ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
สังคม / บุคคล ย้อนกลับ
มองช้างคาเฟ่ และหมู่บ้านช้างพัทยา จัดฉลองวันพญาวัน ทำพิธีเซ่นปะกำตามประเพณีที่ปฏิบัติต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี เพื่อความเป็นสิริมงคล
15 เม.ย. 2567

      (15 เม.ย.67) ณ หมู่บ้านช้างพัทยา ตั้งอยู่เลขที่ 48/120 ม.7 ต.หนองปรือ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี นายไพรัตน์ ไชยะคำ  ผู้บริหารหมู่บ้านช้างพัทยา พร้อมด้วย นางนิตยา ไชยะคำ และคุณปุริมปรัชญ์ ไชยะคำ นำพนักงาน ทำพิธีเซ่นปะกำในวันพญาวัน ประจำปี 2567 เพื่อความเป็นสิริมงคล โดยได้รับเกียรติจากนายวินัย อินทร์พิทักษ์ นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองหนองปรือ เข้าร่วม ก่อนเริ่มพิธีเซ่นประกำ คณะผู้บริหารและพนักงานหมู่บ้างช้างพัทยา ร่วมพิธีบูชาพระพิฆเนศ บนเทวาลัย

 
      จากนั้นในเวลาต่อมา ทำพิธีบูชาครูปะกำ ณ ศาลปะกำช้าง โดยจัดเตรียมเครื่องเซ่นไหว้ ประกอบไปด้วยอาหารคาวหวาน อาทิ  หัวหมู ไก่ต้ม ขนม น้ำหวาน สุรา ผลไม้ และที่สำคัญเชือกปะกำที่ใช้สำหรับคล้องช้างซึ่งอยู่ภายในศาลปะกำช้าง ในพิธียังจัดให้มีการแสดงรำถวายเป็นจำนวน 3 ชุด ประกอบด้วย พระอินทร์ เอราวัณ (มัฆวาน ทรงยาน), มโนห์รา บูชายัญ, และการแสดงควาญคชกุฎ (คด-ชะ-กุด)  


 
      พิธีไหว้ศาลปะกำ เป็นพิธีกรรมของชาวกวยเลี้ยงช้าง ปะกำนี้เป็นคำที่ชาวกวยเลี้ยงช้างใช้เรียกเชือก หรือบ่วงบาศสำหรับใช้ในการคล้องช้าง ซึ่งบางครั้งก็เรียกว่าหนังปะกำบ้าง แต่ทั้งนี้เชือกหรือบ่วงบาศดังกล่าวจะต้องเป็นเชือกที่ได้ผ่านการทำพิธีเพื่ออัญเชิญวิญญาณของผีบรรพบุรุษ ที่เคยเป็น หมอช้างและพระครูผู้ที่เป็นหมอช้าง ชาวกวยเลี้ยงช้างทุกคนนับถือว่าเป็นบรมครูช้างของตนเข้าไปสิงอยู่ในเชือกนั้นแล้วเท่านั้น ฉะนั้นพ่อหมอช้างและครอบครัวจะต้องเคารพ และเก็บรักษาไว้อย่างดี 

        ทั้งนี้เพราะพวกเขาถือว่าหนังปะกำ มีผีประจำปะกำ หรือครูประจำปะกำ ที่สามารถจะบันดาลให้โชคดีหรือโชคร้ายในการคล้องช้างได้ ดังนั้นสิ่งที่จะต้องระมัดระวังเป็นพิเศษก็คือห้ามเหยียบ ห้ามผู้หญิงหรือผู้ที่ไม่ใช่สายโลหิตแตะต้องปะกำ นอกจากนั้นยังถือเอาวันที่ร้อนที่สุดของประเทศไทย คือวันที่ 15 เมษายน ของทุกปี เป็นวันหยุดพักผ่อนของช้าง และผู้ที่เกี่ยวข้องกับช้าง ที่ใช้ช้างทำงานตลอดทั้งปี


อธิบดี บุญชารี รายงาน

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...