ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
คอลัมนิสต์ประจำอปท.นิวส์ ย้อนกลับ
ปรับตัวสู้วิกฤตด้วย e-Commerce ชุมชนอัจฉริยะออนไลน์
04 ส.ค. 2565

DigiC : โดย ธวัชชัย สุขสีดา (อ.ดร.ต้นรัก) วิทยากรการตลาดดิจิทัล

ปรับตัวสู้วิกฤตด้วย e-Commerce ชุมชนอัจฉริยะออนไลน์

สวัสดีครับ ในบทความประจำต้นเดือน สิงหาคม 2565 นี้ ผม อ.ดร.ต้นรัก ธวัชชัย สุขสีดา รู้สึกภาคภูมิใจในฐานะช่วยสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนไทย ผ่านการต่อยอดการสร้างมูลค่าเพิ่มการตลาดออนไลน์ ในฐานะที่ปรึกษาและวิทยากร โครงการ Digital Village by DBD กระทรงพาณิชย์ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ได้เข้าไปร่วมผลักดันสินค้าชุมชนเข้าสู่การค้าออนไลน์

โดยการพัฒนาชุมชนนำร่องมาอย่างต่อเนื่องกว่า 34 ชุมชน ตั้งแต่ปี 2562 ตามต้นแบบหมู่บ้านเถาเป่า (Taobao Village Model) เพื่อช่วยสร้างโอกาส สร้างอาชีพ สร้างรายได้เพิ่มให้กับชุมชนทั่วประเทศ และในปีนี้ ยังคงดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง ในชื่อ “ปรับตัวสู้วิกฤตด้วย e-Commerce ชุมชนอัจฉริยะออนไลน์ (Digital Village by DBD)”

นางรวีพรรณ ช้างเย็นฉ่ำ รองอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า กรมพัฒนาธุรกิจการค้ามีภารกิจในการส่งเสริมการค้าผ่านระบบออนไลน์เพื่อขับเคลื่อนการทำธุรกิจ e-Commerce รองรับผู้ประกอบการเข้าสู่ยุค Metaverse โดยมุ่งเน้นการสร้างความเข้มแข็งจากฐานราก และการมีส่วนร่วมของชุมชนบนพื้นฐานการใช้เทคโนโลยี และเพื่อเป็นการต่อยอดการสร้างมูลค่าเพิ่มการตลาดออนไลน์ ตลอดจนสร้างต้นแบบความสำเร็จด้วยการพัฒนาเชิงลึกยิ่งขึ้นตามพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป

รองอธิบดีฯ กล่าวต่อว่า กิจกรรม “ปรับตัวสู้วิกฤตด้วย e-Commerce ชุมชนอัจฉริยะออนไลน์ (Digital Village by DBD)” มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มมูลค่าการตลาดออนไลน์ของชุมชนเป้าหมายทั่วประเทศ ให้สามารถพัฒนาและจำหน่ายสินค้าชุมชนบนช่องทางการตลาดออนไลน์ยุคใหม่ เพื่อเป็นชุมชนต้นแบบความสำเร็จ ทั้งด้านอัตลักษณ์ วิถีชุมชน การตลาด และผลประกอบการ อีกทั้งขยายโอกาสการตลาดให้ผู้ประกอบการชุมชนมีความเข้มแข็ง แข่งขันได้และเติบโตอย่างยั่งยืน

“ในปีนี้มี ชุมชนต้นแบบเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 21 ชุมชน โดยมีผู้ประกอบการกว่า 350 ราย เข้าร่วมกิจกรรมการบ่มเพาะพัฒนาเชิงปฏิบัติการ เพื่อส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชนที่มีอัตลักษณ์ วิถีชุมชนเข้าสู่แพลตฟอร์มออนไลน์ที่มีชื่อเสียง รวมทั้งพัฒนาศักยภาพด้านการวางแผนธุรกิจออนไลน์ การบริหารจัดการการค้าออนไลน์ ให้ผู้ประกอบการชุมชนสามารถดำเนินธุรกิจออนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ”รองอธิบดีฯ กล่าว    

ทั้งนี้ ในฐานะที่ปรึกษาโครงการและวิทยากรในการให้ความรู้ อ.ดร.ต้นรัก ธวัชชัย สุขสีดา มีการกระตุ้นและสร้างการรับรู้ให้กับสินค้าชุมชนบนช่องทางออนไลน์ของ 21 ชุมชนต้นแบบ ให้มีการมองเห็นแต่ละชุมชนมากกว่า 300,000 การมองเห็น ซึ่งมีจำนวนรวมกว่า 9,500,000 การมองเห็น อีกทั้งมีการเผยแพร่คลิปวีดีโอชุมชนผ่าน Social Media จำนวน 11 คลิป ซึ่งมีจำนวนครั้งที่ถูกแสดงมากกว่า 3,000,000 ครั้ง เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้และส่งเสริมการตลาดให้กับสินค้าแต่ละชุมชน รวมทั้งประชาสัมพันธ์ 21 ชุมชนต้นแบบ ผ่านช่องทางออนไลน์ของ Influencer 8 ราย ที่มีผู้ติดตามรวมกว่า 4,300,000 ราย

ภายในงานยังมีการจัดแสดงผลิตภัณฑ์ชุมชนต้นแบบทั้ง 21 ชุมชน โดยวิทยากรที่ร่วมลงพื้นที่ในการทำกิจกรรม เพื่อสร้างการรับรู้ในวงกว้าง และสร้างแรงบันดาลใจ ให้ผู้ประกอบการชุมชนอื่นๆ ให้ความสำคัญกับการผลักดันสินค้าชุมชนเข้าสู่การค้าออนไลน์และสร้างรายได้ให้ชุมชนเติบโตอย่างยั่งยืนต่อไป

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...