ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
อปท.เชิญเป็นแขก ย้อนกลับ
นพ.กีรพรรดิภิรมย์ไกรภักดิ์ อาจารย์แพทย์ ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน (มศว.)
31 ม.ค. 2566

ปัจจุบันการแพทย์ทางด้านศัลยกรรมเจริญก้าวหน้าขึ้นมาก โดยเฉพาะเมื่อนำมาเสริมแต่งหน้าตา เรือนร่าง ให้สวยงามขึ้น ซึ่งการเสริมหน้าอก เป็นอีกหนึ่งทางเลือกอันดับต้นๆของผู้หญิง และแน่นอนว่า การเสริมแต่งเหล่านี้  ฝีมือแพทย์ไทยก็ถือเป็นหนึ่งไม่เป็นรองใครเช่นกัน

อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ฉบับนี้ อยากจะขอนำท่านผู้อ่านไปรู้จักกับแพทย์ศัลยกรรมไทยท่านหนึ่งที่มีความเชี่ยวชาญมีประสบการณ์ทำงาน ด้านศัลยกรรมตกแต่ง โดยเฉพาะงานแก้ไขศัลยกรรมหน้าอกมาอย่างยาวนาน และมีจำนวนเคสมากเป็นอันดับต้นๆ ของประเทศไทย และนายแพทย์รศัลยกรรมท่านนั้นก็คือ นายแพทย์ (นพ.)กีรพรรดิ ภิรมย์ไกรภักดิ์ อาจารย์แพทย์ ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน (มศว.) หรือคุณหมอเอเชีย

นพ.กีรพรรดิ เล่าถึงที่มาของตนเองว่า พื้นเพของคุณหมอเป็นคนจังหวัดชัยภูมิ คุณพ่อคุณแม่ประกอบอาชีพข้าราชการครู มีการย้ายไปดำรงตำแหน่งในหลาย ๆ พื้นที่ ส่วนตัวคุฯหมอนั้น ก็ต้องย้ายตาม โดยเมื่อชั้นประถม​ศึกษาจนถึงมัธยมต้นช่วงแรกเรียนที่ในจังหวัดชัยภูมิ ก่อนที่จะย้ายไปเรียนต่อที่โรงเรียนชุมแพศึกษา อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่นและไปต่อมัธยมปลายที่โรงเรียนขอนแก่นวิทยายน

นพ.กีรพรรดิ ได้เล่าเสริมอีกว่า“พอจบมัธยมปลายแล้ว ก็ไปสอบโควตาด้านวิศวะที่มหาวิทยาลัย​ขอนแก่น​ ซึ่งตอนนั้นยังไม่ได้มีความสนใจที่จะเรียนหมออะไร แต่เพราะความอยากไปเที่ยวบ้านเพื่อน จึงได้ไปสอบที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตมหาสารคาม หรือมหาวิทยาลัยมหาสารคามในปัจจุบัน โดยผลการสอบสอบติดทั้งหมอและวิศวะ แต่ตัดสินใจเรียนหมอ และก็อยากเรียนด้านศัลยกรรม เนื่องจากชอบการผ่าตัดแต่ไม่ชอบอยู่เวรหนักๆ มองในระยะยาวจะได้ผ่าได้นานๆ จึงเหลือทางเลือกอยู่ 2 ประเภทคือ ศัลยกรรมตกแต่งกับศัลยกรรมกระดูก ขณะนั้นมองว่า ศัลยกรรมกระดูกมีคนเรียนเยอะแล้ว ขณะที่ศัลยกรรมตกแต่งค่อนข้างขาดแคลน จึงได้เลือกศัลยกรรมตกแต่ง จึงต้องเรียนศัลยแพทย์ทั่วไป 4 ปี ก่อนไปเรียนศัลยกรรมอีก 2 ปี จากโรงพยาบาลวชิรพยาบาล หลังจากนั้นก็ได้ไปเรียนต่อที่โรงพยาบาลรามาธิบดี อีก 2 ปี หลังจากจบก็ไปใช้ทุนที่ชัยภูมิอีก 1 ปี”

นพ.กีรพรรดิ บอกอีกว่า ช่วงของการเรียนแพทย์เป็นการเรียนการศึกษาที่เข้มข้น ยอมรับว่ามีความเครียดอยู่ระดับหนึ่ง แต่ก็ต้องผ่านการฝึกมาจาก under vision ของอาจารย์แพทย์เฉพาะทาง อีกทั้งแพทย์คนหนึ่งจะจบเป็นศัลยกรรมเฉพาะทางได้ ต้องผ่านการเทรนนิ่งที่ถูกต้องอยู่ในโรงเรียนแพทย์ที่ได้มาตรฐาน เช่น โรงพยาบาลวชิรพยาบาล หรือโรงพยาบาลรามาธิบดี

ต่อมาแฟนของคุณหมอซึ่งเป็นหมอจักษุแพทย์และเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เช่นเดียวกันหลังจากเราทั้งสองได้แต่งงานกันจึงได้ขอทำเรื่องย้ายมาเป็นอาจารย์แพทย์ที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน (มศว.) ทำให้ปัจจุบันคุณหมอได้เป็นอาจารย์แพทย์ที่ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรจน์ และเป็นแพทย์ประจำอยู่ที่ เจเนเชียคลินิก เพื่อที่จะได้ดูแลงานด้านความงามได้อย่างทั่วถึงและเป็นส่วนตัวมากขึ้น

หลังจากนั้นได้ทุนศึกษาดูงานที่อเมริกาอีก 2 ปีทำให้มีโอกาสได้ไปฝึกอบรมเพิ่มเติม ภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิดโดยศัลยแพทย์ตกแต่งที่มีชื่อเสียง จาก UTHSC , PACES Plastic Surgery และ UMC นอกจากนี้ยังได้รับการฝึกอบรมทั้งด้านการดูแลผิวพรรณ, Laser, Botox, Filler ฯลฯ

ซึ่งหลังจากกลับมาก็ได้ไปทำพาร์ทไทม์อยู่ที่โรงพยาบาลพระราม 9 และอยู่โรงพยาบาลเลอลักษณ์ ก่อนที่ต่อมาตัดสินใจเปิดคลินิก เจเนเชียคลินิก (Janasia Plastic Surgery) ที่มีเป้าหมายในการรองรับกลุ่มคนไข้ที่ต้องการเสริมความงามที่ดีและได้มาตรฐานเทียบเท่าโรงพยาบาล พร้อมใช้เครื่องมือที่ทันสมัย และยังดูแลโดยแพทย์เฉพาะทางศัลยกรรมตกแต่ง

“โดยสาเหตุที่มาเปิดคลินิก เนื่องจากผมมีคนไข้ที่อยากจะเสริมความงาม ซึ่งกลุ่มคนไข้นี้ค่อนข้างจะprivate เขาไม่อยากปะปนกับโรงพยาบาลรัฐ ขณะที่ระบบโรงพยาบาลรัฐไม่มีระบบที่ตอบสนองต่อคนไข้กลุ่มนี้ ขณะเดียวกันโรงพยาบาลเอกชนในแต่ละแห่งก็มีนโยบายไม่เหมือนกัน ทำให้ไม่สามารถรับเคสของเราเองได้ ประกอบกับรู้สึกว่าอยากจะมีอะไรเป็นของตัวเอง เลยอยากมีสถานที่รองรับคนไข้กลุ่มนี้ได้”คุณหมอกีรพรรดิ กล่าว พร้อมเปิดเผยอีกว่า

สำหรับลักษณะเคสที่โรงพยาบาลต่างๆ อาจไม่รับทำนั้น ก็อย่างเช่น กลุ่มผู้เสริมความงาม อย่างเช่นคนต้องการเสริมจมูก เนื่องจากไม่ใช่โรคที่ต้องรักษา แต่เป็นการศัลยกรรมที่มีความคาดหวังจากคนไข้ที่สูงซึ่งในระดับการบริหาร ไม่กล้ารองรับคนกลุ่มนี้เท่าใดนัก เพราะหากทำไม่ได้อย่างที่คนไข้คาดหวัง อาจเป็นสาเหตุให้เกิดเป็นคดีฟ้องร้องได้

สำหรับด้านวิธีดูแลคนไข้ผ่าตัดศัลยกรรมคุณหมอกีรพรรดิ บอกว่า คือการพยายามพูดความจริงให้ข้อมูลที่ตรงไปตรงมากับกลุ่มคนไข้ และพยายามไม่ให้ความหวังที่เกินความเป็นจริง แต่จะเน้นการดูแลรักษา ตกแต่งให้ตรงจุด เพื่อให้คนไข้มีความสุขหลังทำศัลกรรม เพราะหากให้ความหวังแล้วจะเป็นปัญหาในภายหลัง ดังนั้นการทำให้ภาพคนไข้กับฝีมือของแพทย์อยู่ในความเป็นจริงมากที่สุด

โดยสิ่งที่การันตีถึงฝีมือของคุณหมอได้เป็นอย่างดีคือการรักษาเคสที่ยากซึ่งคุณหมอกีรพรรดิ บอกว่า โชคดีที่ได้มีโอกาสทำงานโรงพยาบาลเลอลักษณ์ ที่เป็นโรงพยาบาลแรกๆ ของประเทศไทยที่ทำการตลาดได้เข้าถึงคนไข้ ส่งผลให้มีคนเยอะ ทำให้มีเคสยากๆ ตามมาด้วย หากเป็นเคสเสริมธรรมดาทั่วไปเคสจะอยู่กับเจ้าของโรงพยาบาล แต่คุณหมอนั้นได้รับหน้าที่งานแก้อาทิ การลดขนาด ยกกระชับ ไม่ใช่เสริมเข้าไปแล้วก็จบ ซึ่งอยู่โรงพยาบาลเลอลักษณ์เลยได้มีโอกาสได้ทำเคสยากๆ มาแล้วมากกว่า 4,000 ถึง 5,000 เคส

โดยวิธีรับมือกับคนไข้คุณหมอกีรพรรดิ บอกว่า เมื่อนอกเวลาราชการ contact กับกลุ่มคนไข้ที่มาเสริมความงาม การ approach ก็จะแตกต่างกัน เช่น คนไข้ป่วยอยากจะหาย กับคนไข้ปกติอยากให้สวย เพราะความคาดหวังไม่เหมือนกัน ซึ่งการเสริมความงามก็มีหลายแบบอีก อาทิ เสริมจมูก เสริมก็มีแบบ Open แบบ close เสริมหน้าอกก็มีแบบเสริมธรรมดา เสริมหน้าอกแล้วต้องยกด้วย หรืองานที่ต้องมาแก้ รวมไปถึงดึงหน้ายกคิ้วทำจากปกติให้เป็นอีกแบบหนึ่ง

อปท.นิวส์ ได้ลองถามความแตกต่างในเรื่องของศัลยกรรม ในด้านการยอมรับและมุมมองต่อศัลยกรรม คุณหมอได้เผยวิสัยทัศน์เอาไว้ว่า ด้วยบริบทสังคมที่เปลี่ยนไปทำให้การเสริมความงามคนให้การยอมรับมากขึ้น กล้ายอมรับว่าเสริมความงามอะไรมาบ้าง ต่างจากอดีตที่คนจะไม่กล้ายอมรับ อีกทั้งในอดีตการเสริมจมูกเป็นอะไรที่น่ากลัวคนไม่กล้าทำ แต่เดี๋ยวนี้ Open Rhinoplasty หรือการเปิดปรับโครงสร้างกระดูกก็ได้การยอมรับมากขึ้น รวมไปถึง งานแก้หน้าอกก็เยอะขึ้น เนื่องจากคนเสริมหน้าอกเยอะขึ้น

“ส่วนที่จะเปลี่ยนแปลงไปอีกในอนาคตก็คือคนไข้จะฉลาดขึ้น คนไข้จะเริ่มรับรู้ว่าหมอมีหลายชนิด มีหมอเฉพาะทางหลายอย่าง สามารถตรวจสอบว่าประวัติเป็นอย่างไรทำได้ง่ายขึ้นโดยการนำชื่อนามสกุลจริงไปค้นหาในเว็บแพทยสภา​” คุณหมอกีรพรรดิ กล่าว

ในส่วนของแนวคิดที่นำพามาสู่ความความสำเร็จได้นั้น คุณหมอกีรพรรดิ เผยว่า สำหรับตนเองแล้ว มองว่ายังประสบความสำเร็จเท่าใดนัก เนื่องจากมีการทำงานหลายด้าน ทั้งอาจารย์แพทย์ เป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการ ทำโรงพยาบาลเอกชน รวมถึงเปิดคลินิกของตนเองด้วย รวมถึงตนเองก็มีลูกชายหนึ่งคน ซึ่งแต่ละตำแหน่งที่ทำก็มีเป้าหมายที่ต่างกัน เช่น การทำงานในโรงพยาบาล เป็นหมอศัลยกรรมตกแต่ง ก็ตั้งใจเอาเวลาที่นอกเหนือจากผ่าตัดมาช่วยบริหารโรงพยาบาล ในส่วนของคลินิกก็ตั้งเป้าสร้างคลินิกให้เป็นน่าเชื่อถือของคนไข้ ด้วยมาตรฐานทางการแพทย์ และคนไข้รับรู้ว่านี่คือคลินิกเฉพาะทางของแพทย์ศัลยกรรมตกแต่ง และทำการผ่าตัดโดยหมอเฉพาะทางถ้าคนไข้มีการรับรู้มากขึ้น ก็จะทำให้ศักยภาพดียิ่งขึ้น มีโอกาสที่จะขยายจำนวนหมอ รับคนไข้มากขึ้นและอาจเป็นโรงพยาบาลในอนาคต เป็นต้น สิ่งสำคัญที่ทำให้ตนเองสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ คือการไม่ท้อถอย มีการเรียนรู้สม่ำเสมอ

“บางคนเจอปัญหาที่อาจทำให้ตัวเองต้องหยุด มีหลักในการรับมือก็คือ ล้มแล้วต้องลุกคือการสู้ไม่ถอย และต้องทำอย่างสม่ำเสมอ พร้อมกับติดอาวุธด้านความรู้อย่างต่อเนื่อง อย่างเช่น ผมเคยเจอเคสตัดกราม แทนที่จะตัดออกไปด้านหลัก แต่กลับแฉลบกระดูกคอของกระดูกกราม ส่วนที่อยู่หน้าหู ตรงนี้เป็นจุดที่ยากที่จะต้องผ่าเข้าไป ซึ่งก็ต้องเข้าไปแก้ไข แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นก็ไม่เกินจากสิ่งที่เรียนมา ดังนั้นการศึกษาและเตรียมตัวอยู่สม่ำเสมอคือรากฐานของความสำเร็จที่ยั่งยืน”คุณหมอกีรพรรดิ กล่าวทิ้งท้าย

 

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...