ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ย้อนกลับ
เดช เล็กวิชัย รองอธิบดี กรมชลประทาน
12 ก.ย. 2567

“แนวทางการบริหารจัดการน้ำและการป้องกันอุทกภัยของกรมชลประทาน”

จากการติดตามสภาพภูมิอากาศและปริมาณฝนคาดการณ์จากกรมอุตุนิยมวิทยาและสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) (สสน.) คาดหมายลักษณะอากาศของประเทศไทยจะเข้าสู่สภาวะลานีญาในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงกันยายน 2567 อาจจะเกิดฝนตกหนักในหลายพื้นที่ ทำให้เกิดน้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมฉับพลันในพื้นที่ตัวเมือง พื้นที่เศรษฐกิจ หรือแม้ในพื้นที่การเกษตรของประชาชน หากไม่ได้มีการเตรียมการเพื่อการรับมือกับสถานการณ์ ปัญหาที่เกิดจากอุทกภัยอาจจะขยายวงกว้าง สร้างความเสียหายอย่างหนักในหลายพื้นที่

นั่นคือคำอธิบายส่วนหนึ่งในปรากฎการณ์ธรรมชาติที่จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประเทศในระยะอันใกล้นี้ โดย “รองอธิบดี กรมชลประทาน เดช เล็กวิชัย” ผู้บริหารระดับสูงหน่วยงานสำคัญหนึ่งที่มีหน้าที่ดูแลเรื่องน้ำ

อปท.นิวส์เห็นมีความสำคัญยิ่งที่จะเผยแพร่ เตือนภัย รวมทั้งแนวทางในการป้องกันระมัดระวัง ฉบับนี้จึงขอนำคำสัมภาษณ์ รองฯ เดช เล็กวิชัย มานำเสนอในหน้า อปท.นิวส์เชิญเป็นแขกให้ท่านผู้อ่านได้รับทราบกันอย่างกว้างขวางต่อไป

รองฯ เดช กล่าวต่อจากข้างต้นว่า กรมชลประทานได้ติดตามข้อมูลสภาพภูมิอากาศจากหน่วยงานพยากรณ์ เช่น กรมอุตุนิยมวิทยาและสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) (สสน.) มาใช้ประกอบการคาดการณ์พื้นที่เสี่ยงภัย การจัดเตรียมแผนการจัดการน้ำในกรณีที่น้ำท่วมเข้าสู่พื้นที่เสี่ยง ซึ่งกรมชลประทานได้ทำการวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงอุทกภัยน้ำหลากด้วยสถิติข้อมูลที่เคยเกิดขึ้นในอดีต เพื่อเป็นแนวทางในการติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำล้นตลิ่ง สถานการณ์น้ำท่วม ในแต่ละพื้นที่ให้สอดคล้องกับช่วงเวลา นอกจากนี้ มีพื้นที่จุดเฝ้าระวัง/จุดเสี่ยงอุทกภัยในปี 2567 จำนวนกว่า 1,267 จุดทั่วประเทศ แบ่งเป็น 75 จังหวัด 448 อำเภอ 972 ตำบล สำหรับใช้เป็นจุดที่ต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด

กรมอุตุนิยมวิทยาได้คาดหมายปรากฏการณ์เอนโซปี 2567 ที่อยู่ในสภาวะปกติจะเปลี่ยนเข้าสู่สภาวะลานีญาในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงกันยายน ด้วยความน่าจะเป็นร้อยละ 65 และจะต่อเนื่องไปจนถึงช่วงเดือนมกราคมถึงมีนาคม 256

นอกจากนี้ ยังคาดหมายว่า ปริมาณฝนของปี 2567 นี้ จะใกล้เคียงค่าปกติ และจะมีพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยจำนวน 1-2 ลูก โดยมีโอกาสสูงที่จะเคลื่อนผ่านบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือในช่วงเดือนสิงหาคมและกันยายน (ปี 2566 ปรากฎการณ์เอนโซ่อยู่ในสภาวะเอลนิโญ ปริมาณฝนรวมทั้งปีต่ำกว่าค่าปกติ -6%)

Q. กรมชลประทานมีแผนการบริหารจัดการน้ำในภาวะวิกฤต เพื่อป้องกันและบรรเทาภัยอย่างไรบ้าง

การเตรียมความพร้อมและคาดการณ์ – 1. ตรวจสอบความมั่นคงของเขื่อนขนาดใหญ่และขนาดกลางทั้งหมด 470 แห่ง 2. ตรวจสอบอาคารชลประทานพร้อมใช้งาน 1,919 แห่ง 3. เครื่องจักร-เครื่องมือพร้อมใช้งาน 5,382 หน่วย 4. กำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ 5. คาดการณ์ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำ 6. วิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงภัยแล้งและอุทกภัย

การบริหารจัดการ – 1. วางแผนการจัดสรรน้ำและการเพาะปลูกพืชฤดูฝนและฤดูแล้ง 2. เลื่อนปฏิทินการเพาะปลูกในพื้นที่ลุ่มต่ำมีความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายจากอุทกภัยงดเพาะปลูกข้าวนาปีต่อเนื่อง 3. ติดตามวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์โดยคณะอนุกรรมการติดตามและวิเคราห์สถานการณ์น้ำ 4. บริหารจัดการน้ำในอ่างเก็บน้ำให้อยู่ในเกณฑ์เก็บกัก (Rule Curve) 5. ใช้อาคารชลประทานและระบบชลประทานบริหารจัดการน้ำ 6. จัดจราจรน้ำในแม่น้ำสายหลัก 7. แจ้งข้อมูลสถานการณ์น้ำและประชาสัมพันธ์

นอกจากนี้ กรมชลประทานยังมีมาตรการรับมือปัญหาเรื่องน้ำ โดยการกำหนดพื้นที่ วิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมซ้ำซาก พื้นที่เกษตรกรรมเสี่ยงน้ำท่วม กำหนดคน โดยการกำหนดผู้รับผิดชอบในพื้นที่ต่างๆ ที่จะได้รับผลกระทบ รวมทั้งประสานงานกับหน่วยงานในพื้นที่ กำหนดทรัพยากร เช่น เครื่องสูบน้ำ เครื่องจักรกล รถขุด รถแทร็คเตอร์ หรือเครื่องมือต่างๆ ที่กระจายอยู่ในพื้นที่ทั่วประเทศให้เพียงพอ โดยกรมชลประทานมีการเตรียมความพร้อมเครื่องจักร-เครื่องมือไว้ทั่วประเทศจำนวน 5,382 หน่วย แบ่งเป็น เครื่องสูบน้ำ 1,289 เครื่อง เครื่องผลักดันน้ำ 617 เครื่อง และเครื่องจักรสนับสนุนอื่นอีกกว่า 2,476 หน่วย อีกทั้งกรมชลประทาน ยังมีการปรับปฏิทินการเพาะปลูกในพื้นที่ลุ่มต่ำบางระกำและพื้นที่ 10 ทุ่งเจ้าพระยาตอนล่าง ให้เกษตรกรทำการเพาะปลูกข้าวนาปีเร็วขึ้น เพื่อจะได้เก็บเกี่ยวผลผลิตทันช่วงฤดูน้ำหลาก

Q. ในช่วงฤดูฝนนี้ หากมีฝนตกมากกว่าค่าปกติ กรมชลประทานมีวิธีการรับมืออย่างไร

ในช่วงฤดูฝนปี 2567 นี้ กรมชลประทานได้เฝ้าระวัง ติดตามสถานการณ์น้ำในทุกลุ่มน้ำหลักของประเทศไทย เพื่อการบริหารจัดการลดผลกระทบต่อพื้นที่น้ำท่วมที่อาจจะเกิดขึ้น โดยเฉพาะลุ่มน้ำเจ้าพระยา (ปิง วัง ยม น่าน สะแกกรัง ป่าสัก) ลุ่มน้ำชี และลุ่มน้ำมูล

พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา กรมชลประทานจะบริหารจัดการน้ำจากพื้นที่ตอนบน (ภาคเหนือ) ลงสู่พื้นที่ตอนล่าง (อ่าวไทย) มีเครื่องมือการบริหารจัดการประกอบด้วย 1. พื้นที่ลุ่มต่ำทุ่งบางระกำ (ลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนบน) 2. พื้นที่ลุ่มต่ำ 10 ทุ่งตอนล่าง (ลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง) 3. การบริหารจัดการน้ำลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างฝั่งตะวันตก และโครงการแก้มลิง คลองมหาชัย – สนามชัย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ 4. คลองชายทะเล (ลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง-ฝั่งตะวันออก) และ 5. โครงการประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

                สำหรับการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ลุ่มต่ำเจ้าพระยา โดยการปรับปฏิทินการเพาะปลูกพืชนาปีในพื้นที่ลุ่มต่ำให้เร็วขึ้น โดยวางแผนการส่งน้ำสำหรับการเพาะปลูกข้าวในพื้นที่ลุ่มต่ำ เพื่อให้สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตให้แล้วเสร็จก่อนช่วงฤดูน้ำหลาก เพื่อใช้พื้นที่ลุ่มต่ำตัดยอดน้ำเพื่อหน่วงน้ำเก็บไว้ในพื้นที่ตามช่วงระยะเวลาที่กำหนด หลังจากนั้นจะเริ่มทำการระบายน้ำออกจากทุ่งเพื่อให้เกษตรกรสามารถเริ่มทำการเพาะปลูกข้าวในฤดูกาลถัดไป

                การบริหารจัดการน้ำฤดูฝน ปี 2567 ลุ่มน้ำเจ้าพระยา กรมชลประทานดำเนินการดังนี้ 1) ติดตามสถานการณ์น้ำของทั้ง 4 เขื่อนหลัก อย่างใกล้ชิดในทุกสัปดาห์ 2) ปรับลดแผนการระบายของเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน ตั้งแต่กลางเดือนกรกฎาคม 2567เป็นต้นไป ตามสถานการณ์ด้านท้ายน้ำ 3) ปรับลดแผนการระบายของเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ตั้งแต่กลางเดือนกรกฎาคม 2567 เป็นต้นไป ตามสถานการณ์ด้านท้ายน้ำ 4) สำหรับการระบายน้ำผ่านท้ายเขื่อนเจ้าพระยา เมื่อระบาย 700 – 2,730 ลบ.ม./วินาที น้ำจะเริ่มเอ่อท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำนอกคันกั้นน้ำ โดยมีเกณฑ์ดังนี้

5) ในกรณีที่มีการปรับการระบายน้ำหรือเพิ่มการระบายน้ำผ่านเขื่อนเจ้าพระยา จะมีเกณฑ์ผลกระทบ ดังนี้ - ปริมาณการระบายน้ำ น้อยกว่า 700 ลบ.ม./วินาที หน่วยงานในพื้นที่ (สชป.12) เป็นผู้รับผิดชอบบริหารจัดการ  - ปริมาณการระบายน้ำระหว่าง 700 – 1,500 ลบ.ม./วินาที ต้องรายงานต่อคณะอนุกรรมการด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ทราบในโอกาสแรก - ปริมาณการระบายน้ำระหว่าง 1,500 – 2,000 ลบ.ม./วินาที ต้องรายงานต่อคณะอนุกรรมการด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ล่วงหน้า 3 วัน เพื่อพิจารณาเห็นชอบหากเป็นกรณีฉุกเฉินให้ขออนุญาตประธานคณะอนุกรรมการฯ พิจารณาเห็นชอบและให้รายงานคณะอนุกรรมการฯ ในโอกาสแรก - ปริมาณการระบายน้ำมากกว่า 2,000 ลบ.ม./วินาที ให้ขออนุญาตต่อ กนช. ล่วงหน้า 3 วัน เพื่อพิจารณาเห็นชอบการปรับเพิ่ม หากเป็นกรณีฉุกเฉิน ให้ขออนุญาตประธานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) พิจารณาและให้รายงานต่อ กนช. ในโอกาสแรก

6) นอกจากเกณฑ์การบริหารจัดการน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยา กรมชลประทานยังควบคุมระดับน้ำด้านเหนือเขื่อนเจ้าพระยา หากระดับน้ำเหนือเขื่อนสูงกว่า +16.80 ขึ้นไป จะเริ่มส่งผลกระทบต่อพื้นที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาด้านเหนือเขื่อนเจ้าพระยาขึ้นไปจนถึงจังหวัดอุทัยธานี

การบริหารจัดการน้ำในภาพรวม ลุ่มน้ำชี-มูล ปี 2567 - แนวทางการบริหารจัดการน้ำ จะแบ่งเป็นการบริหารพื้นที่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ

พื้นที่ต้นน้ำ 1) การบริหารจัดการน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางให้ดำเนินการบริหารจัดการภายใต้โค้งปฏิบัติการ (Rule curve) ติดตามสถานการณ์น้ำและคาดการณ์ปริมาณน้ำในอ่างฯ  (Dynamic Operation Rule Curve)

พื้นที่กลางน้ำ 1) การบริหารจัดการน้ำในเขื่อนทดน้ำในระบบลำน้ำชี-มูล ให้พิจารณาพร่องน้ำหน้าเขื่อนทดน้ำโดย เขื่อนทดน้ำตอนบนพร่องน้ำหน้าเขื่อนให้มีความจุประมาณ 40% - 70% ของความจุเก็บกัก เพื่อลดปัญหาการระบายน้ำในปริมาณมากช่วงเดือนสิงหาคมของทุกปี

2) เขื่อนทดน้ำ/ปตร.จะพร่องน้ำโดยเปิดบานช่วงกลางเดือนพฤษภาคมถึงกรกฎาคม โดยประเมินสถานการณ์ และแขวนบานปลายเดือนกรกฎาคมถึงปลายเดือนตุลาคม เงื่อนไขระดับน้ำด้านหน้า-ท้ายเขื่อนต่างกันไม่เกิน 30 - 40 ซม.

3) ผันน้ำเข้าสู่แก้มลิง 2 ฝั่งลำน้ำชี จำนวน 15 ทุ่ง พื้นที่หน่วงน้ำ รวม 492,868 ไร่ รวมปริมาณน้ำ 1,020 ล้าน ลบ.ม.

พื้นที่ปลายน้ำ 1)  มติคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำเขื่อนปากมูล วันที่ 31 พ.ค. 2567 ให้การไฟฟ้าควบคุมระดับน้ำที่ สถานีวัดน้ำสะพานเสรีประชาธิปไตย M.7 อยู่ที่ระดับประมาณ +107 ม.รทก. โดยให้เป็นไปตามเทคนิคของการไฟฟ้า 2)              การบริหารจัดการน้ำเขื่อนปากมูล โดยคณะทำงานบริหารจัดการน้ำเขื่อนปากมูล จังหวัดอุบลราชรานี จะพิจารณาการเปิดประตูระบายน้ำของเขื่อนปากมูลตามความเหมาะสมให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในแต่ละปี 3) ปลายเร่งระบายน้ำ (ออกสู่แม่น้ำโขงให้เร็วที่สุด) ดำเนินการเตรียมแผนเครื่องผลักดันน้ำบริเวณสะพานพิบูลมังสาหาร อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี จำนวน 100 เครื่อง โดยพิจารณาตามความเหมาะสมทางด้านวิศวกรรม

 

Q. 10 มาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2567 ที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) กำหนด กรมชลประทาน

ได้ดำเนินการส่วนที่เกี่ยวข้องอย่างไรบ้าง

                มาตรการที่ 1 ทบทวน ปรับปรุง เกณฑ์บริหารจัดการน้ำในแหล่งน้ำอาคารควบคุมบังคับน้ำอย่างบูรณาการในระบบลุ่มน้ำและกลุ่มลุ่มน้ำ (ก่อนฤดูฝน - ตลอดช่วงฤดูฝน) - ทบทวน ปรับปรุงหลักเกณฑ์ปฏิบัติการอ่างเก็บน้ำ (Rule Curve) และเกณฑ์การระบายน้ำเขื่อน/อาคารระบายน้ำ - วางแผน ปรับปฏิทินและควบคุมพื้นที่เพาะปลูกพืชฤดูฝน เพื่อรองรับน้ำหลากและลดความเสียหายจากการเกิดอุทกภัย

มาตรการที่ 2 คาดการณ์ชี้เป้าแจ้งเตือนพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมและพื้นที่เสี่ยงฝนทิ้งช่วง (มี.ค. 67 เป็นต้นไป)  - ติดตามสถานการณ์การเกิดน้ำท่วมในอดีตประกอบการพิจารณาจากจุดเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงอุกทภัย จำนวน 1,267 จุด ทั่วประเทศ - เฝ้าระวังสภาพภูมิอากาศตามแต่ละช่วงเวลา/ช่วงการเกิดอุทกภัยในแต่ละพื้นที่อย่างใกล้ชิด

มาตรการที่ 3 เตรียมความพร้อมเครื่องจักรเครื่องมือ อาคารชลศาสตร์ ระบบระบายน้ำ โทรมาตร บุคลากรประจำพื้นที่เสี่ยง และศูนย์อพยพให้สามารถรองรับสถานการณ์ในช่วงน้ำหลากและฝนทิ้งช่วง - เตรียมความพร้อมเครื่องจักรเครื่องมือ 5,382 หน่วย - อาคารชลประทานพร้อมใช้งาน 2,737 แห่ง  - จัดทำแผนการจัดสรรน้ำช่วงฤดูฝน

มาตรการที่ 4 ตรวจสอบพร้อมติดตามความมั่นคงปลอดภัย คันกั้นน้ำ ทำนบ พนังกั้นน้ำ (ก่อนฤดูฝน -ตลอดช่วงฤดูฝน) - คันกั้นน้ำ ทำนบ และพนังกั้นน้ำ พร้อมใช้งาน 4,785 กิโลเมตร- อาคารชลประทานพร้อมใช้งาน 2,737 แห่ง

มาตรการที่ 5 เพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำของทางน้ำอย่างเป็นระบบ(ก่อนฤดูฝน – ตลอดช่วงฤดูฝน) - แผนการกำจัดวัชพืช 11.24 ล้านตัน - แผนการขุดลอกแหล่งน้ำ 447 รายการ คิดเป็นวงเงินประมาณ 1,475 ล้านบาท สามารถเพิ่มประสิทธิภาพเก็บกักน้ำได้ 37.38 ล้าน ลบ.ม.

มาตรการที่ 6 ซักซ้อมแผนเผชิญเหตุ ตั้งศูนย์ส่วนหน้าก่อนเกิดภัยและฟื้นฟูสภาพให้กลับสู่สภาพปกติ (ตลอดช่วงฤดูฝน) - เตรียมพร้อมจัดตั้งศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้าในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยตามสถานการณ์

มาตรการที่ 7 เร่งพัฒนาและเก็บกักน้ำ ในแหล่งน้ำทุกประเภทช่วงปลายฤดูฝน (ภายใน พ.ค. - พ.ย. 67) - เร่งเก็บน้ำ/สูบทอยน้ำส่วนเกิน ในช่วงปลายฤดูฝน ไปเก็บในลำน้ำ และแหล่งน้ำทุกประเภทไว้ใช้ในฤดูแล้ง  - บริหารจัดการอ่างเก็บน้ำ/แหล่งน้ำตามเกณฑ์ปฏิบัติการอ่างเก็บน้ำ (Rule Curve) หรือเต็มศักยภาพเก็บกัก รวมทั้งพิจารณาให้เหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์

มาตรการที่ 8 สร้างความเข้มแข็ง เครือข่ายภาคประชาชน ในการให้ข้อมูลสถานการณ์ (ก่อนฤดูฝน

- ตลอดช่วงฤดูฝน) - การให้องค์ความรู้ภาคประชาชน ในการติดตาม เฝ้าระวัง และสร้างเครือข่ายภาคประชาชนในพื้นที่เพื่อแจ้งข้อมูลสถานการณ์

มาตรการที่ 9 การสร้างการรับรู้ ศูนย์บริการข้อมูลสถานการณ์น้ำ และประชาสัมพันธ์ (ก่อนฤดูฝน – ตลอดช่วงฤดูฝน) - สายด่วนกรมชลประทาน 1460  - เว็บไซต์ของศูนย์ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะ www.wmsc.rid.go.th - Facebook : กรมชลประทาน, SWOC RID และ รอบรั้วชลประทาน - E-mail : wmsc.1460@gmail.com

มาตรการที่ 10 ติดตามประเมินผลปรับมาตรการให้สอดคล้องกับสถานการณ์ภัย (ตลอดช่วงฤดูฝน)

- ติดตามประเมินผลสถานการณ์อย่างใกล้ชิด

 

Q. สิ่งที่ประชาชนต้องเตรียมพร้อมรับมือจากผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น

                - ติดตามสภาพภูมิอากาศ ติดตามข้อมูลจากหน่วยงานกรมชลประทานอย่างใกล้ชิด เพื่อเตรียมการรับมือสถานการณ์อย่างทันท่วงที

- ประชาชนสามารถติดตามข่าวสารสถานการณ์น้ำของกรมชลประทานได้หลายช่องทาง ทั้ง Facebook กรมชลประทาน เว็บไซต์ศูนย์ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะ www.wmsc.rid.go.th และสามารถสอบถามสายด่วน 1460 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง รวมทั้งสามารถสอบถามสำนักงานชลประทานในพื้นที่ใกล้บ้าน

 

Q. ประเด็นอื่นๆ ที่ต้องการเผยแพร่

                - กรมชลประทานมี Roadmap ในการพัฒนาสู่องค์กรอัจฉริยะที่มุ่งสร้างความมั่นคงด้านน้ำ (Water Security) เพื่อเพิ่มคุณค่าการบริการภายในปี พ.ศ. 2580

                - บูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านน้ำ เพื่อร่วมบริหารจัดการน้ำ ตัดสินใจ ในช่วงสภาวะวิกฤต

                - กรมชลประทาน เข้าร่วมกับคณะทำงานร่วมกับศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้าฯ รองรับสถานการณ์อุทกภัย ของสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ซึ่งได้วางไว้ 4 ศูนย์ส่วนหน้าฯ ประกอบด้วย 1) ศูนย์ส่วนหน้าฯภาคเหนือ จังหวัดสุโขทัย 2) ศูนย์ส่วนหน้าฯภาคกลาง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 3) ศูนย์ส่วนหน้าฯภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดอุบลราชธานี 4) ศูนย์ส่วนหน้าฯภาคใต้ จังหวัดยะลา โดยโครงสร้างของศูนย์ส่วนหน้าฯ กรมชลประทานร่วมเป็นส่วนอำนวยการ ส่วนปฏิบัติการ และส่วนสนับสนุน ทั้งนี้ กรมชลประทานได้เข้าร่วมการซักซ้อมแผนเผชิญเหตุเตรียมพร้อมรับมืออุทกภัยลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ศูนย์ส่วนหน้าฯภาคกลาง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประจำปี 2567 เมื่อวันที่ 10 ก.ค.67 แล้วจำนวน 1 ครั้ง

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 กันยายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...