ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
เศรษฐกิจชุมชน ย้อนกลับ
นศ.หอการค้าไทยร่วมส่งใจให้คณะแพทย์สู้โควิด- 19 พร้อมหยุดเคลื่อนที่ไม่กลับบ้านต่างจังหวัด
25 มี.ค. 2563

            ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ได้แถลงภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ผ่านระบบวีดิโอคอนเฟอเร้นซ์  วาระสำคัญการประชุมคือมาตรการในการดูแลแก้ปัญหาโควิด – 19ในระยะที่ 2 พร้อมประกาศใช้พระราชกำหนดฉุกเฉินในวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ.2563นี้ สภาหอการค้าไทยและมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยถือเป็นสถาบันหลักในการขับเคลื่อนธุรกิจและอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการของประเทศไทย พร้อมจับมือทุกหน่วยงานในการฝ่าฟันวิกฤติโควิด – 19 ครั้งนี้  เพื่อให้ผู้ประกอบการไทยโดยเฉพาะรายเล็กๆ สามารถประคองตัวและพาธุรกิจฝ่าพ้นก้าวข้ามเหตุการณ์นี้ไปได้

            ล่าสุดตัวแทนนักศึกษาคณะบริการธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยพร้อมใจกันส่งกำลังใจและหัวใจเด็กหัวการค้าให้กับคณะแพทย์ พยาบาล บุคลากรทุกสาขาที่เกี่ยวข้องทั้งโรงพยายาลในกรุงเทพและตามจังหวัดต่างๆ ที่คณะทำงานเหล่านี้ต้องเสียสละเวลา ความรู้ ความสามารถและสุขภาพ ที่สำคัญนักศึกษามหาวิทยาลัยยังได้ร่วมกันรณรงค์ให้นักศึกษาที่อยู่บ้านต่างจังหวัดอย่าพึ่งเดินทางกลับบ้าน ขอให้ทุกคนร่วมมือร่วมใจกันอยู่หอพัก เพื่อทำการกักตัวเองเอาไว้ที่กรุงเทพมหานครก่อน ถือเป็นการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างสูงสุดในสภาวะวิกฤติของประเทศไทยที่นักศึกษาทุกคนควรมี เป็นทางออกที่ให้คณะแพทย์ พยาบาลสามารถหยุดการแพร่กระจายเชื้อไวรัสโควิด – 19 ได้ดีที่สุด

            นางสาวกานติมา ลอกทอง (น้องบี) นักศึกษาชั้นปีที่ 4  คณะบริหารธุรกิจ สาขาการตลาด มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เล่าว่า “โดยส่วนตัวเป็นคนต่างจังหวัดและอาศัยอยู่ที่ ตำบลบึงแก อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร การที่เราเลือกที่จะไม่กลับบ้านในช่วงนี้ เพราะว่าจะได้เป็นการช่วยลดปริมาณผู้ป่วยและยังช่วยป้องกันตัวเองไม่ให้ไปรับเชื้อจากสถานที่ต่าง ๆ ที่มีคนสัญจรเยอะ การที่เรากักตัวเองอยู่หอพักและไม่เดินทางไปยังสถานที่ต่าง ๆ หรือกลับบ้านตามภูมิลำเนาก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยลดการทำงานของผู้ที่เกี่ยวข้องได้อีกด้วย ลดการทำงานหนักของคณะแพทย์ พยาบาลและผู้ที่เกี่ยวข้อง เอาใจช่วยแพทย์ พยาบาล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างมากเพราะพวกเขาทำงานกันหนักมาก และผู้ป่วยก็มีเยอะมากในตอนนี้”

            นางสาวจิตติมา ยางอุ้ย (น้องโอ๋) นักศึกษาชั้นปีที่ 4  คณะบริหารธุรกิจ สาขาการตลาด มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า “โอ๋เป็นคนตำบลบึงงาม อำเภอทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด ที่เราเลือกไม่กลับบ้านในตอนนี้เพราะว่าถึงจะกลับบ้านไปแต่ก็ต้องกักตัว 14 วัน อาจจะทำให้เราไม่ได้พบปะกับญาติพี่น้องมันเลยทำให้เรารู้สึกว่าไม่มีความสุข ก็เลยเลือกที่จะไม่กลับดีกว่า ก็การอยู่กรุงเทพก็ถือเป็นการแสดงออกถึงความรับผิดชอบต่อสังคมรูปแบบหนึ่ง ที่สำคัญเป็นการหยุดการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสไปสู่ครอบครัวเราที่บ้านเกิดอีกด้วย”  

            นางสาวณัฐธิดา นวลจันทร์ (น้องปลาย) นักศึกษาชั้นปีที่ 5  คณะบริหารธุรกิจ สาขาการตลาด มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่าปลายเป็นคน ตำบลวังกรด อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร เราก็เลือกที่จะไม่กลับบ้านเพราะว่าเราจะได้ไม่เพิ่มการแพร่เชื้อและปริมาณผู้ติดเชื้อให้เพิ่มมากขึ้น อีกทั้งเรายังเป็นห่วงที่บ้านเพราะถ้าเราดินทางโดยรถโดยสารเราจะต้องเจอคนมากมายซึ่งเราก็ไม่รู้ว่าคนส่วนใหญ่นั้นใครมีอาการติดเชื้อมากน้อยแค่ไหน ถ้าเรายังเดินทางไปกับเขาอาจจะส่งผลไม่ดีต่อตัวเรา เพราะที่บ้านเราก็มีคนสูงอายุอีกด้วยมันจึงอาจจะเป็นอันตรายต่อพวกเขาเมื่อเราเดินทางไปถึงก็เลยเลือกที่จะอยู่หอพักและไม่กลับบ้านจะดีกว่า แต่ถ้าเราคิดถึงที่ผ่านก็จะมีการวีดีโอคอล ที่สำคัญลดภาระงานให้กับคณะแพทย์ พยาบาลที่ทำงาน เราต้องช่วยคุณหมอทั้งทางตรงและทางอ้อมโดยการงดเคลื่อนที่ไปในที่ต่างๆ ลดการติดเชื้อไวรัสโควิด – 19 ให้เหลือเป็นศูนย์ในประเทศไทย”

          นางสาวทิพปภา นาคสังข์ (น้องเกน) นักศึกษาชั้นปีที่ 5  คณะบริหารธุรกิจ สาขาการตลาด มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เล่าว่า “เนื่องจากเราเป็นคน ตำบลเนินขาม อำเภอเนินขาม จังหวัดชัยนาท เราเลือกที่จะอยู่หอและเลือกที่จะไม่กลับบ้านต่างจังหวัด เพราะว่าจะได้ลดการติดเชื้อด้วยถ้าเรากลับบ้านไปเราก็ไม่รู้ว่าตัวเราจะได้รับเชื้อมาหรือเปล่าระหว่างการเดินทางกลับบ้าน ถ้าเรากลับบ้านไปก็อาจจะทำให้คนที่บ้านหรือคนในจังหวัดของเราจะได้รับการติดเชื้อไปด้วย ตอนนี้สิ่งที่สำคันที่สุดคนไทยทุกคนต้องร่วมกันเสียสละเพื่อส่วนร่วม งดการเคลื่อนที่หรือไปในสถานที่เสี่ยงการติดเชื้อโควิด – 19 ทุกคนต้องดูแลรักษาสุขภาพตัวเอง คนในครอบครัวและรับผิดชอบต่อสังคมให้มากที่สุด”

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...