ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
คุณภาพชีวิต ย้อนกลับ
บ้านสูงวัยนครพนมชู โคก หนอง นาปรัชญาพอเพียง
12 ต.ค. 2565

นางสาวชวนชม จันทะวงษ์ รองอธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวง พม. เปิดเผยว่า กรมกิจการผู้สูงอายุ โดยศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุจังหวัดนครพนม ได้ประชุมถอดบทเรียนการดำเนินงานน้อมนำศาสตร์พระราชา หลักปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต "โคก หนอง นา โมเดล บ้านผู้สูงอายุนครพนม"

นางสาวชวนชม จันทะวงษ์ รองอธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวง พม. ยังกล่าวว่า พม. โดยกรมกิจการผู้สูงอายุ ได้ดำเนินภารกิจเกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพ การจัดสวัสดิการ และการคุ้มครองพิทักษ์สิทธิผู้สูงอายุ และมีการเสนอนโยบายการพัฒนางานวิชาการด้านมาตรการ กลไก องค์ความรู้ และนวัตกรรมในการปฏิบัติงาน โดยมีศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ 12 แห่ง ดำเนินการในพื้นที่เป้าหมาย เพื่อให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ จังหวัดนครพนม เป็นหน่วยงานราชการที่น้อมนำศาสตร์พระราชา หลักปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง ในรูปแบบ "โคก หนอง นา โมเดล" โดยบูรณาการความร่วมมือ กับสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดนครพนม กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ซึ่งสนับสนุนทรัพยากรการดำเนินงาน องค์ความรู้ และงบประมาณในการปรับพื้นที่ ขุดสระ และคลองไส้ไก่ ในพื้นที่รวม 3 ไร่ เพื่อเป็นศูนย์กลางการทำกิจกรรมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตในหลากหลายมิติ โดยน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางในการเสริมสร้าง และพัฒนาศักยภาพของคน ให้เป็นคนที่มีศักยภาพ มีคุณภาพ มีคุณธรรม มีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง พึ่งตนเองได้ มีเหตุผล มีความพอประมาณ และรู้จักพอเพียง โดยใช้ชื่อว่า "โคก หนอง นา โมเดล บ้านผู้สูงอายุนครพนม" ได้ดำเนินกิจกรรมพัฒนาพื้นที่ พัฒนาคนอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการพัฒนาศักยภาพบุคลากรและผู้สูงอายุที่รับบริการในหน่วยงาน รวมไปถึงการส่งต่อประโยชน์ไปยังชุมชน โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ในการร่วมสนับสนุนกิจกรรม ร่วมดำเนินกิจกรรม และร่วมเป็นหุ้นส่วนการพัฒนา โดยน้อมนำศาสตร์พระราชา น้อมนำคำสอนของในหลวง รัชกาลที่ 9 มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาพื้นที่ พัฒนาคุณภาพชีวิตคน จนเกิดการเรียนรู้ และพัฒนาอย่างเป็นระบบผ่านกระบวนการจัดการองค์ความรู้ (KM) มากมาย โดยเริ่มต้นจาก การศึกษาข้อมูลอย่างเป็นระบบ การค้นคว้า ศึกษาข้อมูลจากเอกสาร สื่อสารสนเทศ การเข้าอบรมหลักสูตร "ทักษะระยะสั้นการพัฒนากสิกรรมสู่ระบบเศรษฐกิจพอเพียง รูปแบบโคกหนองนาโมเดล" การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสร้างเครือข่าย โดยเข้าร่วม กิจกรรม "เอามื้อสามัคคี" ของพื้นที่ โคก หนอง นา แปลงต่างๆ การเรียนรู้ ศึกษาดูงานจากปราชญ์ชาวบ้าน ครูพาทำ เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ อย่างถ่องแท้ นอกจากนี้ ได้การพัฒนาทีมงาน ระเบิดจากข้างใน สร้างความรู้ความเข้าใจ ให้กับบุคลากรและผู้สูงอายุ เพื่อให้ทุกคนเข้าใจ เห็นถึงประโยชน์ร่วมที่จะได้รับ เพื่อให้เกิดความร่วมมือ สร้างการมีส่วนร่วม โดยสร้างแรงบันดาลใจในการทำงานให้กับบุคลากร ให้เห็นถึงผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้น ภายใต้แนวคิด ขาดทุนคือกำไร ให้ทุกคนมีความเสียสละ แม้จะต้องเหน็ดเหนื่อย มีภาระความรับผิดชอบเพิ่มมากขึ้น ต้องทำงานที่มากกว่าภาระงานประจำ ที่เคยทำ สร้างวัฒนธรรมองค์กร ให้ยึดผลประโยชน์ส่วนรวม

“การให้” และ “การเสียสละ” บางคนอาจมองว่าเป็นการขาดทุน เสียประโยชน์ แต่ผลของการให้ ผลของการเสียสละในวันนี้ จะเป็นทุนที่จะต่อยอด เป็นกำไร เป็นความสำเร็จในอนาคต คือ ความอยู่ดีมีสุขของผู้สูงอายุ และการพัฒนาพื้นที่ของหน่วยงานให้เป็น "ศูนย์เรียนรู้การดูแลผู้สูงอายุภาคอีสานบ้านนครพนม"

ในระยะแยกการดำเนินงาน โคก หนอง นา โมเดล มีข้อจำกัด ทั้งความรู้ และประสบการณ์ ต้องอาศัยความอดทน และความมุ่งมั่น ความเพียร ดั่งเช่น พระราชนิพนธ์ “พระมหาชนก” กษัตริย์ผู้เพียรพยายาม แม้จะไม่เห็นฝั่งก็จะว่ายน้ำต่อไป เพราะถ้าไม่เพียรว่าย ก็จะตกเป็นอาหารปู ปลา และไม่ได้พบ กับเทวดาที่ช่วยเหลือมิให้จมน้ำ ซึ่งทำให้เกิดการ รู้ รัก สามัคคี ต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจกัน ทำงานอย่างมีความสุข สุขในการร่วมสร้างคุณค่า ทั้งต่อตนเอง ต่อผู้อื่น และต่อสังคม รวมทั้งปลูกป่าในใจคน สร้างความตระหนักร่วมกัน ในการพัฒนาพื้นที่เพื่อสร้าง แหล่งอาหาร ตามแนวคิด "สร้างความมั่นคงทางอาหารเพื่อความมั่นคง ในชีวิต" เมื่อทุกคนตระหนักรู้แล้ว ก็จะช่วยกันปลูกและดูแลต้นไม้ ดูแลสัตว์เลี้ยง อันส่งผลให้กิจการโคก หนอง นา โมเดล เกิดความยั่งยืน ใช้ธรรมชาติช่วยธรรมชาติ โดยการใช้หลักกสิกรรมธรรมชาติ เกษตรอินทรีย์ ปลอดภัยปลอดสาร และการเกื้อกูลกันของระบบนิเวศน์ในพื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า มีประสิทธิภาพ การไม่ยึดติดตำราในการทำงาน ทุกอย่างปรับไปตามภูมิสังคม ยืดหยุ่นได้ตลอดเวลา ด้วยความสามัคคี มีความเมตตาต่อกันด้วยหัวใจ ค้นหาทุนของคน ทุนของบุคลากร ค้นหาทักษะ ความรู้ความสามารถ ความเชี่ยวชาญ ของบุคลากร เพื่อนำมาต่อยอดพัฒนาศักยภาพและสร้างคุณค่า สร้างประโยชน์ ให้กับส่วนรวม นอกจากนี้ยังได้นำแนวคิด "ฝากความดีไว้เป็นทุน ฝากทุนไว้กับดิน" ในรูปแบบกิจกรรมฝากทุนไว้กับดิน (Sharing Bank) เป็นกิจกรรมที่นำเอาหลัก การบริหารแบบคนจนมาประยุกต์ สร้างการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน บนพื้นฐานของความเมตตา กรุณาต่อกัน โดยบ้านผู้สูงอายุนครพนมจะไม่ขอรับบริจาค แต่จะเป็นการชวนเพื่อนภาคีเครือข่าย มาร่วมเป็นเจ้าของ มาร่วมกันทำกิจกรรม โดยการแบ่งปันแลกเปลี่ยนเมล็ดพันธุ์ ต้นกล้า พันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ มาร่วมสร้างคุณค่าร่วมกันในพื้นที่ โคก หนอง นา โมเดล โดยมีผู้สูงอายุ และเจ้าหน้าที่ รับผิดชอบดูแล ในรูปแบบ กิจกรรมฝากฝังให้ถึงฝั่ง ซึ่งเป็น กิจกรรมธรรมชาติบำบัด ให้ผู้สูงอายุได้ดูแลรักษาแปลงผัก และเลี้ยงสัตว์ ช่วยสร้างความสุข สุขกายสุขใจ สุขภาพแข็งแรง และสุขในการสร้างคุณค่าต่อตนเอง ต่อผู้อื่น และต่อสังคม ผลผลิตที่ได้จะบริหารจัดการผ่าน กิจกรรมปันผล ปันสุข (สุก) โดยการมอบผลผลิตบางส่วนให้กับเจ้าของทุนที่มาร่วมสนับสนุนและร่วมดำเนินการ และอีกส่วนหนึ่งจะนำเข้า โครงการสุกแลกสุข (The Happiness Exchange) โดยการนำผลผลิตไปแลกเป็นสิ่งของที่จำเป็นสำหรับผู้สูงอายุ อันเป็นการสร้างคุณค่า ทั้งผู้ให้และการมีศักดิ์ศรีของผู้รับ "ให้อย่างมีคุณค่าและรับอย่างมีศักดิ์ศรี" บนพื้นฐานของความกรุณาต่อกัน เช่น การนำลิ้นจี่ไปแลกเปลี่ยนเป็นผ้าอ้อมผู้ใหญ่ สำเร็จรูป เพื่อสนับสนุนการดูแลผู้สูงอายุ ที่ป่วยเป็นมะเร็งกล่องเสียงระยะสุดท้าย ใน โครงการสร้างสุขจนสุดปลายทาง ของบ้านผู้สูงอายุนครพนม

นอกจากนี้ ยังนำผลผลิตบางส่วนส่งมอบเป็นของขวัญ ของที่ระลึกให้กับชุมชน ภาคีเครือข่าย แขกผู้มีจิตศรัทธา และผู้ประสบปัญหาในชุมชน เช่น การเกิดเหตุการณ์ แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา -19 ทำให้ต้องมีการปิดหมู่บ้านในบาง อำเภอ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาด บ้านผู้สูงอายุนครพนมได้มีโอกาสนำ ผัก ผลไม้ ซึ่งเป็นผลผลิตจากโคก หนอง นา โมเดลบ้านผู้สูงอายุนครพนม ไปแบ่งปันให้ กับชาวบ้านที่ประสบปัญหาความ

เดือดร้อนและถูกกักตัว ซึ่งผักผลไม้ทั้งหมด ล้วนปลอดสารพิษและเป็นการปลูกดูแล โดยใช้หลักกสิกรรมธรรมชาติเกื้อกูล ซึ่งกันและกัน ต่อยอดเป็น กิจกรรม "ของขวัญจากแผ่นดิน ปันสุขสู่ชุมชน"

โคก หนอง นา โมเดล คือ ศาสตร์ ในความอุดมสมบูรณ์ด้านเกษตรกรรม และเป็น ศิลปะ แบบฝึกหัดที่ดีในการรวบรวมความหลากหลาย ตามภูมิสังคมของพื้นที่นั้น ๆ และ การเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ในการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตเป็นการแลกเปลี่ยนด้วยคุณค่า จากการเพิ่มมูลค่า และการถ่ายทอดเรื่องราวดี ๆ ต่อกัน พร้อมส่งต่อ ถ่ายทอดองค์ความรู้รุ่นสู่รุ่น โดย เดินตามรอยเท้าพ่อ สานต่อความยั่งยืน เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับผู้สูงอายุต่อไป

 

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...