ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
เศรษฐกิจชุมชน ย้อนกลับ
ภาวะการค้าระหว่างประเทศของไทยประจำเดือนมิถุนายน 2560
20 ก.ค. 2560

การส่งออกของไทยในเดือนมิถุนายน 2560 ขยายตัวในระดับสูงอย่างต่อเนื่องที่ร้อยละ 11.7 หรือคิดเป็นมูลค่า 20,282 ล้านดอลลาร์ สรอ. ส่งผลให้ภาพรวมการส่งออกไตรมาส 2 ขยายตัวร้อยละ 10.9 เร่งตัวขึ้นจากไตรมาส 1 ที่ขยายตัวร้อยละ 4.9 และเป็นการขยายตัวสูงสุดในรอบ 17 ไตรมาส ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก โดยการส่งออกขยายตัวดีขึ้นในทุกตลาดสำคัญโดยเฉพาะตลาดจีน ญี่ปุ่น อาเซียน5 และ CLMV อีกทั้งขยายตัวในระดับสูงในทุกกลุ่มสินค้า โดยกลุ่มสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 8 ทั้งในด้านราคาและปริมาณ อาทิ ยางพารา น้ำตาลทราย ผักผลไม้สดแช่แข็งกระป๋องและแปรรูป ไก่สดแช่แข็งและแปรรูป ในขณะที่กลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 โดยเฉพาะ คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยาง ผลิตภัณฑ์พลาสติก เม็ดพลาสติก

สำหรับแนวโน้มการส่งออกของไทยในปี 2560 คาดว่าจะปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้นกว่าปีก่อน โดยได้รับแรงขับเคลื่อนจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และการปรับตัวดีขึ้นของราคาสินค้าเกษตรสำคัญเป็นหลัก อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเสี่ยงจากความไม่ชัดเจนของนโยบายกีดกันทางการค้า ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน และราคาน้ำมัน ยังคงเป็นประเด็นที่ต้องติดตามและประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง

มูลค่าการค้ารวม

มูลค่าการค้าในรูปของเงินบาท เดือนมิถุนายน การส่งออกมีมูลค่า 693,428 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 7.9 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (YoY) ในขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 635,637 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 9.9 ส่งผลให้การค้าเกินดุล 57,791 ล้านบาท รวม 6 เดือนแรก การส่งออกมีมูลค่า 3,938,195 ล้านบาท (เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.8) การนำเข้ามีมูลค่า 3,741,983 ล้านบาท (เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.9) และการค้าเกินดุล 196,212 ล้านบาท

มูลค่าการค้าในรูปของเงินดอลลาร์ สรอ.  เดือนมิถุนายน การส่งออกมีมูลค่า 20,282 ล้านดอลลาร์ สรอ.  ขยายตัวร้อยละ 11.7 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (YoYในขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 18,365 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 13.7 ส่งผลให้การค้าเกินดุล 1,917 ล้านดอลลาร์ สรอ. รวม 6 เดือนแรก การส่งออกมีมูลค่า 113,547 ล้านดอลลาร์ สรอ. (เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.8) การนำเข้ามีมูลค่า 106,576 ล้านดอลลาร์ สรอ. (เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.0) และการค้าเกินดุล 6,971 ล้านดอลลาร์ สรอ.

การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร

มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 8 ที่ร้อยละ 18.3 (YoY) โดยสินค้าส่งออกที่ขยายตัวดี ได้แก่ ข้าว ขยายตัวร้อยละ 34.4 (ส่งออกไปตลาดเบนิน จีน สหรัฐ)  ยางพารา ขยายตัวร้อยละ 27.2 (ส่งออกไปตลาดจีน มาเลเซีย ญี่ปุ่น)  น้ำตาลทราย ขยายตัวร้อยละ 36.0 (ส่งออกไปตลาดอินโดนีเซีย ไต้หวัน จีน) ผัก ผลไม้สด แช่แข็ง กระป๋องและแปรรูปขยายตัวร้อยละ 15.0 (ส่งออกไปตลาดเวียดนาม จีน ฮ่องกง)  อาหารทะเลแช่แข็ง กระป๋องและแปรรูปที่ขยายตัวร้อยละ 7.7 (ส่งออกไปตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย) ไก่สดแช่แข็งและแปรรูปขยายตัวร้อยละ 12.2 (ส่งออกไปตลาด ญี่ปุ่น เนเธอร์แลนด์และเกาหลีใต้) รวม 6 เดือนแรก กลุ่มสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรขยายตัวร้อยละ 13.1

การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม

มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 ที่ร้อยละ 11.6 (YoY) โดย
สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ  
18.(ส่งออกไปตลาดสหรัฐฯ ฮ่องกงและจีน) ผลิตภัณฑ์ยาง ขยายตัวร้อยละ  43.7 (ส่งออกไปตลาด สหรัฐฯ จีน และญี่ปุ่น) ผลิตภัณฑ์พลาสติก ขยายตัวร้อยละ  49.2 (ส่งออกไปตลาดญี่ปุ่น สหรัฐฯ และจีน) เม็ดพลาสติก ขยายตัวร้อยละ  18.(ส่งออกไปตลาดจีน อินเดีย และญี่ปุ่น) ในขณะที่สินค้าที่ยังคงหดตัว ได้แก่ ทองคำหดตัวร้อยละ 46.2 เนื่องจากฐานมูลค่าการส่งออกในปี 2559 อยู่ในระดับสูง ส่วนรถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ หดตัวเล็กน้อยที่ร้อยละ 2.5 และเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ หดลงร้อยละ 0.9 รวม 6 เดือนแรก กลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 6.9

ตลาดส่งออกสำคัญ

การส่งออกไปตลาดสำคัญๆ ยังคงขยายตัวดีอย่างต่อเนื่อง และขยายตัวเป็นวงกว้างมากขึ้น (โดยตลาดที่ขยายตัวมีสัดส่วนคิดเป็นประมาณร้อยละ 90.0 ของตลาดทั้งหมด) ด้านการส่งออกไปยังตลาดหลักขยายตัวถึงร้อยละ 13.1 ซึ่งการส่งออกไป ญี่ปุ่น สหรัฐฯ และสหภาพยุโรป ขยายตัวร้อยละ 26.5 8.2 และ  5.9 ตามลำดับ สำหรับตลาดศักยภาพสูงขยายตัวร้อยละ 20.5 โดยมีสาเหตุสำคัญจากการขยายตัวสูงอย่างต่อเนื่องของตลาดจีนที่ร้อยละ 29.9 และตลาดอาเซียน (5) ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่สามติดต่อกัน ที่ร้อยละ 24.6  นอกจากนี้ การส่งออกไปยังเอเชียใต้ CLMV เกาหลีใต้ ไต้หวัน และฮ่องกง ขยายตัวร้อยละ 11.6 13.8 29.7 23.7 และร้อย 9.6 ตามลำดับ ด้านตลาดศักยภาพระดับรองขยายตัวร้อยละ 1.3 โดยการส่งออกตะวันออกกลาง กลุ่มประเทศ CIS และแอฟริกา ขยายตัวร้อยละ 9.8 75.1 และ 7.2 อย่างไรก็ตามการส่งออกไปทวีปออสเตรเลียและลาตินอเมริกา หดตัวร้อยละ 9.6 และ 2.3 ตามลำดับ

ตลาดจีน ขยายตัวร้อยละ 29.9 สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ยาง เครื่องคอมพิวเตอร์ฯ ยางพารา เม็ดพลาสติก และ เคมีภัณฑ์ เป็นต้น รวม 6 เดือนแรก ขยายตัวร้อยละ 31.2

ตลาดญี่ปุ่น ขยายตัวร้อยละ 26.5 สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ ผลิตภัณฑ์พลาสติก โทรศัพท์และอุปกรณ์ฯ เม็ดพลาสติก เครื่องจักรกลฯ และ เหล็กและผลิตภัณฑ์ เป็นต้น รวม 6 เดือนแรก ขยายตัวร้อยละ 8.0

ตลาดอาเซียน ขยายตัวร้อยละ 24.6 สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ รถยนต์และส่วนประกอบ เครื่องยนต์สันดาปฯ เครื่องคอมพิวเตอร์ฯ ข้าว และ ผลิตภัณฑ์ยาง เป็นต้น รวม 6 เดือนแรก ขยายตัวร้อยละ 3.1

ตลาด CLMV ขยายตัวร้อยละ 13.8 สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป ผลไม้สด แช่แข็งและแห้งฯ อัญมณีและเครื่องประดับ น้ำตาลทราย และ หม้อแบตเตอรี่ฯ เป็นต้น รวม 6 เดือนแรก ขยายตัวร้อยละ 13.5

ตลาดสหภาพยุโรป (15)  ขยายตัวร้อยละ 5.9 สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ฯ รถยนต์และส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องใช้ไฟฟ้าฯ และ อุปกรณ์กึ่งตัวนำฯ เป็นต้น รวม 6 เดือนแรก ขยายตัวร้อยละ 7.3

เอเชียใต้ ขยายตัวร้อยละ 11.6 สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ เม็ดพลาสติก รถยนต์และส่วนประกอบ ปูนซิเมนต์ ยานพาหนะอื่น ๆ  และ เคมีภัณฑ์ เป็นต้น รวม 6 เดือนแรก ขยายตัวร้อยละ 18.0

ตลาดสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 8.2 สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ฯ ผลิตภัณฑ์ยาง เครื่องซักผ้าและส่วนประกอบฯ เหล็กและผลิตภัณฑ์ และ หม้อแปลงไฟฟ้าฯ เป็นต้น รวม 6 เดือนแรก ขยายตัวร้อยละ 7.2

ตลาดตะวันออกกลาง ขยายตัวร้อยละ 9.สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ โทรศัพท์และอุปกรณ์ฯ ข้าว เครื่องคอมพิวเตอร์ฯ เครื่องปรับอากาศฯ และ ตู้เย็นและส่วนประกอบฯ เป็นต้น รวม 6 เดือนแรก หดตัวร้อยละ 8.5

ตลาดลาตินอเมริกา หดตัวร้อยละ 2.3 สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ รถยนต์และส่วนประกอบ ด้านสินค้าที่ขยายตัวสูง ได้แก่ผลิตภัณฑ์ยาง เครื่องคอมพิวเตอร์ฯ  เครื่องยนต์สันดาปฯ และ เครื่องซักผ้าและส่วนประกอบ 
รวม 6 เดือนแรก ขยายตัวร้อยละ 3.4

แนวโน้มการส่งออกในปี 2560

สำหรับแนวโน้มการส่งออกของไทยในปี 2560 มีทิศทางขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยสำคัญจากอุปสงค์ของประเทศคู่ค้าสำคัญที่ปรับตัวดีขึ้นตามสถานการณ์เศรษฐกิจโลก ประกอบกับราคาน้ำมันดิบที่อยู่ในระดับที่ดีขึ้นกว่าปีก่อน ได้ส่งผลให้ราคาสินค้าเกษตรสำคัญ และราคาสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมันขยายตัวต่อเนื่อง ซึ่งเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกสามารถขยายตัวได้ตามที่คาดการณ์ไว้ อย่างไรก็ตาม ยังมีความเสี่ยงจากความไม่ชัดเจนของนโยบายกีดกันทางการค้า และความผันผวนด้านอัตราแลกเปลี่ยนซึ่งอาจส่งผลต่อภาคการค้าในระยะต่อไป ซึ่งเป็นปัจจัยที่กระทรวงพาณิชย์จะต้องติดตาม พร้อมทั้งเตรียมมาตรการรองรับให้เหมาะสมกับสถานการณ์ เพื่อให้การส่งออกสินค้าของไทยสามารถขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องต่อไป

 
หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 31 มีนาคม 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...