ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
เกษตรนำไทย ย้อนกลับ
กษ.เผยผลความคืบหน้า แผนขับเคลื่อนแปลงใหญ่
27 เม.ย. 2560

กระทรวงเกษตรฯ เผยผลความคืบหน้าแผนขับเคลื่อนแปลงใหญ่ เตรียมพร้อมสู่ฤดูกาลผลิตใหม่ พบพืชเกษตรหลายชนิดลดต้นทุน เพิ่มผลการผลิต เห็นผลทันตา

โดยพลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เปิดเผยถึงเรื่องนี้ว่ากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้บูรณาการขับเคลื่อนงานส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ เพื่อสนับสนุนให้เกษตรกรรายย่อยรวมกันผลิตสินค้าเกษตร พร้อมจัดหาปัจจัยการผลิตและจำหน่ายผลผลิตร่วมกัน ลดต้นทุนที่เหมาะสม เพิ่มผลผลิต และให้สามารถแข่งขันในตลาดได้ ซึ่งในปี 2560 นี้ กระทรวงเกษตรฯ ได้มอบหมายให้หน่วยงานในสังกัดทุกหน่วยงานประสานความร่วมมือกับภาคเอกชน เร่งบูรณาการขับเคลื่อนพัฒนาระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่อย่างต่อเนื่องตามความต้องการของพื้นที่และเกษตรกร เน้นให้สอดรับกับนโยบายของกระทรวงเกษตรฯ ที่กำหนดให้เป็นปีแห่งการยกระดับมาตรฐานการเกษตรสู่ความยั่งยืน โดยมุ่งพัฒนาคุณภาพผลผลิตสินค้าเกษตรแปลงใหญ่ให้ได้รับการรับรองมาตรฐานเพิ่มมากขึ้น อาทิ จีเอพี (GAP) หรือเกษตรอินทรีย์ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในคุณภาพและความปลอดภัยให้กับผู้บริโภคทั้งภายในและต่างประเทศ และช่วยสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับเกษตรกรด้วย

ขณะที่นายสมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า ในปี 2559 ที่ผ่านมา กระทรวงเกษตรฯ โดยกรมส่งเสริมการเกษตรได้ดำเนินการขับเคลื่อนงานส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ไปแล้วทั้งหมด 33 ชนิดสินค้า 9 ประเภท จำนวน 600 แปลง พื้นที่ 1,539,866.41 ไร่ มีเกษตรกรทั้งหมด 96,697 ราย จากการดำเนินงานที่ผ่านมา ทั้ง 9 กลุ่มสินค้า พบว่า ข้าว ลดต้นทุนได้ 19% เพิ่มผลผลิตได้ 13% พืชไร่ ลดต้นทุนได้ 22.7% เพิ่มผลผลิตได้ 27.8% ไม้ยืนต้น ลดต้นทุนได้ 14.9% เพิ่มผลผลิตได้ 18.7% ผัก/สมุนไพร ลดต้นทุนได้ 16.5% เพิ่มผลผลิตได้ 30.2% ไม้ผล ลดต้นทุนได้ 15.7% เพิ่มผลผลิตได้ 15.4% หม่อนไหม ลดต้นทุนได้ 10% เพิ่มผลผลิตได้ 10% กล้วยไม้ ลดต้นทุนได้ 10% เพิ่มผลผลิตได้ 10% ปศุสัตว์ ลดต้นทุนได้ 5.2% เพิ่มผลผลิตได้ 15.7% และประมง ลดต้นทุนได้ 8.6% เพิ่มผลผลิตได้ 8.1% มูลค่าเพิ่มจากการเพิ่มผลผลิตทั้งหมด 3,437.8 ล้านบาท มูลค่าเพิ่มจากการลดต้นทุนการผลิตทั้งหมด 1,427.1 ล้านบาท รวมทั้งสิ้น 4,864.9 ล้าน

สำหรับปี 2560 นี้ มีจำนวนแปลงใหญ่เพิ่มขึ้นจากเดิมที่วางเป้าหมายไว้ 600 แปลง เพิ่มขึ้น 912 แปลง รวม 1,512 แปลง รับรองไปแล้ว 1,417 แปลง และอยู่ระหว่างการดำเนินการตรวจสอบข้อมูลอีก 95 แปลง ที่เหลืออีก 750 แปลง คือ แปลงข้าวที่ได้จากการปรับหลักเกณฑ์ อยู่ระหว่างขั้นตอนการพิจารณาตรวจสอบข้อมูลเพื่อรับการรับรองเข้าสู่ระบบ โดยมีแผนการพัฒนาแปลงใหญ่ แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่

ระยะที่ 1 เตรียมการก่อนเข้าสู่ฤดูกาลผลิต (ต.ค. 59 - เม.ย. 60) มีการพัฒนาผู้จัดการแปลง พัฒนาเกษตรกร (การจัดทำบัญชี การพัฒนากลุ่มให้เข้มแข็ง การจัดทำแผนผลิตรายครัวเรือน การจัดทำแผนปฏิบัติงานรายแปลง) พัฒนา IFPP และพัฒนาด้านการตลาด เช่น การเชื่อมโยงผลผลิตแปลงใหญ่ รวมไปถึงโมเดิร์นเทรดทั้งหลายที่จะเข้ามาซื้อสินค้ากับเกษตรกร หรือแม้แต่ผู้ค้าท้องถิ่นที่จะเข้ามาช่วยเหลือในการดำเนินกา

ระยะที่ 2 ช่วงฤดูกาลผลิต (พ.ค. - ธ.ค. 60) โดยจะถ่ายทอดความรู้ตามชนิดสินค้า การนำเทคโนโลยีไปพัฒนาการผลิตและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การพัฒนาการตลาด การประเมินผลผลิตและประสานการตลาด รวบรวมและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ วางแผนส่งมอบสินค้าแปลงใหญ่ และ วางแผนการปลูกพืชฤดูแล้ง/พืชเหลื่อมฤดู และระยะที่ 3 หลังฤดูกาลผลิต (ม.ค. - มี.ค. 61) เป็นการสรุปและประเมินผลการผลิตประจำฤดู รวมทั้งดำเนินการปลูกพืชฤดูแล้ง โดยความพร้อมของแปลงใหญ่ในปีนี้ จากที่วางเป้าหมายไว้แค่ 1,512 แปลง ขณะนี้เกินไปเกือบ 2000 กว่าแปลงแล้ว คาดว่าน่าจะถึงเป้าหมาย 7000 แปลง ภายใน 3 ปี

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ต้องระวังคือ การคำนึงถึงคุณภาพการดำเนินการตามมาตรการของแปลงใหญ่ ซึ่งขณะนี้มีหลายภาคส่วนที่เข้ามาใช้การขับเคลื่อนการพัฒนาภาคการเกษตรโดยใช้แปลงใหญ่ จึงต้องทำความเข้าใจเพื่อที่ขับเคลื่อนเรื่องนี้ให้เป็นมาตรฐาน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาเป้าหมายคุณภาพสินค้าการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต

ทั้งนี้ กรมส่งเสริมการเกษตร ได้มีการหารือกับโมเดิร์นเทรดที่จะเข้ามารับสินค้า อาทิ เทสโก้ โลตัส ท็อปส์ ซูเปอร์มาร์เก็ต บิ๊กซี หน่วยงานและห้างร้านในพื้นที่ ซึ่งกรมส่งเสริมการเกษตรได้นำมาเทียบกับพื้นที่แปลงใหญ่เพื่อวางแผนการผลิตรองรับโมเดิร์นเทรด ซึ่งขณะนี้โมเดิร์นเทรดเกือบทุกสาขาได้เกิดความมั่นใจว่าจะได้รับผลผลิตที่มีคุณภาพ ปริมาณและจำนวนที่แน่นอนจากการบริหารจัดการแปลงใหญ่ตามระยะเวลาที่กำหนด

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...