ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ย้อนกลับ
ดร.สุรพล เตียวตระกูล นายกเทศมนตรี เทศบาลเมืองพิจิต
11 พ.ย. 2565

เทศบาลเมืองพิจิตรถือเป็นหนึ่งในไม่กี่เทศบาลที่มีการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมดีเยี่ยม ทำให้ได้รับรางวัลชนะเลิศเทศบาลด้านสิ่งแวดล้มยั่งยืนยอดเยี่ยมระดับประเทศ ปี 2555 และระดับดีเยี่ยมปี 2562 พร้อมยังถูกคัดเลือกเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีผลการปฏิบัติงานดีเด่น ประจำปี 2565 “ด้านการให้บริการช่วยเหลือประชาชน”

วันนี้ อปท.นิวส์เชิญเป็นแขกจึงขอนำเสนอผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จในการขับเคลื่อนเทศบาลเมืองพิจิตรเติบโตอย่างเข้มแข็ง คือ ดร.สุรพล เตียวตระกูล นายกเทศมนตรี เทศบาลเมืองพิจิตร หรือ หมอตุ๊กผู้ที่มีความตั้งใจที่จะมายกระดับคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่เทศบาลเมืองพิจิตรให้ดียิ่งขึ้น จนได้การยอมรับและได้รับรางวัลมากมาย

โดยดร.สุรพล เตียวตระกูล นายกเทศมนตรี เทศบาลเมืองพิจิตรได้เล่าพื้นเพให้ฟังว่า ตนเองเป็นคนพิจิตรตั้งแต่เกิดเคยศึกษามัธยมศึกษาตอนปลายที่โรงเรียนพิจิตรพิทยาคม ซึ่งที่บ้านมีอาชีพค้าขายทั่วไปเช่น ขายข้าว ขายขนม ทำให้เวลาว่างจากการเรียนจึงมาช่วยที่บ้านค้าขายอยู่เสมอ ก่อนที่ต่อมาจะสอบชิงทุน สัตวแพทย์ของเทศบาลเมืองพิจิตร เมื่อปี 2524 แล้วก็ไปเรียนที่สัตวแพทย์ กรมปศุสัตว์ อีก 2 ปี

จบมาก็เริ่มมาทำงานที่เทศบาลเมืองพิจิตร ในตำแหน่งสัตวแพทย์ระดับ 2 และก็ได้ทำงานที่เทศบาลเมืองพิจิตรในด้านต่างๆ เรื่อยมา  ซึ่งตนเองเป็นคนชอบเรียนรู้ ประกอบกับที่บ้านเป็นประกอบอาชีพค้าขาย และอยากให้ลูกๆ มีใบปริญญาติดตัว จึงเริ่มเรียนปริญญาตรี ครุศาสตรบัณฑิต สาขาพัฒนาชุมชน จากวิทยาลัยครุเพชรบูรณ์ และการจบหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยพิษณุโลก ขณะที่จบปริญญาโทในหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต  สาขา นโยบายและการวางทางแผนสังคม จากวิทยาลัยบัณฑิตสกลนคร ( ทบวงมหาวิทยาลัย) หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (M.P.A.) สาขา การบริหารการจัดการภาครัฐ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม ก่อนที่จะจบปริญญาเอก หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น

โดยหมอตุ๊กยังได้บอกอีกว่า“หลังจากนั้นก็ทำงานที่เทศบาลเรื่อยมา พร้อมเรียนรู้งานต่างๆ เช่น งานสัตวแพทย์ งานรักษาความสะอาด งานรักษาพยาบาล งานจัดการขยะมูลฝอย งานด้านสิ่งแวดล้อมเป็นต้น โดยระหว่างนั้นก็สอบเปลี่ยนสายงานเป็นผู้บริหาร และได้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมในสังกัดเทศบาลเมืองพิจิตรและทำงานเพิ่มประสบการณ์มากมาย เช่น คณะกรรมธิการด้านสาธารณสุข สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย คณะทำงานคาร์บอนฟุตพริ้นท์คณะทำงานประเมินเทศบาลน่าอยู่ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม”

ด้วยผลงานที่เป็นประจักษ์มากมาย ทำให้ได้รับเกียรติจากกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ไปเป็นวิทยากรการจัดการสิ่งแวดล้อมการจัดการขยะ รวมถึงได้เป็นโค้ชให้กับเมืองต่างๆ ในการพัฒนาสู่สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน พร้อมกับดันเทศบาลเมืองพิจิตรไปสู่เมืองสิ่งแวดล้อมยั่งยืนเวทีระดับอาเซียน โดยการนำผลงานจากชุมชนต่างๆ ในเทศบาลเมืองพิจิตรไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในอาเซียน

นายกเทศมนตรีฯ เล่าอีกว่า หลังจากมาได้รับตำแหน่งก็ได้ทำหลายอย่างมากมาย เช่น ประธานกรรมาธิการด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมสมาคสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทยปี พ.ศ. 2564,เป็นคณะกรรมการประเมินเอกสารเมืองสิ่งแวดล้อมยั่งยืนภาคเหนือปี พ.ศ. 2565 ฯลฯ  นอกจากนี้ในปี 2565 ก็ได้ส่งงานเทศบาลเมืองพิจิตร เข้าร่วมประเมินองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีการบริหารจัดการที่ดี ประจำปีงบประมาณ 2565 โดยได้รับรางวัลชมเชยอีกด้วย          

ซึ่งจากการทำงานมาได้ซักพักใหญ่ ทำให้เกิดความรู้สึกอิ่มตัวกับการทำงาน ทำให้วันที่ 1 มกราคม 2563 ก็ได้ลาออกและได้ปักหมุดหมายที่จะกลับมาใช้ชีวิตอยู่ที่บ้าน เปิดกิจการเล็กๆ พร้อมทำจิตอาสากับชาวในการฟื้นฟูถิ่นกำเนิดในการใช้องค์ความรู้ในการพัฒนาบ้านเมือง รวมไปถึงไปสอนหนังสือให้กับเด็กๆ ในพื้นที่

จนเมื่อปี 2564 ได้มีการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่น จึงลองมาสมัครเลือกตั้งดู และด้วยความไว้วางใจจากพี่น้องในเขตเทศบาลเมืองพิจิตร เลยทำให้ได้รับเลือกเป็นนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองพิจิตร

โดยวัตถุประสงค์ เนื่องด้วยเคยเป็นพนักงานเทศบาลฯ มาก่อนทำให้เห็นการดำเนินการบางเรื่องมีข้อจำกัด และอาจไปไม่ถึงเป้าหมายที่วางไว้ทั้งจากระเบียบ ข้อจำกัดในหน้าที่ ระหว่างพนักงานและผู้บริหารที่มีขีดจำกัด ซึ่งหากเป็นผู้บริหารท้องถิ่นหรือผู้บริหารเทศบาลฯ น่าจะทำอะไรให้กับเมืองมากกว่าเดิม

โดย ดร.สุรพล ได้เผยวิสัยทัศน์ให้ฟังว่า“ปัจจุบัน เชื่อว่าอีกไม่นานเราจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ปัญหาของผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น คนในเมืองเริ่มมีอายุมากขึ้น เพราะฉะนั้นหนีไม่พ้นสังคมผู้สูงอายุ ประกอบกับด้วยความคุ้นเคยด้านงานเกี่ยวกับสุขภาพและงานสิ่งแวดล้อม จึงเชื่อว่าจะทำอะไรได้มากกว่านี้ เลยได้ลงสมัคร เสนอ ยุทธศาสตร์ “กินอิ่ม นอนอุ่น ทุนดี มีชีวิตที่สมดุล”ตอนนี้ได้ทำหลายเรื่องตามที่รับปากไว้ อาทิ การบูรณะบึงสีไฟ การส่งเสริมการศึกษา การพัฒนาด้านสุขภาพ การพัฒนาคุณภาพชีวิต เป็นต้น

หมอตุ๊ก ได้ขยายความอีกว่า เป้าหมายของยุทธศาสตรคือ“กินอิ่ม”การพัฒนาเศรษฐกิจของเมืองส่งเสริมการค้าการขาย พัฒนาแหล่งท่องเที่ยว รวมถึงการสร้างงานสร้างอาชีพให้กับภาคชุมชนและภาคเมือง โดยการท่องเที่ยวเป็นปัจจัยหลักที่จะส่งเสริมเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม ทรัพยกรธรรมชาติของในพื้นที่มีน้อย ซึ่งก็มีเพียง บึงสีไฟ เท่านั้น ดังนั้นจึงต้องการพัฒนาบึงสีไฟเป็นจุดขายให้คนเมืองพิจิตรมาค้าขายแห่งนี้ พร้อม บึงสีไฟ เป็นแหล่งท่องเที่ยว

ต่อมาคือ “นอนอุ่น”การสร้างความมั่นคงด้านความปลอดภัย ประชาชนไว้วางใจ บริหารจัดการกับองค์กรในการทำให้เมืองนั้นๆ ปลอดภัย โดยปีกว่าที่ผ่านมา ได้จับมือกับบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT และ ตำรวจภูธร จังหวัดพิจิตร ในการพัฒนาไปหลายมิติ เช่นการติดตั้งสารสนเทศระบบอินเทอร์เน็ต รวมถึงติดตั้งกล้องวงจรปิด CCTVโดยได้ทำสัญญากับ NT ติดตั้งสัญญาณ Wi-Fi ในสวนสาธารณะทุกแห่ง ซึ่งเป็นสิ่งที่นักท่องเที่ยวชื่นชอบ ติดตั้งจุด SOS ที่เชื่อมโยงถึงตำรวจและหน่วยงานต่างๆ ที่เป็นเครือข่าย เพื่อให้นักท่องเที่ยวหรือประชาชนกดปุ่ม SOS แล้วก็สามารถคุยกับเจ้าหน้าที่ตำรวจได้เลยนอกจากจะผลักดันเมืองพิจิตรเป็น Smart City แต่ยังผลักดัน Smart Environment หรือเมืองที่มีการจัดสิ่งแวดล้อมที่ดีโดยจะมีการตรวจวัดฝุ่น PM 2.5 อีกด้วย

ในขณะเดียวกัน ก็ยังได้มีการพัฒนาระบบโครงสร้างบริการ ระบบเสียงตามสาย บริการ Wi-Fi และระบบเครือข่ายการดูแลสุขภาพประชาชน (Smart Help Care Service)ในการช่วยเหลือผู้ที่มีสุขภาพไม่ดีได้รับการดูแลที่ดีขึ้น โดยเมื่อเป็นสมาชิกกับเทศบาลเมืองพิจิตร ข้อมูลสุขภาพต่างๆ ก็จะถูงเชื่อมโยงกับทางเทศบาล ในขณะที่สมาชิกจะได้ QR Code และเบอร์โทร เพื่อให้สามารถติดต่อกับเจ้าหน้าที่ได้ 24 ขั่วโมง ซึ่งหากมีภาวะสุขภาพไม่ดีต้องการไปโรงพยาบาล ก็สามารถโทรขอความช่วยเหลือทางการแพทย์ฉุกเฉินได้ ซึ่งทางเทศบาลฯ ได้ร่วมมือกับโรงพยาบาลพิจิตร ที่มีการทำภาคีเครือข่ายกับ 1669 เป็นการสร้างความมั่นคงและปลอดภัยให้กับผู้ป่วยที่อยู่ติดเตียง หรือผู้สูงอายุ ผ่านยกระดับพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนด้วยเทคโนโลยี ทั้งด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน รวมทั้งรองรับการท่องเที่ยว การศึกษา การสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม พร้อมนำพาเมืองพิจิตรก้าวสู่เมืองอัจฉริยะ (Phichit Smart City) ต่อไป

นอกจากนี้การสร้างโครงสร้างให้ประชาชนมีทุนด้านสุขภาพ รวมถึงทุนด้านการศึกษาโดยได้มีความร่วมมือกับโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองพิจิตรทั้งหมด 3 แห่ง และศูนย์เด็กเล็ก 2 แห่ง ในการใช้ระบบสารสนเทศในการส่งเสริมการเรียนการสอนให้เด็กๆ  ทำให้เด็กที่ได้มาเรียนที่ ศูนย์เด็กเล็ก สามรถนับเลขได้ พูดภาษาจีน ภาษาเกาหลี ภาษาอังกฤษ ถือเป็นการต้นทุนทางการศึกษาในระยะยาว

ด้านทุนสุขภาพ ได้มีการจัดตั้งศูนย์ one stop serviceสร้างเป็นจุดเช็คอินใน 25 ชุมชน สำหรับผู้ป่วยในพื้นที่ต้องการรักษา สามารถไปที่จุดเช็คอินชุมชน ดังกล่าวได้ ซึ่งจะมีจุดคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นให้ พร้อมประสานกับโรงพยาบาลหรือแพทย์ พยาบาล ที่ดูแล เพื่อให้สามารถรับการคัดกรอง รับยาหรือเวชภัณฑ์ ได้ที่นี้โดยไม่จำเป็นต้องเดินทางไปโรงพยาบาล รวมถึง แพทย์ พยาบาล จะลงไปแต่ละชุมชนเพื่อนัดเจอคนไข้ เป็นการช่วยลดจำนวนคนไข้ที่ต้องไปโรงพยาบาล ทำให้แพทย์ พยาบาล จะมีเวลาไปดูแลผู้หนักได้มากขึ้น

ผลงานที่ทำให้เห็นถึงความสำเร็จสะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นและแนวคิดที่คิดถึงผู้อื่นและมีความต้องการพัฒนาถิ่นเก่าบ้านเกิดให้ดียิ่งขึ้น โดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองพิจิตร ได้บอกถึงแนวคิดเอาไว้ว่า เนื่องจากมาจากครอบครัวพ่อค้าแม่ค้า ทำให้มีโอกาสได้เรียนรู้ถึงความลำบากของคนชั้นกลาง ชั้นล่าง เกิดเป็นแรงผลักดันในการใช้ชีวิต ในการทำงานหาเงินและศึกษาจนได้ระดับปริญญามาติดตัว จนสามารถจบปริญญาเอกได้ ทั้งนี้ทั้งนั้น มองว่าสิ่งที่ทำให้ได้คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เพราะได้โอกาสจากคนเมืองด้วย จนทำให้เรามาถึงจุดนี้ได้ ดังนั้นเมื่อเรามีกำลังจึงอยากกลับไปดูแลพี่น้องในพื้นที่บ้าง

โดยสิ่งที่ทางครอบครัวสอนเสมอมาคือ ต้องมีความโอบอ้อมอารี เห็นใจผู้อื่น ใส่ใจคนที่รักเรา ขณะที่คนที่ไม่รักเรา ก็อย่าเก็บมาใส่ใจ แต่ใช้เป็นแรงผลักดัน ที่จะส่งเสริมให้เราก้าวไปข้างหน้า”หมอตุ๊กกล่าวด้วยน้ำเสียงที่ภาคภูมิ

นายกเทศมนตรีฯ เล่าต่อว่ จากการได้เป็นนายกเทศมนตรีฯ ทำให้ต้องทำงานบริการประชาชน แน่นอนว่า ย่อมมีภารกิจรัดตัวมากกมาย ทำให้พบเจอปัญหาที่มากขึ้น ส่วนหนึ่งเพราะความต้องการของคนที่มากขึ้น ซึ่งมาพร้อมกับความคาดหวังที่เพิ่มขึ้น ดังนั้นวิธีรับมือกับปัญหาจึงต้องพยายามมองในเชิงบวก เพราะทุกปัญหามีสิ่งที่ดีและไม่ดีอยู่ในตัว ขณะเดียวกันก็ต้องกลับมาสำรวจตัวเองด้วยว่าปัญหาที่เกิด ตัวเราเองมีส่วนเกี่ยวข้องหรือไม่ เพื่อจะได้แก้ได้ตรงจุดอย่างมีประสิทธิภาพ แต่หากปัญหาใหญ่เกินกว่าที่จะแก้ได้ ก็ต้องนำธรรมะเข้ามานั้นคือการปล่อยวาง พร้อมๆ กับหาแผนสำรองในการรองรับปัญหา ก็อาจจะเจอทางแก้ปัญหาใหม่และสามารถลดทอนปัญหาที่หนักหนาให้เบาบางลงได้นั่นเอง

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...