ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
คุณภาพชีวิต ย้อนกลับ
สค. ระดมความคิดจัดทำยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการของกองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ
19 เม.ย. 2561

          ในวันที่ 19 เมษายน 2561 เวลา 09.00 น. นายเลิศปัญญา บูรณบัณฑิต อธิบดีกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ร่วมรับฟังและให้ข้อคิดเห็นในการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการของกองทุนส่งเสริมความเท่าเที่ยมระหว่างเพศ ระยะ 3 ปี 2562-2564 โดยมี กรรมการบริหารกองทุนฯ ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้แทน วลพ. ผู้แทนอนุกรรมการในคณะกรรมการส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ (สทพ.) ทั้ง 5 คณะ ได้แก่ 1) คณะอนุกรรมการด้านนโยบาย มาตรการ และแผนปฏิบัติการ 2) คณะอนุกรรมการด้านกฎหมาย 3) คณะอนุกรรมการด้านการช่วยเหลือ ชดเชยและเยียวยา หรือบรรเทาทุกข์ 4) คณะอนุกรรมการด้านการส่งเสริมการศึกษา การวิจัย และ 5) คณะอนุกรรมการด้านการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์เข้าร่วมประชุม ในการนี้ ได้รับเกียรติจาก ศ.ดร.อัญชลี มีมุข และ รศ.ดร.อรปภา ชุติกรทวีสิน เป็นวิทยากรดำเนินการประชุมระดมความคิด ซึ่งการประชุมดังกล่าวจัดขึ้นระหว่างวันที่ 18-20 เมษายน 2561 ณ บ้านทะเลสีครีม อ.เมือง จ.สมุทรสงคราม

          นายเลิศปัญญา กล่าวว่า กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) โดย กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว (สค.) ได้ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศมาอย่างต่อเนื่อง โดยยึดหลักสิทธิมนุษยชน เพื่อให้ทุกเพศได้มีโอกาสที่จะได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกัน และได้รับการคุ้มครองจากการถูกเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเพศ และได้ผลักดันให้มีพระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. 2558 ขึ้น เพื่อเป็นมาตรการคุ้มครองและป้องกันเกี่ยวกับการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ ไม่ว่าจะเป็นชาย หญิง หรือผู้แสดงออกที่แตกต่างจากเพศโดยกำเนิด โดยมีบทบัญญัติที่เป็นข้อห้ามทุกภาคส่วน ทั้งหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ ภาคเอกชน หรือบุคคลใด มิให้กระทำการในลักษณะที่มีการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศเอาไว้ใน พ.ร.บ. ดังกล่าว ตลอดจนเร่งขับเคลื่อนกองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ ซึ่งจัดตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ.ความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. 2558 เพื่อเป็นทุนใช้จ่ายเกี่ยวกับการส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ โดยในปี 2560 รัฐบาลจัดสรรงบประมาณประจำปี จำนวน 10 ล้านบาท และ ปี 2561 รัฐบาลจัดสรรงบประมาณประจำปี จำนวน 5 ล้านบาท 
           นายเลิศปัญญา กล่าวต่ออีกว่า สค. ได้แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ จำนวน 10 คน โดย อธิบดีกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว เป็นประธาน  รองอธิบดี เป็นเลขานุการ ผู้ทรงคุณวุฒิ 4 คน ผู้แทนสำนักงบประมาณ ผู้แทนกรมบัญชีกลาง  ผอ.กองส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ และ ผอ.กลุ่มบริหารกองทุนฯ เป็นผู้ช่วยเลขานุการ การขับเคลื่อนงานโดยการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการ สทพ.และอนุกรรมการใน สทพ. ผู้ทรงคุณวุฒิ และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง เช่น สมาคมฟ้าสีรุ้ง เป็นต้น และในวันนี้ สค. ก็ได้จัดประชุมและแผนปฏิบัติการของกองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ ระยะ 3 ปี พ.ศ. 2562 – 2564 ระดมความคิดเพื่อจัดทำยุทธศาสตร์สำหรับใช้เป็นแนวทางในการขับเคลื่อนและการบริหารจัดการกองทุนฯ ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
          ด้าน รศ.ดร.อรปภา กล่าวว่า การจัดทำยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการของกองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ ระยะ 3 ปี พ.ศ. 2562 – 2564 ในครั้งนี้ ต้องเริ่มจากการระดมความคิดในการวิเคราะห์ SWOT ของกรม วิเคราะห์ปรากฏการณ์ และประเด็นปัญหาความไม่เท่าเทียมระหว่างเพศ เพื่อกำหนดทิศทาง (วิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าประสงค์) ของกองทุนฯ โดยมุ่งเน้น 4R ได้แก่ 1) IR (Invester Relationship) ซึ่งเป็นการระดมทุน กลุ่มทุนทั้งหลายที่จะมาสนับสนุนกองทุน โดยต้องมีส่วนได้เสียจากส่วนของกองทุนฯ ด้วย  2) HR (Human Resource) ซึ่งก็คือบุคลากรที่ดำเนินงานที่ต้องมีส่วนได้เสียในเรื่องกองทุนฯ นี้ด้วย 3) PR (Public Relations) ก็คือการประชาสัมพันธ์การทำงานต่างๆ ที่สามารถเข้าถึงและเกิดความเข้าใจในเรื่องของกองทุนฯ และ R สุดท้าย 4) CSR (Corporate Social Responsibility) ซึ่งโครงการต่างๆของกองทุนฯ นี้ จะเป็นงานที่มีลักษณะของจิตอาสา การทำเพื่อประโยชน์ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ควรคำนึงถึง
          “การทำแผนปฏิบัติการ ที่ได้มากที่สุดในวันนี้ คือ ได้หลอมรวมผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมด ทั้งคณะกรรมการให้เกิดความรู้ความเข้าใจองค์กรไปในทิศทางเดียวกัน มี Road Map เป็นยุทธศาสตร์ให้องค์กรได้เดินไปอย่างถูกทิศทางและมีความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนต่อไป” รศ.ดร.อรปภา กล่าวในตอนท้าย

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...