ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
การเมือง / การปกครอง ย้อนกลับ
โพลระบุประชาชนหนุนยกเลิกอำนาจส.ว.เลือกนายกฯ
13 ก.ย. 2563

ศูนย์สํารวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสํารวจของประชาชน เรื่อง“จะมี ส.ว. ต่อไปดีไหม?” ทําการสํารวจระหว่างวันที่8–10กันยายน 2563จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาคระดับการศึกษาและอาชีพทั่วประเทศรวมทั้งสิ้น จํานวน 1,317 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 272เพื่อยกเลิกอํานาจ สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.)

การสํารวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็ นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample)ของ“นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย(Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์โดยกําหนดค่าความเชื่อมันที่ร้อยละ  97.0

จากการสํารวจเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 272 เพื่อยกเลิกอํานาจ สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ในการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีพบว่า ร้อยละ 61.27 ระบุว่า เห็นด้วยมากร้อยละ 16.48ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย ร้อยละ 8.96ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วยร้อยละ 13.21 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลยและร้อยละ 0.08ระบุว่า เฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

ด้านความคิดเห็นของผู้ที่ตอบเห็นด้วยมากและค่อนข้างเห็นด้วยต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพียงแค่มาตรา 272เพื่อยกเลิกอํานาจ ส.ว. ในการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี และหลังจากนั้นให้มีการยุบสภาเพื่อเลือกตั้งใหม่ พบว่า ร้อยละ 69.27ระบุว่า เห็นด้วยมาก ร้อยละ 15.90 ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วยร้อยละ 6.24ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วยร้อยละ 7.22ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลยและร้อยละ 1.37ระบุว่า เฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ 

สําหรับสิ่งที่ ส.ว. ควรดําเนินการเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน (2560) พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 54.75ระบุว่า ควรสนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตรา รองลงมา ร้อยละ 30.37 ระบุว่า ควรสนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ ด้วยการตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.)ร้อยละ 10.70ระบุว่า ไม่ควรสนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญทุกรูปแบบ และร้อยละ 4.18ระบุว่า เฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความจําเป็นต้องมี ส.ว. ในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภาของประเทศไทย พบว่า ส่ วนใหญ่ ร้อยละ 38.27  ระบุว่า จําเป็นต้องมีส.ว. เพราะ เพื่อเป็นการถ่วงดุลทางการเมือง ควบคุม/ตรวจสอบการทํางานของ ส.ส. กลันกรองกฎหมายสําคัญ ๆ ต่าง และการได้มาของ ส.ว. ต้องเป็นการเลือกตั้งจากประชาชนเพื่อเข้ามาเป็ น ส.ว. เท่านั้น ขณะที่ ร้อยละ 31.66ระบุว่า ไม่ จําเป็นต้องมี ส.ว. เพราะไม่มีผลงานที่เด่นชัด ไม่มีบทบาทการทํางานที่ชัดเจน สิ้นเปลืองงบประมาณแผ่นดิน และมี ส.ส. ก็เพียงพอกับประชาชนแล้วจึงไม่จําเป็นต้องมี ส.ว. และร้อยละ 30.07ระบุว่า มีหรือไม่มีส.ว. ก็ได้เพราะ ประชาชนยังไม่เห็นการทําหน้าที่และผลงานของ ส.ว. ที่ชัดเจน

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...