เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2565 ที่ที่ทำการ เครือข่ายวิถีเกษตรธรรมชาติ ม.5 ต.ช้างแรก อ.บางสะพานน้อย จ.ประจวบคีรีขันธ์ นายนวรัตน์ วงศ์ปิ่นเพชร นายอำเภอบางสะพานน้อย, นายธิรวัฒน สุดจันทร์ นายกฯ อบต.ช้างแรก, ผศ.พจนารถ บัวเขียว รอง อธิการบดี ม.ราชภัฏเพชรบุรี, นายนันทปรีชา คำทอง ประธานเครือข่ายเกษตรวิถีธรรมชาติประจวบคีรีขันธ์, นายสามารถ เอี่ยมวงศ์ ผจก.ธกส. ประจวบคีรีขันธ์, ศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร, มูลนิธิชัยพัฒนา และภาคส่วนต่างๆเปิดแปลงสาธิตต้นแบบการปลูกโกโก้ด้วยนวัตกรรมการเกษตรแบบครบวงจร
ผศ.พจนารถ บัวเขียว เปิดเผยว่า ตามนโยบายของสภามหาวิลัยราชภัฏเพชรบุรี ที่จะพัฒนาพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ให้เป็นศูนย์เรียนรู้ และถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการเกษตรให้กับพี่น้องประชาชน โดยเฉพาะการปลูกโกโก้ เพื่อเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชน โดยน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สู่การพัฒนาการพัฒนาชุมชนให้เป็นต้นแบบอย่างยั่งยืนต่อไป โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ได้ร่วมกับภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องได้ลงพื้นที่ดำเนินงานโครงการ ประกอบด้วย 2 โครงการและงานวิจัย 1 เรื่องได้แก่
1. โครงการการพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพการปลูกโกโก้ด้วยนวัตกรรม
การเกษตรแบบครบวงจร
2. การแปรรูปและสร้างมูลค่าเพิ่มจากโกโก้สู่การค้าเชิงพาณิชย์
3. การวิจัยเรื่องการพัฒนาต้นแบบเครื่องบีบสกัดน้ำมันจากเมล็ดโกโก้
ซึ่งในวันนี้มหาลัยราชภัฏเพชรบุรีได้ร่วมกับภาคีเครื่รือข่าย ได้จัดทำโครงการการเพิ่มประสิทธิภาพการปลูกโกโก้ด้วยนวัตกรรมการการเกษตรแบบวงจรในวันนี้ มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญ คือ เพื่อใช้เป็นศูนย์เรียนรู้แบบครบวงจรของการปลูกโกโก้ที่เกษตรกรและผู้สนใจสามารถเรียนรู้และนำไปประยุกต์ใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน โดยการนำนวัตกรรมและองค์ความรู้ใหม่มาประยุกต์ใช้กับภูมิปัญญาของชุมชน เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมและเกิดความยั่งยืน ซึ่งเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรผู้ปลูกโกโก้เป็นพืชแชมใน
แปลงการปลูกยางและมะพร้าวของตำบลช้างแรก ให้เป็นชุมชนที่เป็นต้นแบบ และมี
คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นต่อไป ผศ.พจนารถ กล่าว
ด้านนายธิรวัฒน สุดจันทร์ นายกฯ อบต.ช้างแรกเปิดเผยว่า กิจกรรมนี้เป็นการบูรณาการร่วมกันของทุกภาคส่วน ที่จะพยายามผลักดันให้เกษตรกรในพื้นที่ได้มีรายได้เสริม ซึ่งใช้โกโก้เข้ามาเป็นพืชที่ปลูกเสริมตามสวนมะพร้าว หรือสวนอื่นๆ ทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น ซึ่งมีหลายคนตั้งคำถามว่าปลูกแล้วจะเอาไปขายที่ไหน ซึ่งทาง ม.ราชภัฏเพชรบุรีได้เข้ามาช่วยเสริมให้เกิดการแปรรูปภายในท้องถิ่นเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆจากโกโก้ เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับโกโก้ที่เกษตรกรจะเพาะปลูกต่อไปโดยศูนย์การเรียนรู้เเห่งนี้ นอกจากจะเป็นแปลงสาธิตการปลูกโกโก้แบบครบวงจรแล้วยังจะเป็นแหล่งถ่ายทอดองค์ความรู้ในการแปรรูปให้เกษตรกรอีกทางหนึ่งด้วยต่อไป
ทีมข่าวประจวบคีรีขันธ์