ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
อปท.เชิญเป็นแขก ย้อนกลับ
ผศ.ดร.ภูริวัจน์ ปุณยวุฒิปรีดา ผู้อำนวยการหลักสูตร ปริญญาโทและปริญญาเอกสาขาพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
30 ก.ย. 2565

นอกจากการพัฒนาเศรษฐกิจหรือสุขภาพแล้ว การพัฒนาสังคมก็ถือเป็นอีกส่วนสำคัญในการสร้างสังคมที่ดีมีคุณภาพ วันนี้ อปท.นิวส์เชิญเป็นแขกขอเสนอ ผศ.ดร.ภูริวัจน์ ปุณยวุฒิปรีดา หนึ่งในผู้อุทิศชีวิตในการพัฒนาสังคม จากเด็กวัดธรรมดาคนหนึ่ง สู่ผู้เป็นเบ้าหลอมในการสร้างสังคมให้ดียิ่งขึ้น

ผศ.ดร.ภูริวัจน์ ปุณยวุฒิปรีดา ผู้อำนวยการหลักสูตร ปริญญาโทและปริญญาเอกสาขาพัฒนาสังคมมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เริ่มบอกเราว่า เดิมเป็นคนพื้นเพจังหวัดชลบุรี แต่ปัจจุบันได้ย้ายมาอยู่กรุงเทพฯ แถวฝั่งธนบุรีเป็นเด็กวัดตั้งแต่ช่วงวัยประถม อาศัยอยู่ที่วัดมาโดยตลอด เนื่องจากตอนเด็กหนีออกจากบ้านซึ่งตอนที่หนีออกมาก็ไม่มีเป้าหมายว่าจะทำอะไรต่อ แต่ด้วยความโชคดี ระหว่างนั้นได้เจอกับหลวงตารูปหนึ่ง ซึ่งท่านเอ็นดูและได้ถามไถ่ถึงความเป็นอยู่และก็มาทราบภายหลังว่า หลวงตาเป็นน้องชายของคุณตาแท้ๆตัวอาจารย์จึงเป็นหลานของท่าน จึงเหมือนเป็นสิ่งที่ฟ้าลิขิต

ด้วยเหตุนี้จึงได้พักอาศัยที่วัดไผ่ตันตั้งแต่นั้นมา โดยหลวงตาให้ค่าใช้จ่าย 10-20 บาท ทำให้มีโอกาสได้ไปศึกษาต่อจนจบชั้นประถมที่โรงเรียนวัดตลิ่งชันซึ่งช่วงนั้นก็ดูแลตัวเองมาโดยตลอด เวลาเดินทางไปโรงเรียนก็เดินทางเอง ขณะที่วัดไผ่ตันกับวัดตลิ่งชันไกลกันมาก ทำให้ไม่เคยทันเรียนคาบแรกเลย ถึงอย่างไรก็ยังได้เป็นนักเรียนทุนของโรงเรียนมาโดยตลอด หลังจากจบชั้นประถมก็ได้ไปเรียนต่อที่โรงเรียนไทรน้อย และย้ายไปอยู่ที่วัดไทรใหญ่

ก่อนที่ต่อมาจะได้มาจบการศึกษาปริญญาตรี นิติศาสตรบัณฑิต ที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง และจบปริญญาโท สาขานิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง เรียนควบคู่กับรัฐศาสตรมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง ไปพร้อมๆ กัน แต่เรียนคนละคาบเวลา โดยเรียนนิติศาสตร์ช่วงเสาร์-อาทิตย์ ช่วงเวลากลางวัน ขณะที่ตอนเย็นก็เรียนรัฐศาสตรมหาบัณฑิต นอกจากนี้ยังได้เรียนจบปริญญาโท สาขาสถาปัตย์สิ่งแวดล้อม ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และยังได้เรียนสาขาการบริหารการพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ส่วนปริญญาเอกจบสาขารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยรวมถึงยังได้เรียนจบปริญญาเอกสาขานิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตที่มหาวิทยาลัยปทุมธานี ได้เรียนปริญญาเอกต่อใบที่ 3 สาขาการพัฒนาสังคมดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยและได้เรียนสาขารัฐศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต ที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นใบที่ 4

นอกจากนี้ยังได้ผ่านการอบรมต่างๆ มากมาย อาทิ 1.ได้รับประกาศนียบัตรธรรมภิบาลสิ่งแวดล้อมสำหรับนักบริหารระดับสูง (ปธส.) รุ่น 1 กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 2. ได้รับประกาศนียบัตรหลักสูตร การบริหารยุติธรรมระดับสูง รุ่น 11(ยธส.11) จากสำนักงานกิจการยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม

3.ผ่านการอบรมพัฒนาสัมพันธ์ระดับผู้บริหาร กองทัพอากาศ รุ่นที่ 9 จากกองทัพอากาศ4.อบรมหลักสูตรการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยสำหรับนักบริหารระดับสูง รุ่นที่ 22 สถาบันพระปกเกล้า 5.ผ่านการอบรมหลักสูตร การบริหารเศรษฐกิจสาธารณะสำหรับบริหารระดับสูง รุ่น 7 สถาบันพระปกเกล้า6.เป็นนักเหินเวหากิตติมศักดิ์ของกองทัพอากาศ 7.ผ่านการอบรมธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อมสำหรับนักบริหารระดับสูง รุ่นที่ 1 สถาบันพระปกเกล้า 8.ได้อบรมการบริหารงานภาครัฐและกฎหมายมหาชน รุ่นที่ 7 สถาบันพระปกเกล้า 9.ได้ผ่านอบรมหลักสูตรสิทธิมนุษย์ชนสำหรับบริหารระดับสูง รุ่นที่ 1 จากสถาบันพระปกเกล้า 10.ผ่านการอบรมหลักสูตรการเสริมสร้างสังคมสันติสุข รุ่นที่ 3จากสถาบันพระปกเกล้า

อาจารย์ภูริวัจน์ บอกต่อด้วยว่า หลังจากเรียนจบมา ก็มีปณิธานที่จะทำงานด้านทนาย ผู้พากษา หรืออัยการเลยได้มีโอกาสมาสอบด้านราชการ ได้รับตำแหน่งเป็นนักวิชาการช่างสำรวจที่กรมเจ้าท่า แต่ยังคงพบเห็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ทำงานได้ 2 ปี จึงขอลาออก โดยระหว่างนั้นยังได้ประกอบธุรกิจบริษัท เอส.พี.วี.ปิโตรเลียม จำกัดเป็นการประกอบกิจการผลิต จำหน่ายน้ำมันเครื่องและจารบี โดยดำรงตำแหน่งคณะกรรมการ แต่ปัจจุบันได้ออกจากบริษัทฯ ดังกล่าว เพื่อให้ลูกหลานได้ดำเนินกิจการต่อ อย่างไรก็ตาม ระหว่างนั้นได้มีโอกาสรู้จักกับรศ.ดร.สุรพล สุยะพรหม และ พระมหาบุญเลิศ อินทปัญโญศ.ดร.โดยเห็นถึงศักยภาพจึงชักชวนมาเป็นครูอาจารย์ในวิทยาลัยสงฆ์ตั้งแต่นั้น

“สาเหตุที่เลือกมาเป็นผู้อำนวยการหลักสูตรปริญญาโทและปริญญาเอกสาขาพัฒนาสังคม เนื่องจากพระส่วนใหญ่ยังขาดประสบการณ์ทางโลก จึงอยากมีส่วนเข้าไปช่วยเหลือเหมือนกับตอบแทนบุญคุณ เพราะเราก็เคยอาศัยข้าววัดมาโดยตลอด จึงต้องการให้พระได้เรียนรู้เรื่องจำเป็นการปกครองตนเอง อย่างเช่น พระหรือเณร ถามว่าการเกณฑ์ทหารคืออะไร จึงให้ความรู้กับพระเพื่อให้สามารถอยู่ได้ในสังคมปัจจุบัน” โดยอาจารย์อภูริวัจน์ได้เล่าถึงความภาคภูมิใจผลจากการศึกษามาอย่างยาวนานเอาไว้ว่า

“ด้วยความที่ได้เล่าเรียนมาหลากหลายสาขา ทำให้มีความพร้อมที่จะให้ความรู้คณะสงค์หรือเณรที่มาเล่าเรียนในมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยได้ อาทิ กฎหมายของคณะสงค์ กฎหมายปกครอง ซึ่งถือเป็นเรื่องจำเป็นมากสำหรับพระในปัจจุบัน แต่พระท่านยังไม่ทราบ เราจึงเป็นส่วนเข้าไปเสริมเติมเต็ม”

อาจารย์ภูริวัจน์ เล่าต่อว่า แนวคิดหลักของหลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาสังคม มีจุดมุ่งหมายเพื่อผลิตนักพัฒนาสังคมที่มีศักยภาพในการประยุกต์องค์ความรู้ทางพระพุทธศาสนานำไปสู่การปฏิบัติจริง โดยหลักสูตรนี้เป็นหลักสูตรปริญญาโทที่มีค่าเล่าเรียนถูกมาก คือ 50,000 บาทตลอดหลักสูตร ทั้งยังสามาถผ่อนจ่ายได้ด้วย โดยในการเรียนการสอนจะมีการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ และเปิด "ศูนย์ปฏิบัติการทางสังคม” หรือ Social Lab เพื่อเป็นพื้นที่ให้ศึกษาวิจัย ใช้ความรู้ความเชี่ยวชาญของคณาจารย์ร่วมกับการปฏิบัติการในพื้นที่ของนิสิตระดับปริญญาโท เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาท้องถิ่นอย่างสมบูรณ์ โดยมีความร่วมมือกับภาคีต่างๆ ระหว่างชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ส่วนราชการ และภาคเอกชนที่มีเป้าหมายร่วมกัน โดยใช้กระบวนการในการเตรียมการ ได้แก่ การเตรียมคน การเตรียมพื้นที่ และดำเนินการ 5 รู้ได้แก่ รู้ชุมชน รู้ปัญหา รู้วิธีการ รู้งาน และรู้ติดตาม เพื่อพัฒนาชุมชนด้านต่างๆ

สำหรับศาสตร์การพัฒนาสังคม คือ 1. การพัฒนาตนเองให้เป็นผู้นำในการพัฒนาชุมชม 2. การมีระบบกลไกและเครื่องมือที่ช่วยแก้ปัญหาสังคม เมื่อมีการใช้กระบวนการดังกล่าวนี้จะเกิดความสำเร็จ เช่น การสร้างความเข้าใจเรื่องความมั่นคงทางอาหาร การเปลี่ยนทัศนคติหรือมุมมองในการพัฒนาหรือใช้ชีวิตให้เกิดการประหยัดมากที่สุดและทำตัวเองให้พึ่งตัวเองได้มากที่สุด ตัวอย่างเมื่อมีพื้นที่ว่างอย่าปล่อยไว้เฉยๆ ให้ใช้ประโยชน์ด้วยการปลูกผักพืช เป็นต้น เพื่อเป็นการตอบโจทย์วิทยาลัยสงฆ์เพื่อท้องถิ่น ซึ่งต้องการแก้ปัญหาคนให้พออยู่พอกิน การแก้ปัญหาต่างๆ ในสังคม การอยู่อย่างสันติสุขในชุมชน เป็นต้น

ส่วนตัวอย่างความสำเร็จของการพัฒนาชุมชนที่เกิดขึ้นแล้วคือ การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ "ไข่ทองเค็ม" เป็นผลงานจของนิสิตปริญญาโทรุ่นที่ 1 ที่ได้พบว่า ชุมชนยายชา จ.นครปฐม มจร.วัดไร่ขิงมีการเลี้ยงเป็ดจำนวนมาก แต่เนื่องจากไม่สามารถแปรรูปและออกจำหน่ายได้ ทำให้ไม่เกิดการประกอบอาชีพในชุมชน ด้วยเหตุนี้ จึงเกิดการพัฒนาต่อยอดให้นิสิตนักศึกษาไปสำรวจปัญหาและสร้างมูลค่าผลิตภัณฑ์ชุมขนขึ้นมา จนเกิดการยกระดับผลิตภัณฑ์ จากเดิมเป็นเพียง “ไข่เค็ม” ทั่วๆ ไปซึ่งเป็นผลงานซึ่งไม่มีจุดเด่นที่แตกต่าง เมื่อได้เข้าร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์ตามแนวทางของศูนย์ฯ ซึ่งเป็นการทำงานร่วมกันของทุกส่วนที่เกี่ยวข้องอย่างจริงจังส่งผลให้ชุมชนกลายเป็นที่รู้จักมากขึ้น มีอาชีพเพิ่มขึ้น รวมทั้งด้านการท่องเที่ยว และทำให้เศรษฐกิจของชุมชนดีขึ้น ซึ่งได้ให้นิสิตนักศึกษาปริญญาโทเข้าไปช่วยอยู่เสมอ

“รุ่นที่ 2 ก็ได้ดำเนินการกำจัดขยะมูลฝอยของชุมชนที่ตำบลแก่งระเบิด ซึ่งประสบปัญหาการเผาไหม้ ไม้ไผ่ น้ำขยะมูลฝอย เราจึงได้มีการเปลี่ยนขยะให้เกิดมูลค่า โดยการนำมาทำเป็นปุ๋ย ส่วยขยะที่ย่อยสลายไม่ได้ ก็ไปรวมไว้ที่โรงเรียน เพื่อนำบริษัทรับทิ้งของเก่าเข้ามารับซื้อ รวมถึงทางโรงเรียนได้นำผักหรือไข่ไก่ที่นักเรียนประถมได้มีการปลูกผัก- เลี้ยงไก่เองอยู่เพื่อนำไปแลกกับชาวบ้านกับพลาสติกหรือขวดน้ำก็ดีเพื่อนำไปขาย ส่วนหนึ่งก็เป็นต้นทุน อีกส่วนหนึ่งก็เป็นค่าอาหารกลางวัน ส่งผลให้เกิดความสมดุลในชุมชนขยะไม่เกิด ชาวบ้านได้ประโยชน์ แล้วยังขายขยะเปียกไปทำเป็นปุ๋ยได้ ส่วนไม้ไผ่ที่ต้องมาเผาก็ถูกทำลายแจกันอันเล็กๆ สำหรับปลูกต้นกระบองเพรช ทำให้เกิดออเดอร์ สั่งซื้อเป็นหมื่นๆ รายการ”อาจารย์ภูริวัจน์ เล่าอย่างภาคภูมิ

ด้วยการดำเนินชีวิตถึงปัจจุบันได้สำเร็จขนาดนี้ ต้องมีอดุมคติที่มุ่งมั่นเพื่อสร้างแรงผลักดันอยู่อย่างแน่นอนโดยจุดนี้ อาจารย์ภูริวัจน์บอกอย่างหนักแน่นว่า สิ่งที่ตั้งเป็นอดุมการณ์ประจำใจเลยคือ เรื่องของความซื่อสัตย์ความจริงใจ ดำรงอยู่ในศลี 5และการมีจิตสำนึกต่อตัวเองและสังคม เพราะเชื่อว่าการทำอะไรก็แล้วแต่ ไม่ว่าคุณจะดำรงตำแหน่งนักการเมืองหรือข้าราชการ หากไม่มีจิตสำนึกกับตัวเองและสังคม ไม่สามารถอยู่ได้

เมื่อถามถึงอุปสรรคและการฝ่าฟันปัญหามาอย่างไรนั้น อาจารย์ภูริวัจน์ให้ข้อคิดที่น่าสนใจว่า เมื่อเกิดปัญหา ควรมองปัญหาอุปสรรคด้วยความเข้าใจ และควรถอยออกปัญหาก่อน เพื่อหาต้นเหตุและปลายของอุปสรรคคืออะไร  กล่าวคือการหยุดและมองปัญหาอย่างเข้าใจ จะทำให้พบปัญหาและรู้ต้นเหตุของปัญหาว่าคืออะไร และที่สำคัญคืออย่าให้ปัญหาเป็นตัวบั่นทอนความรู้สึกของเรา เพราะถ้าหากเกิดปัญหาแล้วมีความท้อ อาจทำให้ไม่สามารถแก้ปัญหาได้

“ถ้าแก้ปัญหานั้นไม่ได้ ผมจะวางปัญหานั้นไว้ แล้วค่อยกลับมาดูใหม่ นั่นจึงทำให้ผมไม่มีความทุกข์ใจใดๆ ทั้งสิ้น เหตุผลเพราะเราได้ดูต้นตอและเหตุผลของปัญหานั้นๆ คืออะไรคนทุกวันนี้คนที่มีปัญหาอุปสรรค เนื่องจากเอาอารมณ์เข้าไปเกี่ยวข้อง ทำให้ปัญหาแก้ไม่ได้”อาจารย์ภูริวัจน์กล่าวในที่สุด

 

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...