นางสาวเสริมสุข สลักเพ็ชร์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า เพื่อรองรับการขยายตัวของ ภาคอุตสาหกรรมมะพร้าวของประเทศและลดการนำเข้ามะพร้าวผลและผลิตภัณฑ์มะพร้าวจากต่างประเทศ กรมวิชาการเกษตรได้มอบหมายให้สถาบันวิจัยพืชสวนศึกษาวิจัยและพัฒนาปรับปรุงสายพันธุ์มะพร้าวเพื่อให้ได้มะพร้าวสายพันธุ์ดีให้มีผลผลิตเพิ่มมากขึ้นจนเป็นผลสำเร็จ มีชื่อว่ามะพร้าวลูกผสมสามทางพันธุ์ชุมพร 1 และ ลูกผสมสามทางพันธุ์ชุมพร 2 สำหรับมะพร้าวลูกผสมสามทางพันธุ์ชุมพร 1ได้จากการผสมข้ามระหว่างลูกผสมเดี่ยวพันธุ์เรนเนลล์ต้นสูง x เวสท์อัฟริกันต้นสูง (แม่พันธุ์) กับพันธุ์ไทย ต้นสูง (พ่อพันธุ์)
โดยแม่พันธุ์เรนเนลล์ต้นสูง x เวสท์อัฟริกันต้นสูง ได้จากการนำเข้าจากประเทศไอเวอรี่โคสท์ และ พ่อพันธุ์ไทยต้นสูง จากการคัดเลือกต้นในแปลงรวบรวมเชื้อพันธุกรรมด้วยวิธีการควบคุมการผสมพันธุ์แบบใกล้ชิด เมื่อปี พ.ศ. 2517 และทำการปลูกลูกผสมเดี่ยวพันธุ์เรนเนลล์ต้นสูง x เวสท์อัฟริกันต้นสูง เมื่อปี พ.ศ. 2518 ดูแล รักษาแปลงแม่พันธุ์ลูกผสมเดี่ยว ระหว่างปี พ.ศ. 2519-2531 และผสมพันธุ์เพื่อสร้างลูกผสม ปี พ.ศ. 2532-2533 ปลูกทดสอบลูกผสม ร่วมกับลูกผสมสายพันธุ์อื่นๆ จนได้สายพันธุ์ดีนาเสนอรับรองพันธุ์กรมวิชาการเกษตรเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2562
ส่วนมะพร้าวลูกผสมสามทางพันธุ์ชุมพร 2ได้จากการผสมข้ามระหว่างลูกผสมเดี่ยวพันธุ์มลายูสีเหลืองต้นเตี้ย x เวสท์อัฟริกันต้นสูง (แม่พันธุ์) กับพันธุ์ ไทยต้นสูง (พ่อพันธุ์) โดยแม่พันธุ์มลายูสีเหลืองต้นเตี้ย X พันธุ์เวสท์อัฟริกันต้นสูง ได้จากการคัดเลือกต้นแม่พันธุ์ใน แปลงรวบรวมเชื้อพันธุกรรมภายในศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพรกับพันธุ์ไทยต้นสูง (พ่อพันธุ์) จากการคัดเลือกต้นในแปลง รวบรวมเชื้อพันธุกรรมด้วยวิธีการควบคุมการผสมพันธุ์แบบใกล้ชิดเมื่อปี 2517 และทาการปลูกลูกผสมเดี่ยวพันธุ์ มลายูสีเหลืองต้นเตี้ย X เวสท์อัฟริกันต้นสูง เมื่อปี2518 ดูแลรักษาแปลงแม่พันธุ์ลูกผสมเดี่ยวระหว่างปี 2519-2531 และผสมพันธุ์เพื่อสร้างลูกผสม เมื่อปี 2532-2533 ปลูกทดสอบลูกผสมร่วมกับลูกผสมสายพันธุ์อื่นๆจนปรับปรุงพันธุ์จนได้สายพันธุ์ดี และผ่านการรับรองตามขั้นตอนการรับรองพันธุ์พืช ประเภทพันธุ์รับรอง จากกรมวิชาการเกษตรเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2562
อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวต่อว่า ความสำเร็จในการวิจัยมะพร้าวลูกผสมสามทางพันธุ์ชุมพร 1 และ ลูกผสมสามทางพันธุ์ชุมพร 2 ของกรมวิชาการเกษตรในครั้งนี้ นับเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ในการเพิ่มผลผลิตมะพร้าวของกรมวิชาการเกษตร ที่จะช่วยยกระดับอุตสาหกรรมมะพร้าวไทยให้สามารถแข่งขันในตลาดการค้าเสรีในอนาคตซึ่งมีแนวโน้มการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งสายพันธุ์ใหม่ที่ค้นพบมีความเหมาะสมกับพื้นที่ปลูกของ ประเทศไทยให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นประมาณ 1.5 – 2 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับพันธุ์ไทยต้นสูงสามารถเป็นทางเลือกให้กับเกษตรกร
ทั้งนี้ หลายสิบปีที่ผ่านมาประเทศไทยต้องนำเข้ามะพร้าวจากต่างประเทศเพื่อทดแทนสาหรับใช้เป็นวัตถุดิบในการแปรรูปผลิตภัณฑ์ต่างๆโดยส่วนใหญ่ ร้อยละ 99.65 นำเข้าจากอินโดนีเซียซึ่งราคาถูกกว่าไทยและส่วนหนึ่งนำเข้าเพื่อผลิตเป็นกะทิกระป๋องส่งออกไปสหรัฐ อังกฤษ ออสเตรเลีย ฯลฯ นอกนั้นส่งออกเป็นมะพร้าวฝอยไปตุรกี ส่งออกเป็นน้ำมะพร้าวไปประเทศเมียนมา ฮ่องกง เป็นต้น