ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
คอลัมนิสต์ / บทวิเคราะห์ ย้อนกลับ
ผลกระทบของกฎหมายพิเศษหรือกฎหมายความมั่นคง ทำให้การพัฒนาเมืองในจังหวัดชายแดนใต้ถึงจุดถดถอย
23 มิ.ย. 2568

การวิเคราะห์เชื่อมโยงพัฒนาการของกฎหมายมั่นคงในพื้นที่ความขัดแย้งรุนแรงในจังหวัดชายแดนใต้กับการพัฒนาเมืองที่อยู่ในบริบทปัจจุบัน ซึ่งดูจากแผนการพัฒนาจังหวัดและเมืองในรอบ 5- 10 ปีที่ผ่านมาและการบรรลุเป้าหมายตามตัวชี้วัด SDGs เป้าาหมายที่  11: ทำให้เมืองและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มีความครอบคลุม ปลอดภัย มีภูมิต้านทานและยั่งยืน (Make cities and human settlements inclusive, safe, resilient and sustainable) มีเป้าประสงค์ครอบคลุมในหลายประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเมืองและชุมชน อาทิ การเข้าถึงที่อยู่อาศัยและบริการพื้นฐาน , การยกระดับชุมชนแออัด  การเข้าถึงคมนาคมขนส่งที่ยั่งยืน ปลอดภัย จ่ายได้ และคำนึงคนเปราะบางกลุ่มต่าง ๆ ด้วย  การวางแผนของบริหารจัดการการเมืองและชุมชนอย่างมีส่วนร่วม บูรณาการและยั่งยืน

          กฎหมายพิเศษ หรือ กฎหมายความมั่นคง เป็นกฎหมายที่มีเนื้อหาให้อำนาจรัฐจัดการกับสถานการณ์พิเศษ หรือปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในรัฐในยามที่กฎหมายปกติทั่วไป ไม่อาจจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพเหตุผลเบื้องหลังของกฎหมายความมั่นคงเหล่านี้โดยรวมคือความต้องการที่จะจัดการกับภัยคุกตามความสงบเรียบร้อยอันเป็นความเสียงต่อการดำรงอยู่ของรัฐ และของสังคม ซึ่งถือว่าเป็นเครื่องมือสำคัญ และจำเป็นต่อรัฐในสถานการณ์ทางการเมืองอันไม่ปกติ ทำให้รัฐสามารถระงับ ยับยั้ง หรือแก้ไขสถานการณ์ได้อย่างทันท่วงทีอย่างไรก็ตามทันทีที่มีการบังคับใช้เครื่องมือดังกล่าว ย่อมส่งผลให้บรรดากฎ ระเบียบทางการเมืองในภาวะปกติถูกระงับ หรือยกเลิกไปชั่วคราวด้วย และถูกแทนที่ด้วยอำนาจพิเศษภายใต้ระเบียบทางการเมืองในสภาวะยกเว้นขึ้นมาซึ่งในจังหวัดชายแดนภาคใต้ จะมี กฎหมายมั่นคงในพื้นที่มี 3 ฉบับ ด้วยกันที่ใช้อยู่คือ พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พ.ศ. 2457 พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 และพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 ซึ่งกฎหมายทั้งสามฉบับนี้ มีผลต่อการพัฒนาการเมืองในจังหวัดปัตตานี จังหวัด ยะลา จังหวัดนราธิวาส และ จังหวัดสงขลาใน 4 อำเภอ ( จะนะ/นาทวี /เทพา/สะบ้าย้อย )

          ในทศวรรษที่ผ่านมา หลักนิติธรรมในฐานะเป็นเงื่อนไขหรือปัจจัยสําคัญของ กระบวนการพัฒนาของมนุษย์ได้รับความสนใจมากขึ้น และเป็นที่ยอมรับกันว่า หากกฎหมายไม่สามารถใช้บังคับได้อย่างเสมอภาคสําหรับทุกคน ไม่ว่าใครจะมีสถานะหรือตําแหน่งอย่างใด ดังนั้น เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างหลักนิติธรรมกับยุทธศาสตร์การพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน หลักนิติธรรมจะเป็นปัจจัยสำคัญต่อการพัฒนาด้านต่าง ๆ ดังนี้ เช่น การปกป้องสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติในเมือง ปัจจัยในการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจเมือง ปัจจัยในการส่งเสริมความยุติธรรมในด้านสังคมและเศรษฐกิจในเมือง ปัจจัยในการป้องกัน บรรเทาและการลงโทษ อาชญากรรม ความรุนแรงและ ความขัดแย้งในสังคมเมือง ปัจจัยของหลักการยอมรับการตรวจสอบได้ (Accountability) และการลดการคอรัปชั่นในเมือง และปัจจัยส่งเสริมการจัดทําบริการสาธารณะของเมืองให้มีความเป็นธรรม เป็นต้น

หากหลักนิติธรรม โดยเฉพาะกฎหมายความมั่นคงที่ดำเนินการกับกิจกรรมในพื้นที่อย่างเข้มข้น ส่งผลให้บรรยากาศของเศรษฐกิจและสังคมในเมืองถูกแช่แข็งไว้ รวมถึงบรรยากาศในการลงทุนและกิจกรรมทางเศรษฐกิจอื่นๆ และอาจจะส่งผลกระทบในเชิงจิตวิทยาของคนในพื้นที่ เช่น เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบมากขึ้น หลายจุดรัฐใช้กฎหมายความมั่นคงมากขึ้น โดยเฉพาะการยกระดับความเข้มข้นในเชิงปฏิบัติ จะทำให้เกิดความตึงเครียดกับฝ่ายพลเรือนในเมืองในการดำเนินกิจกรรมที่จะทำให้เมืองพัฒนาไปได้อย่างยั่งยืน ....คำถามสำคัญคือ ทุกภาคส่วนควรจะมีส่วนในกระบวนการแก้ไขสันติภาพและปลดล๊อคกฎหมายความมั่นคงบางฉบับให้เหมาะสมกับสถานการณ์และพื้นที่

 

คอลัมน์ : รอบรั้วสถาบันพระปกเกล้า  โดย : ศูนย์สื่อสารองค์กร

เขียนโดย ดร.อภิญญา ดิสสะมาน

นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญ สำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า

 

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 มิถุนายน 2568
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
17 มิ.ย. 2568
หากจะหันไปมองการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือ อบจ. ที่ผ่านมาหมาดๆ เมื่อช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ที่ผ่านมา ใน 47 จังหวัดทั่วประเทศ กล่าวได้ว่า กลุ่ม “บ้านใหญ่” กวาดไปได้เป็นส่วนใหญ่ตามคาด และก็มีจำนวนถึง 29 คน ที่คว้าชัยการเลือกตั้งต...