ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ย้อนกลับ
ดร.ธนพิพัฒน์ วิธูชุลีโชติ นายก อบต.หน้าพระลาน จังหวัดสระบุรี
11 ก.ย. 2567

บางครั้งความเชื่อมั่นของประชาชนในการเลือก นายกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ก็ไม่ได้มาจากคนในท้องถิ่นเพียงเท่านั้น แต่บางครั้งคนที่ประชาชนมองหา อาจเป็นบุคคลที่มาเป็นปากเสียงให้กับตนเองรวมถึงเป็นผู้มีความสามารถเข้าถึงและเข้าใจความต้องการของประชาชน และส่งต่อความหวังของประชาชนให้เกิดการพัฒนาอย่างแท้จริง

                เหมือนกับบุคคลต้นแบบที่ อปท.นิวส์เชิญเป็นแขกในฉบับนี้ ที่ขอเสนอ ดร.ธนพิพัฒน์ วิธูชุลีโช นายก อบต.หน้าพระลาน จังหวัดสระบุรี ผู้ที่ไม่ใช่คนในจังหวัดสระบุรี แต่ด้วยเป็นผู้ที่มีจิตใจที่พร้อมทำงานเพื่อส่วนรวม มุ่งมั่นพัฒนาความเป็นอยู่ให้คนในพื้นที่ให้ดีขึ้น พร้อมกับดูแลประชาชนช่วงโควิด-19 ได้อย่างรวดเร็วและทั่วถึง โดยการนำวัคซีนให้พี่น้องประชาชน ตั้งแต่โควิด-19 ระบาดช่วงแรกๆ ทำให้เขากลายเป็น นายก อบต. ที่ไม่เพียงประชาชนให้ความไว้วางใจ แต่ยังได้แรงสนับสนุนจากคนในสภาองค์การบริหารส่วนตำบลอย่างเต็มที่ จนทำให้เขาได้คว้าตำแหน่งเป็น นายก อบต. ถึง 4 สมัย

โดย นายกอบต.หน้าพระลาน ได้บอกว่า เขาเป็นคนมีถิ่นกำเนิดจังหวัดราชบุรี ด้านการศึกษาจบระดับปริญญาตรี คณะเกษตรศาสตร์ สาขาส่งเสริมและเผยแพร่การเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปริญญาโท มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ สาขาการเมืองและการจัดการสำหรับนักบริหาร(MPE) และปริญญาเอก คณะรัฐศาสตร์การเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยปทุมธานี

                หลังจากเรียนจบบวกกับความสนใจด้านการเกษตร ทำให้ได้เข้ามาทำงานที่บริษัท เฮิกร์ช จากประเทศเยอรมนี ที่เกี่ยวกับเคมีเกษตรยาปราบศัตรูพืช และ Cargill ทำเกี่ยวกับเรื่องปุ๋ย Fertilizer ก่อนที่ปี 2539 จึงหันมาประกอบธุรกิจกับภรรยาด้านโรงโม่หินที่หน้าพระลาน ซึ่งเป็นธุรกิจของภรรยา โดยช่วงปี 2539 -2540 เศรษฐกิจกำย่ำแย่ เกิดภาวะฟองสบู่แตก ทำให้ตอนนั้นเกิดภาวะหนี้สินร่วมกว่า 100 ล้านบาท

ด้วยหนี้มหาศาล จึงได้เรียกเจ้าหนี้มาทั้งหมด และพร้อมที่จะจ่ายทุกคน แต่ขอให้ดอกเบี้ยแขวนไว้ก่อน รวมไปถึงก็ไปหาลูกค้ามาซื้อหินตนเองและหักไป 40 บ้าง 50 บ้าง ก็ยอม แต่โดยมากอย่างต่ำก็จะจ่าย 20% ทุกเดือน จากมูลหนี้ ความตั้งใจคือ ต้องการจ่ายหนี้ทุกเดือน แต่ดอกเบี้ยต้องไปว่ากันทีหลัง จนช่วงหลังเริ่มเรียนรู้ที่จะขอประทานบัตร ได้มีรุ่นน้องผลัดดันออกเครื่องจักรง่ายขึ้น และสามารถผ่านพ้นปัญหามาได้ในที่สุด โดย ดร.ธนพิพัฒน์ ได้เผยถึงแนวคิดวิธีรับมือกับแก้ปัญหาเอาไว้ว่า

                “ช่วงนั้น เราก็พยายามเรียนรู้ในการทำธุรกิจ เพราะเราไม่เคยทำมาก่อน รวมไปถึงหาวิธีใช้หนี้อย่างไร โดยการลดค่าใช้จ่ายทั้งหมด ไม่ใช้เงินผิดประเภท และใช้เงินให้อยู่ในระบบ พยายามปลดหนี้ทีละเล็กละน้อย จนปัจจุบันสามารถแก้ปัญหาหนี้สินได้จนหมด และก็พยุงฐานะการเงินให้มั่นขึ้นแล้วเราก็ไปทำธุรกิจ finance, leasing เปิดธุรกิจใหม่ 2 ราย”

90

                นายก อบต.ฯ ได้เล่าต่อว่า สำหรับจุดเปลี่ยนที่ทำให้เขาหันมาเดินเส้นทางการเมืองท้องถิ่น อาจจะเรียกได้ว่า เป็นการตกกระไดพลอยโจนก็ว่าได้ เนื่องจากในช่วงปี 2539-40 ได้ใช้กฎหมายเบื้องตนที่ได้ร่ำเรียนมา ไปฟ้องศาลปกครอง เกี่ยวกับค่าเหมืองแร่ซ้ำซ้อนของกรมประชาสงเคราะห์สมัยนั้น และได้ทำให้เก็บค่าเหมืองแร่ซ้ำซ่อนถูกระงับไป ทางผู้ประกอบการรายหนี่งที่มีชื่อว่า “ผู้ใหญ่ช้าง” จึงได้สนับสนุนให้เป็นปากเสียง ด้วยเหตุนี้ต่อมาปี 2546 จึงได้ลงเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล

ซึ่งช่วงนั้นมีการเลือกตั้งครั้งแรกโดยตรง สมาชิกทั้ง 6 คน ก็สนับสนุนให้เป็น หลายคนยังมองคงเป็นไม่ได้ เพราะไม่ใช่คนในพื้นถิ่น แต่เป็นคนจากต่างจังหวัด ทว่า ได้ลงเลือกตั้งและสามารถชนะมาได้ ซึ่งก็บังเอิญชนะคนเก่า อาจเพราะช่วงเวลานั้น ธุรกิจของตัวเองเริ่มฟื้นตัว ซึ่งก่อนหน้านี้เขามองว่า ไม่ค่อยดีมาโดยตลอด แต่หลังๆ เริ่มดีขึ้น ทำให้ประชาชนมองเห็นศักยภาพของตน เลยอยากให้โอกาสและเลือกตนเองเป็นนายก อบต หน้าพระลาน สระบุรี ซึ่งได้ดำรงตำแหน่งนี้ ตั้งแต่ครั้งนั้นจนถึงปัจจุบัน นับรวมแล้วกว่า 4 สมัยหรือประมาณ 17 ปี

                ตอนเริ่มต้นเป็นนายกใหม่ๆ นั้น ด้วยความที่ตนเองเป็นคนต่างถิ่น จึงใช้หลักการเอางบมาตั้งแล้วหารด้วย 8 หมู่บ้าน เพื่อให้งบประมาณแบ่งได้เท่ากันทุกหมู่บ้าน ส่งผลให้ตนเองได้ใจกับฝ่ายที่ไม่ใช่ฝ่ายตน ทำให้ปัจจุบันไม่มีฝ่ายค้าน เพราะเราซื้อใจเขา ซึ่งช่วงแรกๆ คนในสมาชิกสภาก็ยังไม่ค่อยไว้ใจ ดร.ธนพิพัฒน์ มากนัก

                แต่ด้วยการบริหารงบประมาณให้เกิดความเท่าเทียม จึงเป็นจุดหนึ่งที่ทำให้สมาชิกที่ไม่ใช่ฝ่ายของ ดร.ธนพิพัฒน์ ก็ให้ความไว้วางใจ เพราะถึงจะเป็นผู้บริหารคนละขั้ว แต่ก็ให้งบประมาณเท่ากันทุกหมู่ ส่งผลให้เลือกตั้งครั้งที่ 2 ก็สามารถชนะได้ท่วมท้นด้วยคะแนนที่ได้เป็นก่วา 1,000 เสียง ต่างจากครั้งแรกที่ชนะเพียง 230 กว่าเสียงเท่านั้น บ่งบอกว่าประชาชนให้ความไว้วางใจเรามากขึ้น

                “ช่วงเลือกตั้งล่าสุด ถือว่าจุดสูงสุดแล้ว เพราะว่าไม่มีคนแข่งเลย ประกอบกับช่วงนั้น เกิดการระบาดโควิด -19 อย่างรุนแรง ผมน่าจะเป็น อบต.ต้นๆ ในประเทศไทยที่ซื้อวัคซีนมาฉีดให้ประชาชนกว่า 10,000 โดส มูลค่ากว่า 11 ล้านบาท ได้เสียงแรงหนุนทั้งสภาองค์การบริหารส่วนตำบลหน้าพระลาน โดยซื้อมาฉีดให้ประชาชนทั้งตำบลก่อนใครในประเทศไทย ในช่วงเดือนสิงหาคม ปี 2564” นายก อบต. หน้าพระลาน สระบุรี กล่าวถึงผลงานด้วยน้ำเสียงที่ภาคภูมิใจ

                สำหรับความท้าทายในการลงเลือกตั้งนั้น ดร.ธนพิพัฒน์ ได้บอกต่อว่า เนื่องด้วยตนเองไม่ใช่คนท้องถิ่นแต่แรก และก็พร้อมที่จะไม่ได้ ถ้ามีคนท้องถิ่นที่จะแข่ง เพราะนอกจากภรรยาและลูกๆ เท่านั้น ตนก็ไม่มีญาติซักคนเดียวในตำบล หน้าพระลาน กล่าวคือ ไม่ได้มีอิทธิพลในพื้นที่แต่อย่างใด ไม่มีเสียงจัดตั้งจึงยากที่จะแข่งกับเจ้าถิ่น ทำให้ต้องมุ่งเน้นการทำผลงานเป็นสำคัญ ซึ่งจากการเน้นสร้างผลงานให้ประชาชน ทำให้ได้ผลหน้ามือเป็นหลังมือ

จึงกล่าวได้ว่า ผลงานสำเร็จที่เห็นได้ชัดนั้นคือ การทำให้ชีวิตของชาวบ้านมีความเป็นอยู่ดีขึ้นเป็นลำดับ ทั้งสาธารณูปโภคต่างๆ อาทิ บริการสาธารณะที่จัดทำเพื่ออำนวยประโยชน์แก่ประชาชนในสิ่งอุปโภคที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิต เช่น การประปา การไฟฟ้า ก็ดีขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้ง น้ำ ไฟ หรือถนนหนทาง ทุกอย่างก็ถูกพัฒนาเบ็ดเสร็จเรียบร้อยแล้ว ส่งผลให้สวัสดิการชาวบ้านโดยรวมดีขึ้นทั้ง 8 หมู่บ้าน ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

นอกจากนี้ ยังได้มีการสร้างกลุ่มเรียนรู้ รวมไปถึงแก้เรื่องการศึกษา สร้างศูนย์เด็กเล็กให้ดีขึ้น มีการจ้างครูสอนต่างชาติเข้ามา และสมัยนั้น อบต.หน้าพระลาน สระบุรี ก็ถือเป็น อบต. แรกๆ ที่มีแท็บเล็ตก่อนใครในจังหวัด นอกจากนี้ ด้านสาธารณสุขก็ดูแลเป็นอย่างดี การคัดแยกขยะ ผลิตน้ำหมัก

และสิ่งที่กำลังผลักดันผ่านสภา คืออาคารผู้สูงอายุจะทำเป็น day care เพราะสูงอายุทาง อบต.ได้มีการดูแลมาโดยตลอด ทำให้ได้เสียงส่วนใหญ่มาจากคนกลุ่มนี้ เพราะได้มีการรวมกลุ่มจัดตั้งผู้สูงอายุขึ้นมา และก็ได้ผลเป็นอย่างดี รวมไปถึงการเอาวัคซีนมาฉีดในพื้นที่ก่อนใคร โดยส่วนหนึ่งที่ทำให้ได้วัคซีนมาฉีดให้กับชาวบ้านก่อน มาจากที่ได้มีโอกาสไปเรียนสื่อการแพทย์ (HAM.3) ของเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ทำให้มีโอกาสได้รู้จักกับท่าน “คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง” ทำให้มีโอกาสซื้อวัคซีนร่วมจากท่าน และจะทำSmart CityตามแผนDEPA

โดยเหตุผลที่เร่งการฉีดวัคซีนมองว่า เนื่องจากพื้นที่ อบต.หน้าพระลาน โดยส่วนใหญ่เป็นพื้นที่อุตสาหกรรมหนัก เช่น โรงโม่ หากเกิดการระบาดอาจกลายเป็นเรื่องใหญ่ และอาจทำให้อุตสาหกรรมต่างๆ ต้องหยุดตัวลง จึงเลือกที่จะนำวัคซีน ซิโนฟาร์ม มาฉีดให้ชาวบ้านทั้งหมดช่วงต้นๆ ปี 2564 และการบริการประชาชนด้วยแนวคิดที่ว่า “ส่วนตนไม่มี มีแต่ส่วนรวม” หรือการมุ่งสร้างประโยชน์ต่อคนส่วนรวมเป็นหลัก ทำให้สภามีความเชื่อใจและสนับสนุนตนเสมอมาซึ่งทาง นายก อบต.ฯ ยังได้บอกถึงความภาคภูมิใจอีกว่า

“ผมเองไม่มีญาติและไม่มีพี่น้อง ดังนั้น ถ้าผมทำสิ่งใดไม่ถูกต้องหรือไม่ดี ผมคงไม่มีโอกาสที่จะได้เลือกตั้งเข้ามาแน่นอน จึงเป็นความเป็นภูมิใจ ที่เป็นคนจากต่างจังหวัด แล้วได้มาเป็นนายกที่ยาวนานติดต่อกัน”

                ด้านแนวคิดที่พาให้ประสบความสำเร็จได้ในปัจจุบัน ดร.ธนพิพัฒน์ บอกว่า ความสำเร็จนั้นมาจากแนวคิดที่ไม่หยุดนิ่งในการพัฒนา และพยายามหาสิ่งที่ดีทีสุดให้กับชุมชนและสิ่งดีๆ เหล่านี้ก็ย้อนมาหาเราเอง

และจากการที่ทำธุรกิจที่มีหนี้รวมเป็นร้อยๆ ล้าน จนมาสู่เส้นทางการเมืองท้องถิ่น แรงกดดันหรืออุปสรรคอยู่เสมอ โดยวิธีรับมือกับปัญหาคือการค่อยๆ ตั้งสติ ค่อยๆ ไตร่ตรองและนิ่ง ซึ่งจริงๆ แล้วตนเองไม่ใช่คนนิ่งเท่าไหร่นัก แต่เมื่อมีอุปสรรคเข้ามาจึงจำเป็นต้องนิ่งเพื่อสยบปัญหาลงให้ได้นั่นเอง 

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 กันยายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...