ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
เกษตรนำไทย ย้อนกลับ
ภูมิปัญญาด้านการทำเกษตรธาตุ 4
20 ธ.ค. 2561

นิยามเกษตรธาตุ 4 คือ คน พืช และสัตว์ มีธาตุทั้ง 4 คือ น้ำ ดิน น้ำ ลม ไฟมากน้อยต่างกัน การทำเกษตรธาตุ 4 จะต้องมีความรู้เรื่องธาตุ และสามารถแยกแยะความเหมาะสมของพืชที่จะนำมาปลูกในหลุมเดียวกัน และดำเนินชีวิตตามหลักศาสนา

                ปรัชญาเกษตรธาตุ 4 เราต้องทำด้วยตัวเราเอง ทำให้ปริมาณที่น้อยๆ ทำเพื่อพิกินและมีความสุข เราต้องทำไปข้างหน้า อย่าทำถอยหลัง และก็ไม่ต้องลงทุนมาก ไม่ต้องรับร้อน ทำแล้วมีความสุข ไม่ต้องไปคิดถึงค่าอาหาร ค่าปุ๋ย ค่าแรง หรือแม้แต่ค่าหนี้ มีเงินเราก็กิน ไม่มีเงินเราก็กิน

                ความรู้เรื่องธาตุ และธาตุของต้นไม้แต่ละชนิด

            ธาตุน้ำ รสจืด เช่น มังคุด, กล้วย, จำปาดะ, อ้อย, มะม่วง, ชมพู่

                ธาตุดิน รสฝาด เช่น มะมุด, สะตอ, เหรียง, ใบยาสูบ

                ธาตุลม รสหื่น เฝื่อน เช่น ลองกอง, ลางสาด, ผักเสี้ยนผี

                ธาตุไฟ รสเผ็ด ร้อน เช่น ทุเรียนฒ พริก, ส้ม, เป้า, ฝยแสนห่า, ไฟเดือนห้า, พาหมี

                เทคนิคเกษตรธาตุ 4

            การขยายพันธุ์พืช

            ปลูกด้วยเมล็ดเป็นสิ่งที่ดีที่สุด เนื่องจากเราจะได้ต้นที่สมบูรณ์ แข็งแรง ทนต่อโรค ทนต่อสภาพภูมิอากาศ ระบบรากก็สมบูรณ์ และที่สำคัญก็คือ ประหยัดเงิน ซึ่งบางครั้งเราอาจจะได้ต้นพันธุ์ที่ดีกว่าต้นแม่เสียด้วยซ้ำ ในการที่จะเอาเมล็ดมาปลูก ควรเอามาปลูกให้หลานเมล็ด หรือหลากหลาย ถ้าหากเราปลูกเพียงไม่กี่เมล็ด บางครั้งมันอาจตายไป

                การปลูกพืชโดยคำนึงถึงระบบรากของพืช

                มีการดัดแปลงพื้นที่การปลูกและกระบวนการปลูก โดยคำนึงถึงระบบรากเป็นหลัก เช่น มังคุด จะเป็นพืชที่มีระบบราก การหาอาหารจะอยู่ลึกต่างกับพืชชนิดอื่น จึงได้นำไปปลูกร่วมกับทุเรียน ซึ่งมีระบบรากที่ตื้น แต่การหาอาหารของทุเรียน จะชอบหาอาหารบริเวณไกลจากต้น คือบริเวณปลายเงาของทรงพุ่มของพืช ซึ่งหากทดลองขุดดูจะเห็นได้อย่างชัดเจน สำหรับต้นลองกอง, ลางสาด นั้น จะชอบกินอาหารบริเวณใกล้ๆ กับลำต้น ซึ่งไม้ผลเหล่านี้มีระบบรากฝอยอยู่มาก ดังนั้น เราไม่ต้องไปกังวลเลยว่า หากปลูกร่วมกันแล้วต้นไม่มันจะแย่งอาหารกัน

                วิถีชีวิตในเกษตรธาตุ 4

                การเกษตรในปัจจุบัน ถ้าเราปลูกต้นใดแบบเดี่ยวๆ หรือเชิงเดี่ยว ถ้ามันตายก็จะตายไปเลย การปลูกใหม่ก็โตไม่ทัน แต่ถ้าเราปลูกแบบรวมหรือหลุมเดียว 3-4 ต้น ต้นหนึ่งตายยังเหลืออีก 2 ต้น ซึ่งหากเรานำสวนเหล่านั้นมาเทียบแบบสวนเกษตรธาตุ 4 ไม้จะอายุยืนกว่า และได้ผลผลิตที่คุ้มค่ากว่า และลงทุนน้อยกว่า แทบได้ว่าไม่ต้องออกเงินเลย ไม่เหมือนกับการปลูกพืชแบบเชิงเดี่ยว ซึ่งจะต้องใช้ทุนเยอะมาก เกษตรธาตุ 4 นั้น สำคัญเราต้องทำทุกวัน วันละนิด แบบพิดี เน้นความสุข เน้นการพึ่งตนเองแบบพอเพียง และที่สำคัญในการปลูกพืช เราจะต้องดูลักษณะของพื้นที่เป็นหลักว่า ควรจะพิ่มเติมหรือลดอะไร

                การปลูกพืชโดยคำนึงถึงระบบธาตุ 4

            มีความเชื่อว่า ไม้ทุกชนิดมีธาตุ 4 อยู่ในตัว แต่จะมีธาตุใดธาตุหนึ่งในแต่ละต้นมากน้อยต่างกัน เช้น ต้นมังคุด มีธาตุดินกับธาตุน้ำมาก ธาตุไฟและธาตุลมน้อย ยางพาพรามีธาตุไฟมาก ต้นกล้วยมีธาตุน้ำมาก เป็นต้น จากการทดลองเอาไม้ผลชนิดต่างๆ มาทดลองปลูกรวมกันในสวนพบว่า ต้นไม้ที่มีธาตุเหมือนกัน ไม่ควรเอามาปลูกร่วมกัน แต่ถ้าจะปลูกรวมกัน ต้องเอาไม้ผลอย่างอื่นมาร่วมด้วย หรือไม้ผลที่มีธาตุต่างกันมาร่วมกันได้ เช่น ถ้ามีธาตุไฟมาก ก็นำพืชที่มีธาตุน้ำมาปลูกใกล้กัน เพื่อได้พึ่งพาต่อกันททำห้ออกดอกออกผลเต็มเม็ดเต็มหน่วย

                รูปแบบการทำเกษตรคนจน

            หลักการทำสวนเพื่อการเลี้ยงชีพด้วยการปลูกพืชหลายชนิด การปลูกพืชก็ควรจะมีความรู้เรื่องการให้ผลผลิตของพืชแต่ละชนิด เพราะว่าการทำเกษตรแบบนี้ ต้องให้ได้รับผลในช่วงระยะเวลาภายใน 3 เดือน ต้องการใช้ประโยชน์จากพืชชนิดใด ก็ปลูกลงไปแล้วค่อยเพิ่มชนิดของพืชที่ปลูก เพื่อให้มีผลผลิตเพิ่มขึ้นในช่วงระยะเวลายาว ตัวอย่างเช่น มีที่ดินเพียง 2 ไร่ ในที่ดินผืนนี้เราอยากจะปลูก ทุเรียน ลองกอง มังคุด สะตอ เราก็ไปซื้อกิ่งพันธุ์มาปลูก โดยเราจะต้องเลือกกิ่งพันธุ์ที่มีกิ่งมากๆ แต่ถ้าเราสังเกตให้ดีว่า ในการซื้อกิ่งพันธุ์คนจะไม่ชอบซื้อ เนื่องจากมันยุ่งยากและดูเกะกะในการขนส่ง เมื่อเอาไปปลูกมันจะแย่งอาหาร หลังจากที่ได้กิ่งพันธุ์มาแล้ว เมื่อเรานำไปปลูก เราก็เตรียมกิ่งพันธุ์ไว้ หลังจากนั้นก็นำต้นที่ใส่ถุงไว้ นำเอาไปทาบกิ่งพันธุ์ที่เราซื้อมา เราไม่ต้องทาบมาก เอาเพียงว่าต้นละ 2 กิ่งก็พอ ทาบให้หมดทุกต้น พอได้ประมาณ 3 เดือน ก็ตัดกิ่งเหล่านั้นออก และวนำกิ่งนั้นไปขาย เอากำไรเพียงต้นละ 10 บาท ก็พอ  เอาเงินที่ขายกิ่งพันธุ์ไปซื้อผลไม้ที่ขายอยู่ในตลาด รับรองได้ว่าได้กินอย่างแน่นอน

                การบำรุงดูแลรักษาและการป้องกัน

            การดูแลไม่ต้องไปดูแลมากนัก แต่ต้องดูแลทุกวัน แต่ในช่วงเวลาที่พืชมันพัก เราต้องดูแลเขา เช่น ปุ๋ย ถางหญ้าในแปลง ปุ๋ยที่ใช้อยู่ตอนนี้ก็มีอยู่ 3 สูตร คือ

                สูตรที่ 1 คือ ปุ๋ยตราจระเข้

                สูตรที่ 2 คือ ปุ๋ยคอก

                สูตรที่ 3 คือ สูตรธรรมชาติ

                ปุ๋ยตราจระเข้ก็คือ จอบ มีดพร้าและคราด ให้ปุ๋ยในช่วงเข้าฤดูฝน โดยจะถางหญ้าในช่วงนี้ เพราะว่าถ้าไปถางในช่วงฤดูแล้ง ต้นไม่ที่เราเริ่มปลูกหรือต้นเล็กๆ มันจะตายหมด เพราะไม่มีความชื้นคอยให้น้ำ หรือช่วยดูดความร้อนอยู่ในช่วงนั้น แต่ถ้าเราถางหญ้าในช่วงฟโฝน พอเราถางจนหมด กว่าจะถึงฤดูแล้ง ต้นไม้ที่เราถางมันก็งอกออกมาพอดี ทำให้ช่วงหน้าแล้งพื้นที่ของเราก็ยังชื้นอยู่เสมอ หรือหน้าดินไม่แห้ง สิ่งตรงนี้เป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่มุกคนควรจะจำเอาไว้ ส่วนในเรื่องของการให้ปุ๋ยนั้น จะคำนึงถึงความเป็นธรรมชาติของต้นไม้ จึงปล่อยให้เจริญงอกงามตามธรรมชาติ และจะใส่ปุ๋ยบำรุรักษาเป็นครั้งคราวเท่านั้น เป็นจำพวกปุ๋ยคอก ปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยหมัก เศษหญ้า ฟาง ไม้ผุ ฯลฯ ในการใส่ปุ๋ยคำนึงช่วงขอองฤดูกาล เราไม่จำเป็นต้องดูช่วงระยะเวลามากนัก แต่เราต้องสังเกตด้วยว่า ถ้าเราให้ปุ๋ยในช่วงฤดูแล้งนั้น ต้นไม้จะนำไปใช้ได้หรือไม่ ช่วงระยะเวลาที่ดีที่สุดคือ หลังจากที่ถางหญ้าในสวนแล้ว ช่วงนั้นจะเป็นช่วงที่ให้ปุ๋ยกับต้นพืชเหล่านั้น หรือในช่วงฤดูฝน สิ่งสำคัญเราต้องให้น้ำอยู่ตลอด หากเราเพิ่งปลูกเป็นครั้งแรก โดยเฉพาะในแปลงพื้นที่เกษตรใหม่ๆ

                การยึดมั่นต่อหลักคำสอนของศาสนา

                ในหลักการของศาสนาอิสลามก็ด้เน้นถึงการดำรงอยู่ร่วมกันของมนุษย์กับธรรมชาติอย่างมีคุณธรรมเช่นเดียวกัน มีความเข้าใจหลักของธรรมชาติ เข้าใจถึงสภาพข้อเท็จจริงที่เป็นอยู่ตามธรรมชาติ เพื่อให้มนุษย์ได้อาศัยและใช้สอยประโยชน์จากธรรมชาติตามความจำเป็น และไม่ทำลายธรรมชาติโดยไม่เกิดประโยชน์

                การปลูกพืชโดยคำนึงถึงความต่างระดับของพืช

                ต้นไม้แต่ละต้นแต่ละชนิดจะขึ่นไม่เหมือนกัน เช่น ไม้ผลประเภทมังคุด ลองกอง ลางสาด จะเป็นพันธุ์ไม้ขนาดกลาง และต้องการแสงแดดร่มปานกลาง สามารถปลูกถัดลำดับลงมาได้ และจะไม่ส่งผลกระทบต่อต้นไม้ชนิดอื่น ส่วนพืชชนิดสูงก็ปลูกให้อยู่รวมกันกับพืชที่ขึ้นในระดับปานกลางได้ ส่วนในพื้นที่ว่างเราก็สามารถปลูกพืชแซมประเภท พริก ตะไคร้ สมุรไพร ฯลฯ ได้อีกด้วย แต่ในการปลูกพืชนั้น เราต้องดูด้วยว่า พืชเหล่านั้นให้ผลผลิตตรงส่วนไหน บางชนิดอาจให้ผลที่ปลายยอด, ปลายกิ่ง บางชนิดอาจให้ผลจามกิ่งหรือตามลำต้น ดังนั้น เราควรดูให้แน่ใจก่อนที่จะนำมาปลูก และหากมีไม้ป่างอกขึ้นมาในแปลง เราก็ไม่ควรตัดทิ้ง เนื่องจากไม้บางอย่างอาจเป็นประโยชน์กับเรากับพืชกับสัตว์

                ภูมิปัญญาด้านการทำเกษตร 4

            การทำเกษตร 4 มีแนวคิดในการจัดการทรัพยากรดิน น้ำ และป่าไม้ เพื่อให้เกิดความยั่งยืน ดังนี้

                ย.ที่ 1 ยั่งยืน ต่อชีวิต คือต้องทำให้ชีวิตทั้งคน พืช สัตว์ ยั่งยืน แต่ไม่ได้หมายความว่าไม่ตาย ทุกคนต้องเข้าใจก่อนว่า ทุกสิ่งทึชุกอย่างมีเกิดแล้วมีดับ การทำเกษตรรูปแบบนี้ใช้ปัญญานำ โดยคิดเสมอว่า ทำแล้วไม่เป็นอันตรายกับคนอื่น เพราะทุกวันนี้เกษตรกรหลายคนทำโดยไม่มีความรู้ หรือรู้แต่คาดไม่ถึง ใช้ปุ๋ยเคมีและยาฉีดหญ้าในแปลงเพื่อจะปราบหญ้า แต่หารู้ไม่ว่าทำลายพืชสมุนไพรและสัตว์ไปหลายชนิด และยังมีสานเคมีตกค้าง ทำให้ดินเสื่อม เวลาฝนตกสานเคมีก็จะไหลลงสู่พื้นที่ที่ต่ำกว่า (แปลงของคนใกล้เคียง) และจะไหลลงสู่แม่น้ำ ทำให้น้ำเสีย และจะส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในน้ำ ถ้าทุกคนสามารถลด, ละ, เลิกการใช้สารเคมีก็จะทำให้สุขภาพดี

                ย.ที่ 2 ยั่งยืนต่อต้นน้ำ คือต้องคำนุงถุงป่าต้นน้ำ และมีวิธีจัดการป่า, น้ำอย่างถูกวิธี และต้องช่วยกันสร้างป่าเพื่อเพิ่มน้ำ และปลูกไม้เสริมในแปลงของตัวเอง เท่ากับเราได้รักษาป่าและต้นน้ำ “ป่าอยู่รอก เราอยู่ได้”

            ย.ที่ 3 ยั่งยืนต่อดิน คือไม่ใช้สารเคมีทำลายหน้าดิน (ปุ๋ยเคมีและยาฉีดหญ้า) เพราะสารเคมีตกค้างทำให้ดินเสื่อม เมื่อใช้ไปนานๆ ก็ต้องเพิ่มปริมาณการใช้ หรือต้องลงทุนทั้งเงินทั้งแรงมากขึ้น

                ย.ที่ 4 ยั่งยืนต่อผลผลิต คือการปลูกพืชหลายชนิดในแปลง ให้สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ตลอดปี เช่น ไม้ผล, ไม้ใช้สอย, ผักพื้นบ้าน, ไม้เศรษฐกิจ ฯลฯ

การปลูกไม้ที่ทำให้มีรายได้ตลอดปี

            เดือน มกราคม-เมษายน                       คือ มะนาว, กล้วย, ผักพื้นบ้าน ฯลฯ

                เดือน พฤษภาคม-มิถุนายน                  คือ สัมโอ, ละมุด, กล้วย, ผักพื้นบ้าน ฯลฯ

                เดือน สิงหาคม-ธันวาคม                      คือ ทุเรียน, เงาะกล้วย, ผักพื้นบ้าน ฯลฯ

ประโยชนที่ได้รับ

  1. ลดความเสี่ยงจากการแปรปรวนของสภาพลม ฟ้า อากาศ
  2. ลดความเสี่ยงจากความแปรผันของราคาผลผลิต
  3. ลดความเสี่ยงต่อการระบาดของศัตรูพืช
  4. ช่วยเพิ่มรายได้และกระจารายได้ตลอดปี
  5. ช่วยก่อให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพ
  6. ช่วยกระจายการใช้แรงงาน
  7. ช่วยก่อให้เกิดการหมุนเวียน (Recycling) ของกิจกรรมต่างๆ ในระบบไร่นา
  8. ช่วยให้เกษตรกรมีอาชีพเพียงพอต่อการบริโภคภายในครัวเรือน
  9. ช่วยทำให้คุณภาพชีวิตของเกษตรกรดีขึ้น
หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...