ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
คุณภาพชีวิต ย้อนกลับ
กรมแพทย์ชูผ่าตัดยุคNew Normalฝ่าโควิด-19
13 ม.ค. 2564

นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า การแพร่กระจายเชื้อทางอากาศในสถานพยาบาลเป็นปัญหาสำคัญทางการแพทย์และสาธารณสุขทั่วโลก ยิ่งในช่วงสถานการณ์การระบาดของโรค COVID-19ส่งผลให้จำเป็นต้องมีมาตรการป้องกันการติดเชื้อสำหรับผู้ป่วย และบุคลากร โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีความจำเป็นจะต้องเข้ามาใช้บริการโรงพยาบาล เช่น เข้ารับการผ่าตัด ดังนั้น เพื่อให้เกิดการบริหารทรัพยากรทางสาธารณสุขอย่างมีประสิทธิภาพ กรมการแพทย์ จึงได้ร่วมกับเครือข่ายองค์กรการแพทย์จากภาครัฐและเอกชน กลาโหม มหาวิทยาลัย จัดทำ จึงได้จัดทำ “แนวทางการปรับปรุงห้องผ่าตัดความดันลบ (Modify Negative Pressure Operating Room) สำหรับผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในสถานการณ์ฉุกเฉิน” ให้สามารถจัดบริการผ่าตัดแก่ผู้สงสัยว่าติดเชื้อและผู้ป่วย อันนำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการดูแลรักษา เกิดความปลอดภัยของผู้ป่วย แพทย์ พยาบาลและบุคลากรทางการแพทย์

          ซึ่งในกรณีผู้ป่วยติดเชื้อที่ยืนยันผลการตรวจแล้ว และจำเป็นต้องทำการผ่าตัดเป็นกรณีเร่งด่วนฉุกเฉิน แพทย์จะพิจารณาให้ใช้ห้องผ่าตัดความดันลบหรือ negative pressure โดยจะต้องมีการควบคุมมาตรฐาน อุปกรณ์รวมทั้งสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย เช่น การทำ Air balance เพื่อควบคุมความดันของห้องต่าง ๆ ทิศทางการไหลของอากาศ ทั้งภายในห้องผ่าตัดและห้องใกล้เคียง ระบบทางทางเดินแยกเพื่อไปห้องชำระล้างเชื้อโรคทั้งก่อนและหลังผ่าตัด รวมทั้งจำกัดจำนวนแพทย์ เจ้าหน้าที่ที่ทำการผ่าตัดให้น้อยที่สุด และจะต้องใส่อุปกรณ์ป้องกันตามมาตรฐาน เช่นชุด PPE หน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันการติดเชื้อ โดยจะมีการทำความสะอาดห้องและเครื่องมือทางการแพทย์ทุกครั้ง รวมทั้งผู้มารับบริการที่โรงพยาบาล ต้องสวมหน้ากากอนามัยทุกครั้ง ซึ่งกระทรวงสาธารณสุข โดยกรมการแพทย์ได้ดำเนินการเป็นต้นแบบในโรงพยาบาลในสังกัด เช่น โรงพยาบาลราชวิถี โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี และได้ขยายไปยังโรงพยาบาลต่าง ๆ ตามภูมิภาคในลำดับต่อไป

          อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวทิ้งท้ายว่า การพัฒนารูปแบบระบบบริการทางการแพทย์วิถีใหม่ มุ่งให้ประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นและสามารถปรับตัวให้เข้ากับฐานวิถีชีวิตใหม่ (New Normal) ในช่วงที่ต้องเผชิญกับสถานการณ์โรคโควิด 19 รวมทั้งพัฒนาการให้บริการของโรงพยาบาลด้วยการนำระบบบริหารจัดการการให้บริการทางการแพทย์ (Model Implementation) ตั้งแต่การคัดกรอง จัดคิวผู้มารับบริการ เพื่อลดความแออัด รวมถึงการให้บริการห้องผ่าตัด ห้องฉุกเฉิน ด้วยการนำระบบเทคโนโลยีเข้ามาสนับสนุนการทำงาน ช่วยให้เกิดประสิทธิภาพอย่างสูงสุด

 

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 31 มีนาคม 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...