ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
ธรรมาภิบาล ย้อนกลับ
กองทัพเรือจัดกิจกรรมเนื่องในโอกาสครบรอบ 100 ปี ธงชาติไทย
28 ก.ย. 2560

พลเรือเอก ลือชัย รุดดิษฐ์ เสนาธิการทหารเรือ เป็นประธานในการจัดกิจกรรมเนื่องในโอกาส 100 ปี ธงชาติไทย ณ บริเวณเสาธงหน้าอาคารส่วนบัญชาการกองทัพเรือ พื้นที่วังนันทอุทยาน เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย ประธานในพิธีกล่าวน้อมรำลึก และนำผู้เข้าร่วมกิจกรรมซึ่งเป็นกำลังพลกองทัพเรือในพื้นที่ร้องเพลงชาติไทยและเพลงดอกประดู่นอกจากนั้น ในส่วนของ กองบัญชาการกองทัพเรือ พระราชวังเดิม เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร ก็ได้จัดให้มีกิจกรรมเนื่องในโอกาส 100 ปี ธงชาติไทย ณ บริเวณป้อมวิไชยประสิทธิ์ โดยมี พลเรือโท วิโรจน์ ธันวรักษ์กิจ เจ้ากรมสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศทหารเรือ เป็นประธานในพิธี ซึ่งบริเวณป้อมวิชัยประสิทธิ์ นับได้ว่าเป็นพื้นที่ประวัติศาสตร์ จากจดหมายเหตุบันทึกของเรือรบฝรั่งเศส ระบุว่าธงประจำชาติสยามถูกชักขึ้นสู่ยอดเสาครั้งแรก 
เมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ.2223 ณ ป้อมวิไชยประสิทธิ์ สมัยกรุงศรีอยุธยา ในรัชสมัยของสมเด็จ 
พระนารายณ์มหาราช 
  ธงชาติไทย นับเป็นสัญลักษณ์สูงสุดของชาติ เป็นสิ่งเตือนใจให้อนุชนรุ่นหลังได้รำลึกถึงการเสียสละของบรรพบุรุษเพื่อรักษาไว้ซึ่งแผ่นดินและรวมดวงใจของคนทั้งชาติให้เป็นหนึ่ง หล่อหลอมความรัก ความสามัคคี สร้างเสริมความภูมิใจในความเป็นชาติ ทั้งนี้ ธงชาติของแผ่นดินไทย ใต้ร่ม 
พระบารมีจักรีวงศ์ ได้เริ่มขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช  
ทรงกำหนดให้ใช้จักร อันเป็นเครื่องหมายแห่งพระบรมราชวงศ์จักรี ลงไว้กลางธงผ้าผืนแดง สำหรับในเรือกำปั่นหลวง เพื่อแสดงความแตกต่างจากเรือราษฎรชาวสยามทั่วไปที่ยับคงใช้ธงแดงเกลี้ยงมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้โปรดให้ทำรูปช้างสีขาวไว้กลางวงจักร เพื่อชักในเรือหลวง ส่วนเรือราษฎร ยังคงใช้ธงแดงเช่นเดิม ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราชโองการให้เรือของราษฎรใช้ธงเหมือนอย่างเรือหลวง  
แต่ให้นำรูปจักรออกเพราะเป็นของสูง คงไว้แต่ช้างเผือกบนพื้นแดงต่างกันแคเพียงสีพื้น โดยธงเรือราษฎรมีพื้นสีแดง ส่วนเรือหลวงมีพื้นสีขาบ  
 
- 2 - 
 
  จนกระทั่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติว่าด้วยแบบอย่างธงสยามรัตนโกสินทร์ศก ๑๑๐ ขึ้น เป็นพระราชบัญญัติธงฉบับแรก ของประเทศไทย โดยธงเรือรบหลวงมีรูปช้างเผือกทรงเครื่องบนพื้นแดง มีจักรอยู่บนมุมซ้าย 
ส่วนธงเรือราษฎร เป็นรูปช้างเผือกเปล่าบนพื้นแดง และต่อมาได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ออกพระราชบัญญัติธงรัตนโกสินทร์ศก 129 ขึ้นใหม่ โดยแยกเป็น ธงราชการ ธงทหารเรือ และธงชาติ โดยแรกเริ่มนั้น ธงชาตินั้นยังมีรูปแบบเหมือนธงเรือราษฎร เรือเป็นรูปช้างเผือกบนพื้นแดง จนกระทั่งในปี พ.ศ.2459 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ออกประกาศเพิ่มเติมแก้ไขพระราชบัญญัติเพิ่มเติม และนำมาสู่การพระราชทาน ธงไตรรงค์ เป็นธงประจำชาติ ในวันที่ 28 กันยายน 2460 โดยทรงอธิบายถึงความหมายไว้ใน พระราชนิพนธ์ “เครื่องหมายแห่งไตรรงค์” ว่า สีแดง หมายถึง เลือดอันยอมพลีเพื่อธำรงรักษาชาติและศาสนา สีน้ำเงิน หมายถึง สีส่วนพระองค์ของพระมหากษัตริย์ และ สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์แห่งพระศาสนา อันแสดงให้เห็นถึงการเป็นนักออกแบบชั้นยอด ที่สามารถออกแบบธง ให้มีความหมายรวมถึงสถาบันหลักของแผ่นดิน คือ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เป็นสัญลักษณ์บนผืนธงชาติได้อย่างงดงาม ขณะเดียวกันก็ไม่ทรงทิ้งรูปแบบธงเดิมที่แสดงถึงประวัติศาสตร์ความเป็นมาของธง ทรงรักษาและให้ปรากฏอยู่บนธงราชนาวี อันเป็นธงชาติอีกแบบหนึ่งซึ่งแสดงถึงความเป็นชาติไทยที่ชักในเรือหลวง ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล่าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นผู้ให้กำเนิดธงราชนาวีอย่างเป็นทางการ เช่นเดียวกับธงไตรรงค์  
 ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรี มีมติเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2459 เห็นชอบให้ วันที่ 28 กันยายน ของทุกปีเป็น วันพระราชทานธงชาติไทย (Thai National Flag Day) และเริ่มในวันที่ 28 กันยายน 2560 เป็นครั้งแรก โดยไม่ถือเป็นวันหยุดราชการ รวมทั้งกำหนดให้มีการชักและประดับธงชาติในวันดังกล่าวโดยพร้อมเพรียงกัน

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...