ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
คุณภาพชีวิต ย้อนกลับ
ไทยประชุมUN ชูสุขภาพคือการลงทุน
25 ก.ย. 2562

  นายแพทย์สำเริง แหยงกระโทก ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้รับมอบหมายจากนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข  ให้ร่วมอภิปรายการประชุมระดับสูงว่าด้วยหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (High-level Meeting on Universal Health Coverage – UHC) ณ ห้องประชุมคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ (ECOSOC Chamber) สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2562 โดยมีนพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข นพ.สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ กรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และ นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ร่วมการประชุม

           นายแพทย์สำเริงกล่าวว่า ได้เข้าร่วมอภิปรายใน 2 หัวข้อ คือ หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในฐานะผู้ผลักดันความเท่าเทียม การพัฒนาอย่างทั่วถึง ซึ่งประเทศไทยได้เปลี่ยนกระบวนทัศน์ใหม่ จากความเชื่อเดิมที่ว่า สุขภาพคือค่าใช้จ่าย มาเป็นสุขภาพคือการลงทุน โดยเริ่มจากประชากรกลุ่มชายขอบและเปราะบาง ทำให้หลักประกันสุขภาพของไทยจึงเริ่มจากประชากรที่มีรายได้น้อยก่อนในปี 2518 และขยายมายังกลุ่มแรงงานในระบบด้วยระบบประกันสังคมในปี 2533 ก่อนจะบรรลุหลักประกันสุขภาพได้อย่างถ้วนหน้าในปี 2545 โดยมีวิสัยทัศน์ ทุกคนบนผืนแผ่นดินไทยสามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขที่จำเป็นโดยไม่มีอุปสรรคด้านการเงินมาขวางกั้น

           สำหรับหัวข้อการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนและผู้มีส่วนได้เสียในการลงทุนเพื่อบรรลุหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้านั้น ประเทศไทย มีระบบการกำกับดูแลหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า โดยคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ  30 คน ประกอบด้วยตัวแทนร่วมจากกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียจากหลายภาคส่วน ทั้งภาคประชาสังคม (เป็นสตรี 4 ใน 5 คนผู้ให้บริการสาธารณสุข องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อดีตข้าราชการ และผู้เชี่ยวชาญอิสระ ร่วมกันกำกับดูแลแบบเข้มแข็งและมีส่วน ทำให้เกิดธรรมาภิบาล ความโปร่งใส ความรับผิดรับชอบ หลักนิติธรรม ความเป็นธรรมและความเพียงพอ 

นายแพทย์สำเริงกล่าวต่อว่า ได้หารือทวิภาคีนายแพทย์ซเวลลินิ แอล มไคซ์ (Dr.Zwelini L Mkhize) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประเทศแอฟริกาใต้ เกี่ยวกับความร่วมมือพัฒนาหลักประกันสุขภาพระหว่างประเทศ โดยแอฟริกาใต้ต้องการเรียนรู้บทเรียนการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของไทยที่ประสบความสำเร็จและเป็นต้นแบบสาธารณสุขของโลก ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยเป็นที่ปรึกษาการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าให้กับหลายประเทศ ล่าสุดคือสาธารณรัฐเคนยา

 

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...