ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ย้อนกลับ
ปาริฉัตร เศวตเศรนี ผู้อำนวยการฝ่ายภาพลักษณ์และสื่อสารองค์กร สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน)
18 ก.ค. 2566

 

ประเทศไทยนับเป็นหนึ่งในประเทศที่มีอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่โดดเด่น และในแต่ละภูมิภาคก็มีประเพณีและรากเหง้าทางประวัติศาสตร์ที่น่าหลงใหล นั้นจึงเป็นเหตุผลที่ทำให้ประเทศไทยกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวและจัดงานสำคัญของทั่วทุกมุมโลก ส่งผลให้ผู้จัดการประชุมและนิทรรศการระดับนานาชาติจากทั่วโลก เริ่มสนใจและมีความต้องการจัดการประชุมในประเทศไทยกันมากขึ้น

                และเพื่อกระตุ้นความสนใจของนักเดินทางไมซ์ มาร่วมงานประชุมหรืออีเว้นท์ต่างๆ ในประเทศไทยให้ได้มากที่สุด การประชาสัมพันธ์จึงถือเป็นหัวใจสำคัญที่ขาดไม่ได้ ด้วยเหตุนี้อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ฉบับนี้ เลยขอใช้โอกาสนี้ ให้ทุกท่านได้รู้จัก หนึ่งในนักประชาสัมพันธ์มือฉมังของสำนักงาน ส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การ มหาชน) หรือ ทีเส็บ กับ นางสาวปาริฉัตร เศวตเศรนี เคยโปรโมทผลิตภัณฑ์ให้กับแบรนด์ระดับโลกมามากมาย ก่อนจะก้าวสู่ผู้เป็นกระบอกเสียงเผยแพ่ความยิ่งใหญ่ของประเทศไทยให้ นักเดินทางไมซ์ ได้เห็นจนอยากเดินทางมาประเทศไทยซักครั้ง

นางสาวปาริฉัตร เศวตเศรนี ผู้อำนวยการฝ่ายภาพลักษณ์และสื่อสารองค์กร สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน)กล่าวว่า ตนเองเป็นคนจังหวัดกรุงเทพมหานครฯ เรียนจบปริญญาตรี คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เอกอังกฤษ โทรัฐศาสตร์ ก่อนที่ต่อมาจะมาต่อปริญญาโทคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาขาสื่อสารมวลชน

ซึ่งในวัยเด็กตนเป็นคนสนใจและชอบเกี่ยวกับการเรียนภาษา รวมถึงชอบเรียนการสื่อสาร ชอบแสดงออก ชอบเขียน เป็นต้น ซึ่งเส้นทางการทำงานที่แรกก็เป็น Creativeรายการ E For Teen หรือ รายการ Teen Talk ในเครือ G"MM' GRAMMYหลังจากนั้นก็ได้ทำงาน Copy writer เป็นงานเขียนสคริปวิดีโอ meหนังสือ โดยระหว่างนั้น ตนได้มีโอกาสไปอเมริกา จึงเกิดความสนใจที่อยากจะแปลหนังสือ เลยได้ไปแปลหนังสือให้กับ Plan for kidเรื่องมหัศจรรย์สมองของลูกรัก ต่อมาทางเค้าได้ชวนไปทำงานด้วย

“ในช่วงนั้นเป็นช่วงของการค้นหาตัวตน ประกอบกับเป็นคนชอบลองอะไรใหม่ๆ เลยได้ทำอะไรหลายอย่าง เช่นอ่านสปอตโฆษณา อ่านนิทานเด็ก เป็นวิทยากรดำเนินการกิจกรรม รวมไปถึงการพัฒนาเนื้อหาทำเกี่ยวกับเว็บไซต์ หลังจากนั้นก็เริ่มเดินทางสู่สายงาน PR อย่างจริงจัง ตอนที่อยู่เอเจนซี่โฆษณาที่ JWT (J. Walter Thompson) JWT PRซึ่งช่วงนั้นได้ทำงานกับลูกค้าจากแบรนด์ระดับโลก เช่น adidas , NESCAFÉ Gold และขณะนั้นช็อคโกแลต แคดเบอรี อาดัมส์ได้มาเปิดตัวในประเทศไทย ก็ได้รับหน้าที่ทำการเปิดตัวให้กับผลิตภัณฑ์ ก่อนที่จะมาอยู่ที่ลีโอ เบอร์เนทท์ ประเทศไทย เป็น Account Director ขยับเป็น Group Account Directorตอนนั้นดูกลุ่มลูกค้าที่หลากหลาย อาทิ ปตท.,NGV,ทรู คอร์ปอเรชั่น,Heinekenทำงานได้ประมาณ 2 ปี ก็ได้รับรางวัล Staff of the Yearจึงกล่าวได้ว่า ตนเองได้มีโอกาสดูแลหลาย ๆ สินค้าบริการมาโดยตลอด”

คุณปาริฉัตรบอกอีกว่า หลังจากได้ทำงานมาตลอดหลายปี ตนได้โอกาสโปรโมทสินค้าบริการกับองค์กรและหน่วยงานต่างๆ มามากมาย เลยเกิดแนวคิดที่อยากจะลองโปรโมทประเทศไทยดูบ้าง ประจวบกับช่วงเวลานั้นมีรุ่นน้องได้แนะนำตน ให้มาทำงานกับ ทีเส็บ ตนจึงเลือกที่จะมาทำงานกับทีเส็บในปี 2550ยอมรับว่าตอนนั้นยังไม่รู้จักทีเส็บเท่าไหร่นัก ซึ่งจากการลองไปศึกษาก็พบว่า ทีเส็บ เป็นองค์การมหาชนที่ก่อตั้งได้เพียงไม่นาน จึงเกิดความสนใจและได้ลองไปสมัครทีเส็บดู

ทีเส็บ เป็นหน่วยงานของภาครัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมไมซ์ ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการจัดประชุมหรือนิทรรศการ การจัดอีเวนต์ต่าง ๆ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องประชาสัมพันธ์อย่างไร เพื่อให้นักเดินทางธุรกิจ เดินทางมาประเทศไทยซึ่งตลอดหลายปีที่ผ่านมาตนได้มีโอกาสทำงานโปรโมทผลิตภัณฑ์และองค์กรมามากมายเลยเกิดเป็นแรงบันดาลใจอยากจะลองโปรโมทประเทศไทยดูบ้าง

เพราะมองว่าการได้ประชาสัมพันธ์ประเทศ มีความแตกต่างกว่างานประชาสัมพันธ์อื่นๆ ที่เคยทำมา ซึ่งจากการทำงานที่ใหญ่ขึ้นนี้เอง ทำให้ตนต้องเจอกับปัญหามากมาย แต่ตนมีแนวคิดที่ว่าทุกคนต้องมีแนวคิดGrowth Mindset กล่าวคือ ทุกปัญหาสามารถที่จะแก้ไขได้ ซึ่งนั้นจะต้องมาจากทัศนคติที่เชื่อว่าตนเองสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา เพราะทุกคนมีความสามารถถ้ามีการเรียนรู้และมีความพยายาม จุดเริ่มต้นจึงอยู่ที่มุมมองหรือทัศนคติของคน ๆ นั้น

สำหรับมุมมองในการมองปัญหาเป็นการสร้างโอกาส เพราะปัญหาเหล่านั้นทำให้ได้เรียนรู้ที่จะแก้ไขหรือจัดการ รวมไปถึงหาวิธีการใหม่ๆ ที่จะได้ลองสิ่งใหม่ๆ และเชื่อว่าความสำเร็จที่พาตนเองมาถึงจุดนี้ได้มาจากการแก้ปัญหา เพราะได้แสดงผลงานที่โดดเด่นและแตกต่าง ประกอบกับประเทศไทยมีจุดโดดเด่นที่หลากหลาย ทำให้สามารถมีเรื่องให้โปรโมทมากมาย และเป็นผลิตภัณฑ์หรือสินค้าได้หมดเลย ตนจึงมองเป็นความท้าทายในการทำงานเป็นอย่างมาก

โดยการทำงานช่วงแรกๆ ในทีเส็บนั้น ได้ทำหน้าที่ของประชาสัมพันธ์อย่างเดียว (Senior PR Manager)ก่อนที่ต่อมาจะได้รับหน้าที่โปรโมทการสื่อสารทั้งหมด ซึ่งครอบคลุมไปถึงการสร้างแบรนด์ ภาพลักษณ์ การซื้อสื่อการประชาสัมพันธ์ รวมไปถึงการจัดอีเว้นต์ การทำ Pavilionต่างๆ การจัดงานขององค์กร ในการโปรโมทให้คนรู้จักทีเส็บและอุตสาหกรรมไมซ์ของประเทศไทย

“ยอมรับว่า การโปรโมทตัวผลิตภัณฑ์จากองค์กรต่างๆ กับการโปรโมทประเทศมีความแตกต่างกันอย่างมาก พอมาทำเป็นระดับประเทศ สิ่งหนึ่งที่กว้างขึ้นเราต้องศึกษาและดูในแง่มุมของความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ดังนั้นการทำแบรนด์หรือการสื่อสารอุตสาหกรรมไมซ์หรือประเทศไทย สิ่งแรกที่ต้องทำคือผลสำรวจเพื่อทำความเข้าใจนักเดินทางธุรกิจต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศไทย ว่าอะไรคือปัจจัยที่ทำให้พวกเขาเดินทางมาทำธุรกิจในแต่ละประเทศ พร้อมกับศึกษาลงลึกว่าประเทศไทยมีจุดแข็งจุดอ่อนอย่างไร มีเหตุผลอะไรที่ทำให้นักเดินทางธุรกิจมาประเทศไทย เนื่องจากเราไม่สามารถทำการสื่อสารออกไปโดยที่เราไม่รู้กลุ่มเป้าหมายหรือความต้องการของนักเดินทางธุรกิจคืออะไร”คุณปาริฉัตร เล่าถึงความท้าทายในการทำงานที่ทีเส็บ

ผู้อำนวยการฯ เล่าต่อว่า จากการทำงานกับทีเส็บ หัวใจสำคัญคือการศึกษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การสื่อสารเจาะกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การทำผลสำรวจช่วงหลังโควิด-19 เพื่อศึกษาทำความเข้าใจและความต้องการนักเดินทางธุรกิจ ว่ามีความแตกต่างอะไรจากเดิมก่อนที่จะมีโควิด -19 ซึ่งจากการศึกษาก็พบว่า หลังสถานการณ์โควิด-19 เริ่มคลี่คลาย คนที่เดินทางมีความต้องการด้านความปลอดภัยและ Safety, Securityมากขึ้น รวมไปถึงให้ความสำคัญกับ Exclusiveเพราะกลุ่มเป้าหมาย มีความต้องการการบริการและดูแลเป็นพิเศษ

และจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ยังทำให้พฤติกรรมการเดินทางของนักธุรกิจเปลี่ยนไป โดยนักเดินทางธุรกิจจะมองหาการเดินทางที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้น รวมไปถึงใช้เวลาเดินทางที่สั้นลง เมื่อบริบทของกลุ่มเป้าหมายปรับเปลี่ยนไป ด้วยเหตุนี้ ทางทีเส็บ จึงต้องเน้นเจาะไปกลุ่มตลาดภูมิภาคระยะใกล้ ก่อนที่จะไปหาผู้จัดงานจากภูมิภาคที่ห่างไกลออกไป เป็นต้น

อีกหนึ่งรูปแบบการมาร่วมประชุมที่ถือเป็นกระแสอยู่ตอนนี้คือ นอกจากมาร่วมงานประชุมสัมมนาแล้ว เหล่ากลุ่มนักเดินทางธุรกิจยังมีความต้องการที่จะมาศึกษาวัฒนธรรมของชุมชนไปพร้อมๆ กัน รวมถึงการทำกิจกรรมต่างๆกับชุมชน เพื่อให้เขาได้รับประสบการณ์ใหม่ๆ ทั้งก่อนหรือหลังการจัดงาน ซึ่งในจุดนี้เองที่ทางทีเส็บได้ศึกษาและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ขึ้นมาเพื่อให้ตอบโจทย์ความต้องการของนักเดินทางธุรกิจได้ตรงจุดมากที่สุด

“นั่นจึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ขึ้นมา เช่น MICE City เพราะนักเดินทางธุรกิจกลุ่มเป้าหมาย มีเทรนด์ที่ต้องการศึกษาชุมชนมากขึ้น สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการกระจายรายได้สู่ชุมชนและภูมิภาคซึ่งเป็นสิ่งที่เราต้องพัฒนาร่วมกันรวมไปถึงโครงการ 7 themesในการพัฒนาธีมหรือแนวคิดต่างๆ พร้อมกับศึกษาคู่แข่งไปด้วย เนื่องจากทีเส็บเมิ่อเริ่ม MICE City ประเทศเพื่อนบ้านก็เริ่มมีการพัฒนา MICE City ขึ้นมาเหมือนกัน”

“ด้วยเหตุนี้จึงต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมว่ากลุ่มเป้าหมายมีความต้องการเดินทางในรูปแบบไหนบ้างและปรับให้เป็นลักษณะธีมงาน อย่างเช่น การจัดประชุมที่ริมทะเล การจัดประชุมรูปแบบ luxury และมีการประชุมที่หรูหรามีระดับ รวมทั้งการประชุมลักษณะประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ซึ่งทำให้ทีเส็บสามารถขาย destinationได้หลากหลายมากขึ้น รวมทั้งมีกลุ่มนักเดินทางที่ต้องการมาเมืองไทยและมีความรู้สึกอยากผจญภัย ซึ่งจะสามารถที่จะขาย destinationของเราได้มากขึ้น ทำให้นักเดินทางธุรกิจที่เดินทางเข้ามาก็จะประชุมที่หลากหลายขึ้น”คุณปาริฉัตร พูดถึงแนวทางการพัฒนาการจัดงานทีเส็บไปพร้อมๆ กับชุมชน

คุณปาริฉัตร กล่าวปิดท้ายว่าปัจจุบันทางทีเส็บได้มีการทำเรื่องของ Bleisure หรือการนำ Business มารวมกันLeisure กล่าวคือการนำธุรกิจมาผสานกับการเดินทางท่องเที่ยว ดังนั้นเวลาคนมาที่ประเทศไทย เพื่อประชุมหรือสัมมนาเสร็จเรียบร้อยแล้ว เขาก็สามารถเป็นนักท่องเที่ยวและไปเที่ยวต่อได้เลย เป็นการสร้างจุดแข็งให้กับประเทศไทย ที่นอกเหนือการจัดประชุมศักยภาพสูง ยังมีงานแสดงสินค้า การจัดงานต่างๆ ทำให้นักเดินทางธุรกิจอยากจะใช้เวลาต่อในประเทศไทย ทำให้ขยายเวลาให้นักเดินทางให้พำนักอยู่ในประเทศไทยให้นานขึ้น จากมาทำงานเพียง 3-5 วัน  อาจจะอยู่ประเทศไทยนานขึ้นเป็น 10 วัน เป็นต้น

 

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 31 มกราคม 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
13 ม.ค. 2568
ตามรายงานของศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในสิงคโปร์ (thaibizsingapore.com) ระบุว่า สิงคโปร์เป็นประเทศคู่ค้าสำคัญอันดับที่ 8 ของไทย และไทยเป็นคู่ค้าอันดับที่ 10 ของสิงคโปร์ จากสถิติของกระทรวงพาณิชย์และกรมศุลกากร ปริมาณการค้าไทย-สิงคโปร์ ปี 2565 มีมูลค่ารวม 644,383 ...