นายพัฒนา แสงศรีโรจน์ รองผู้ว่าการยุทธศาสตร์ ในฐานะโฆษก
( ) เปิดเผยว่า หลังจากที่คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) มีมติยกเลิก เหลว (LNG) ตามสัญญาระยะยาว ของ ไม่เกิน 1.5 ล้านตันต่อปี ทำให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนและสร้างความกังวลใจแก่พนักงาน โดยนายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน ในฐานะประธานกรรมการ ได้มาประชุมร่วมกับนายวิบูลย์ ฤกษ์ศิระทัย ผู้ว่าการ พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร และสหภาพแรงงาน เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับมติ กพช. ดังกล่าวโดยนายกุลิศ ได้ทำความเข้าใจและให้ข้อมูลเกี่ยวกับ มติ กพช. ที่ได้ให้ กฟผ. ยกเลิกการนำเข้า LNG ไม่เกิน 1.5 ล้านตันต่อปี เนื่องจากความต้องการใช้ก๊าซฯในประเทศไม่ได้เพิ่มสูงขึ้น และปริมาณก๊าซฯที่ผลิตได้จากอ่าวไทยไม่ได้ลดลงอย่างที่เคยคาดการณ์ไว้ จึงต้องมีการพิจารณาทบทวนปริมาณการนำเข้า LNG อีกครั้ง ซึ่งมติ กพช. ดังกล่าวยังไม่เป็นทางการ เนื่องจาก กพช. ต้องเสนอผ่านการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการก่อน
ทั้งนี้ ในเบื้องต้น กพช. ได้มีมติเห็นชอบให้ กฟผ. เตรียมความพร้อมทำหน้าที่เป็นผู้นำเข้า LNG รายใหม่ ในรูปแบบการซื้อเป็นรายครั้ง (Spot) ไม่เกิน 200,000 ตัน เพื่อทดสอบระบบการแข่งขันเสรีในกิจการก๊าซธรรมชาติ โดยแบ่งการนำเข้าเป็น 2 ลำเรือ ลำเรือละ 65,000 ตัน ซึ่งลำแรกจะมาถึงในวันที่ 28 ธันวาคม 2562 ส่วนลำที่ 2 จะนำเข้าประมาณเดือนเมษายน 2563 โดยปลัดกระทรวงพลังงาน ยืนยันพร้อมส่งเสริมและผลักดันให้ กฟผ. เป็นผู้นำเข้า LNG รายที่สองของประเทศในระยะยาว อีกทั้งได้สั่งการให้ กฟผ. เร่งจัดทำรายงานผลสำเร็จการนำเข้า LNG ล็อตแรก และจัดทำแผนการใช้ LNG ในปี 2563 – 2565 สำหรับโรงไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพของ กฟผ. ได้แก่ โรงไฟฟ้าบางปะกง ชุดที่ 5 จังหวัดฉะเชิงเทรา โรงไฟฟ้าวังน้อย ชุดที่ 4 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และโรงไฟฟ้าพระนครใต้ทดแทน ชุดที่ 1 จังหวัดสมุทรปราการ เสนอต่อคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ภายในเดือนมกราคม 2563 และ กพช. ภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ซึ่งหาก กฟผ. สามารถนำเข้า LNG ได้ตามแผนจะสามารถทำให้ราคาค่าไฟฟ้าของประเทศถูกลง เนื่องจากมีต้นทุนที่ต่ำลง และยังเป็นการส่งเสริมการแข่งขันในกิจการก๊าซธรรมชาติ เพื่อผลักดันประเทศไทยสู่การเป็นศูนย์กลางการค้า LNG (LNG HUB) ต่อไป