ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
เกษตรนำไทย ย้อนกลับ
ไทยนิยมยั่งยืน : ลงทะเบียนสวัสดิการแห่งรัฐเฟส 2 ปั้นอาชีพ/มุ่งลดความเหลื่อมล้ำ
06 ก.ย. 2561

หลังการประกาศโครงการไทยนิยมอยั่งยืนในหลายพื้นที่ หน่วยงานที่รับผิดชอบต่างก็ได้ขับเคลื่อนให้เป็นไปตามเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง โดยทีมขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทยตามโครงการ “ไทยนิยม ยั่งยืน” ระดับตำบล ได้ลงพื้นที่ 4 ครั้ง รวมชุมชนและหมู่บ้านทั้งสิ้น 82,271 แห่ง มีประชาชนเข้าร่วม 8.08 ล้านคน พร้อมตรวจสอบความคืบหน้าทั้งการสร้างเสริมทักษะให้กับชุมชน การพัฒนาการท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี รวมไปถึงโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและอื่นๆ อีกมากมาย อย่างไรก็ตาม ยังมีผู้ที่ประสบปัญหาด้านคุณภาพชีวิตอยู่ เนื่องจากยังมีผู้ที่ตกการสำรวจหรือการลงทะเบียนผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐจากเฟสแรกอยู่มาก

                กระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทยเปิดขึ้นทะเบียนรับสมัครผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐระยะที่ 2 ภายใต้โครงการ”ไทยนิยม ยั่งยืน” เพิ่มเติมภายหลังพบว่า มีประชาชนบางส่วนตกสำรวจในรอบแรก โดยเบื้องต้นมีผู้สมัครแล้วกว่า 4 ล้านราย ซึ่งอยู่ระหว่างตรวจสอบคุณสมบัติ ซึ่งกระทรวงพาณิชย์จะเสนอคระรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาอนุมัติงบประมาณเพิ่มเติม ทั้งนี้ปัจจุบันผู้มีรายได้น้อยขึ้นทะเบียนอยู่เดิม 11.43 ล้านราย และหากนับรวมกับผู้สมัครระยะที่ 2 จะทำให้ผู้มีรายได้ที่ถือบัตรจำนวนทั้งสิ้นประมาณ 15 ล้านราย โดยผลการดำเนินงานในโครงการบัตรสวัสดิการที่ดำเนินการมองว่าอเป็นไปตามเป้าหมายและเป็นการพัฒนาร้านโชว์ห่วยให้มีความเข้มแข็งอทั้งนี้อเมื่อดำเนินการครบ 1 ปี จะมีการพิจารณาผลการดำเนินงานของโครงการ

                ด้วยเหตุนี้ ปัจจุบันทางรัฐบาลจึงเร่งแก้ไขและให้ความช่วยเหลือผู้ตกหล่นจากกระลงทะเบียนครั้งที่แล้ว ด้วยการเปิดลงทะเบียนรับสมัครผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐระยะที่ 2 ภายใต้โครงการ“ไทยนิยม ยั่งยืน” โดยมีผู้นำชมชนหรือฝ่ายปกครองท้องถิ่นเข้ามารวบรวมข้อมูลจากคนในพื้นที่ โดยเจาะไปที่กลุ่มผู้พิการหรือผู้ที่เคลื่อนย้ายไม่ได้ ซึ่งหลายจังหวัดได้มีการดำเนินการด้วยทันที

                จังหวัดภูเก็ต คือหนึ่งในจังหวัดที่ได้มีความคืบหน้าในการลงทะเบียนสวัสดิการแห่งรัฐได้ชัดเจนที่สุด โดยจากการรายงานผลความคืบหน้าโครงการ”ไทยนิยม ยั่งยืน”ของจังหวัดภูเก็ต จำนวน มี 17 ตำบล 144 หมู่บ้าน มีประชาชนเข้าร่วมเวทีประชาคม 47,025 คน ต้องการให้ภาครัฐเร่งดำเนินการพัฒนาคุณภาพชีวิต แยกเป็นประเด็นปัญหา 1,379 ปัญหา ทั้งนี้ ยังได้ดำเนินการตามมาตรการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จังหวัดภูเก็ตมีผู้มีสิทธิ์ 16,010 ราย มีผู้เข้าร่วมรับการสัมภาษณ์ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 3,581 ราย แบ่ง 2 กลุ่มด้วยกัน ได้แก่

กลุ่มที่ 1 เข้ารับการพัฒนาภาคสมัครใจ 1,616 ราย กลุ่มที่ 2 เข้ารับการพัฒนาในภาคบังคับ 1,965 ราย นอกจากนี้ยังได้เปิดรับลงทะเบียนบัตรสวัสดิการเพิ่มเติมในกลุ่มผู้พิการ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง หรือผู้ที่ไม่สามารถเดินทางมาลงทะเบียนได้ เมื่อปี 2560 มียอดผู้มาลงทะเบียนเพิ่ม 2,666 ราย

                สำหรับการสร้างเสริมอาชีพให้กับคนในชุมชน ถือเป็นสิ่งที่ทุกหน่วยงานต่างก็ต้องการให้ความช่วยเหลือในการจัดอบรมและเพิ่มพูนทักษะ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อคนในพื้นที่ และยังเป็นการลดความเหลื่อมล้ำให้กับประชาชน โดยเรื่องนี้ทางพล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในฐานะกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการอำนวยการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศตามโครงการ”ไทยนิยม ยั่งยืน” ได้รายงานผลความก้าวหน้าการดำเนินงานขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศตามโครงการ”ไทยนิยม ยั่งยืน” ถึงการสร้างอาชีพให้กับผู้คนในชุมชนว่า ได้มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิผลเป็นอย่างมาก

                โดยผลของโครงการประเภทสร้างอาชีพ สร้างรายได้โดยตรงมีอยู่ 12,271 โครงการ คิดเป็นร้อยละ 17.06 โดย 3 ลำดับแรก ได้แก่ ลานตากผลผลิตทางการเกษตร 3,622 โครงการ การปรับปรุงภูมิทัศน์แหล่งท่องเที่ยว 649 โครงการ และโรงสี 583 โครงการ ส่วนสร้างรายได้โดยอ้อมมีอีกถึง 9,999 โครงการ คิดเป็นร้อยละ 13.90 โดย 3 ลำดับแรก ได้แก่ ถนนเพื่อการเกษตร 2,541 โครงการ ขุดลอกสระ ห้วย หนอง คลอง บึง 2,164 โครงการ และลานอเนกประสงค์/สาธารณประโยชน์ 2,045 โครงการ ซึ่งความสำเร็จจากการรวบรวมข้อมูลและกระจายความช่วยเหลือให้ถึงมือประชาชนมาจากหน่วยงานในท้องถิ่นที่ให้ความร่วมมือและมุ่งมั่นในการสานโครงการ”ไทยนิยม ยั่งยืน”อย่างแข็งขัน

                จังหวัดตรัง ถือเป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่ได้ขับเคลื่อนโครงการสร้างทักษะและส่งเสริมอาชีพด้านการเกษตร ภายใต้โครงการ”ไทยนิยม ยั่งยืน”อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งเรื่องนี้นายสมชาย บริพันธุ์ เกษตรจังหวัดตรัง เปิดเผยว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้จัดทำโครงการสร้างทักษะและส่งเสริมอาชีพด้านการเกษตร ซึ่งเป็นโครงการที่อยู่ภายใต้โครงการ”ไทยนิยม ยั่งยืน”โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้เกษตรกรสามารถปรับตัวอยู่ร่วมกับบริบทสังคม เศรษฐกิจ ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปในอนาคต และยังเป็นการลดความเหลื่อมล้ำอย่างเป็นรูปธรรม อีกทั้งเป็นการวางรากฐานการพัฒนาการเกษตรในระยะยาว ตลอดจนเพื่อให้เกิดแนวทางการพัฒนาในรูปแบบของโครงการ ที่เกิดจากความร่วมมือของชุมชนอย่างแท้จริง และก่อให้เกิดความยั่งยืนในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม

สำหรับในการดำเนินงานของจังหวัดตรัง ได้รับการอนุมัติงบประมาณและเป้าหมายในการดำเนินการ จำนวน 109 ชุมชน อบรมเกษตรกร 21,800 ราย ตลอดจนให้กลุ่มย่อยภายในชุมชน จัดทำโครงการ กิจกรรมเพื่อเสริมหนุนอาชีพหลัก ชุมชนละ 300,000 บาท รวมงบประมาณทั้งสิ้น 62,873,400 บาท โดยวันที่ 10 สิงหาคม 2561 ที่ผ่านมา ทางจังหวัดได้จัดงานเปิดโครงการสร้างทักษะและส่งเสริมอาชีพด้านการเกษตร ภายใต้โครงการ”ไทยนิยม ยั่งยืน” และเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้สำหรับเจ้าหน้าที่และคณะกรรมการชุมชน ที่จะเป็นพี่เลี้ยงให้แก่กลุ่มย่อยในชุมชน สามารถดำเนินโครงการได้ตามวัตถุประสงค์ของโครงการ และมีการจัดทำบันทึกข้อตกลงในการขอรับการสนับสนุนงบประมาณให้แก่คณะกรรมการฯ ระดับชุมชน เพื่อคณะกรรมการฯ ระดับชุมชน จะได้ดำเนินการทำสัญญายืมเงินกับกลุ่มย่อยในชุมชน และโอนเงินงบประมาณให้แก่กลุ่มย่อยในชุมชน เพื่อจะดำเนินการตามแผนปฏิบัติงาน และแผนการใช้จ่ายงบประมาณ ต่อไป

เช่นเดียวกับสำนักงานเกษตรจังหวัดปัตตานีที่ได้บันทึกข้อตกลง MOU การสนับสนุนเงินอุดหนุนทั่วไปจากสำนักงานเกษตรจังหวัดปัตตานี ระหว่างเกษตรจังหวัดปัตตานีกับผู้แทนคณะกรรมการพัฒนาด้านการเกษตรระดับชุมชน โครงการสร้างทักษะและส่งเสริมอาชีพด้านการเกษตร กิจกรรมพัฒนาการเกษตรเพื่อความยั่งยืน ภายใต้โครงการ”ไทยนิยม ยั่งยืน” โดยมีเจ้าหน้าที่เกษตรอำเภอ และผู้แทนเกษตรกรจากทุกอำเภอเข้าร่วมกิจกรรมกว่า 120 คน

โดยการทำบันทึกข้อตกลง MOU ครั้งนี้ สืบเนื่องจากการที่ สำนักงานเกษตรจังหวัดปัตตานี ได้จัดทำเวทีชุมชน มีเกษตรกรเข้าร่วมกิจกรรม 72,640 ราย จัดฝึกอบรมเกษตรกร ชุมชนละ 4 รุ่น ๆ ละ 3 วัน ซึ่งมีเกษตรกรผ่านการฝึกอบรม จำนวน 28,800 ราย และต่อเนื่องด้วยกิจกรรมการพัฒนากลุ่มเกษตรกร จำนวน 114 ชุมชนเรียบร้อยแล้ว ดังนั้น กรมส่งเสริมการเกษตร จึงได้สนับสนุนเงินอุดหนุนทั่วไปให้ชุมชนในจังหวัดปัตตานี ทั้ง 114 ชุมชน ชุมชนละ 300,000 บาท เป็นเงินทั้งสิ้น 43.2 ล้านบาท เพื่อให้กลุ่มเกษตรกรนำไปดำเนินโครงการต่างๆ ในชุมชนให้มีการบริหารจัดการกลุ่มที่ดี ให้เกษตรกรในชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น

ภายหลังพิธีลงนามความร่วมมือ เกษตรจังหวัดปัตตานี ได้ฝากให้คณะกรรมการพัฒนาด้านการเกษตรระดับชุมชน เกษตรอำเภอ รวมถึงเจ้าหน้าที่ทุกอำเภอ ได้กำกับดูแลการดำเนินโครงการของชุมชนให้มีการบริหารจัดการที่ดี โดยเน้นย้ำให้เกิดกองทุนหมุนเวียนในกลุ่มย่อย ซึ่งหลังจากนี้จะมีการโอนเงินให้ทุกชุมชนนำไปดำเนินการต่อไป ซึ่งคาดว่าเกษตรกรทุกชุมชนที่เข้าร่วมโครงการฯ จะมีความเข้มแข็ง พึ่งพาตนเองได้ในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน อีกทั้ง สร้างความเข้มแข็งในระดับฐานรากของระบบเกษตรกรรมของประเทศ สร้างความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ตลอดไป

ผลความคืบหน้าทั้งการลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เฟส 2 หรือการสร้างเสริมอาชีพให้กับคนในชุมชนอย่างต่อเนื่อง สะท้อนให้เห็นว่าโครงการ”ไทยนิยม ยั่งยืน” ไม่ได้ถูกจัดทำขึ้นเพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง แต่มีเป้าหมายในการลดภาระค่าครองชีพและการสร้างเสริมอาชีพ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...