ไวซ์ไซท์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้ทำการสำรวจเก็บข้อมูลผ่านเครื่องมือ ZOCIAL EYE ที่ถูกนำไปใช้กันอย่างโด่งดังสำหรับคนไทยโดยเริ่มจาก วลีที่ว่า

“ของมันต้องมี” #ของมันต้องมี ซึ่งหมายถึง อาการอยากได้ของสิ่งหนึ่งที่จริง ๆ ก็ไม่ได้จำเป็นกับชีวิต แต่จำเป็นต้องมีไว้เพื่อความชิก คำนี้เป็นวลีฮิตเมื่อหลายปีก่อนจาก คุณสู่ขวัญ บูลกุล ที่ชาวโซเชียลขาช็อปยังคงใช้กันมากในปัจจุบันนี้  จนไปสู่คำว่า “ต๊าช” ที่มีความหมายว่า ยอดเยี่ยม, ปัง, ดีย์! เวลาใช้คำว่า  ‘ต๊าซ’ ต้องเน้นเสียงและใส่อารมณ์เวลาพิมพ์หรือพูด

คนที่นำคำนี้มาใช้เป็นคนแรก คือ สไปรท์ บะบะบิ ยูทูบเบอร์สายฮาและเจ้าของเพจสไปรท์ไงที่ไหล่กว้าง ซึ่งน้อง สไปรท์ บะบะบิ นั้น “ปัง!” ปังสุดๆ เลิศ, อลังการ, งานดี! โดยที่ชาวโซเชียลใช้คำนี้กันมาสักพักใหญ่และมักใช้ร่วมกับคำอื่น อาทิ ปังมาก, ปังปุริเย่, ปังไม่ไหว, สุดปัง และก็ “จึ้ง” ด้วยนะ

ซึ่ง “จึ้ง” อีกหนึ่งคำที่มีความหมายว่า เลิศ, ดี ชาวโซเชียลมักใช้คำนี้ร่วมกับคำว่า มากแม่ เพิ่มความปังเข้าไปให้คู่สนทนาแบบ 10 10 10 ที่แหละจนนำไปสู่ “สภาพ” ซึ่ง “สภาพ” มีที่มาจากไลฟ์ของ พส. หรือพระมหาไพรวัลย์ วรวณฺโณ ที่หยิบยกมาใช้บ่อย ๆ  คือ “สภาพ”  ซึ่งเมื่อถามถึงความหมายจากพระมหาไพรวัลย์ ท่านก็ตอบกลับมาว่า “สภาพก็คือ สภาพไง ขายขำหรอ” นั่นเอง

นอกจากนี้ ยังมีคำอื่น ๆ ที่ชาวโซเชียลใช้อย่างแพร่หลาย อาทิ เกินต้าน, จกตา, กล้าที่จะ, เอาปากกามาวง, ปั๊ว, จึ้ง, อรุ่มเจ๊าะ, จะเทย โดยแต่ละคำได้รับความชื่นชอบจากคนไทยนำไปใช้กันทั่วบ้านทั่วเมืองจนเป็นปรากฏการณ์บนโลกออนไลน์เลยทีเดียววันนี้ผมเลยนำมาฝากครับ

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...