ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
คุณภาพชีวิต ย้อนกลับ
สธ.และสปสช. ร่วมพิจารณาแก้ไขหลักเกณฑ์โครงการ 30 บาท
15 มิ.ย. 2560

      นายแพทย์โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข  กล่าวว่าโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค เกิดขึ้นเมื่อปี 2545 เพื่อจุดประสงค์ให้ประชาชนที่ป่วย เข้าถึงการรักษาพยาบาลโดยไม่ต้องห่วงว่าจะล้มละลายจากการจ่ายค่ารักษาพยาบาล วัตถุประสงค์ของโครงการจึงเป็น Sick Care ตั้งแต่แรกเริ่มโครงการ

     หลักเกณฑ์การจ่ายเงินให้หน่วยบริการในพื้นที่ ตามการจัดการเฉพาะโรค ตามบริการคัดกรองโรค รักษา หรือตามการเจ็บป่วย เป็นเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.)กำหนด และมีมาตั้งแต่เริ่มโครงการ ฯ ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขและสปสช.เห็นตรงกันว่าเป็นหลักเกณฑ์ที่ไม่สนับสนุนการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค (เป็นSick Care) และกำลังร่วมกันแก้ไขในเรื่องนี้

     นายแพทย์โสภณ กล่าวต่อไปว่า งบค่าใช้จ่ายรายหัวในโครงการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่รัฐบาลต้องจัดสรรเพิ่มขึ้นนั้น มีความสอดคล้องกับความต้องการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพของประชาชน โดยเมื่อเริ่มต้นโครงการในปี 2545 มีประชาชนเข้ารับบริการในสถานบริการ 102.9 ล้านครั้ง เพิ่มขึ้นเป็น 153.4 ล้านครั้งในปี 2553 และผู้ป่วยในใช้บริการสุขภาพเพิ่มขึ้ นจาก 3.4 ล้านคน เป็น 5.6 ล้านคน (ข้อมูลจากสํานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, 2554) นอกจากนี้ การก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย ซึ่งเราไม่สามารถป้องกันไม่ให้คนแก่ได้ ทำได้คือสร้างระบบการดูแลผู้สูงอายุ ลดการเป็นผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียงให้ผู้สูงอายุ เข้าถึงบริการสุขภาพที่เน้นกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ ซึ่งรัฐบาลปัจจุบันได้ให้ความสำคัญและสนับสนุนงบประมาณ

      ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุข ดำเนินการเรื่องการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคประชาชนทุกกลุ่มวัย (Health Care) มาโดยตลอด เริ่มตั้งแต่อยู่ในครรภ์จนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต เน้น "การสร้างนำซ่อม"ภายใต้การดำเนินงานในโครงการต่างๆ อาทิ ฝากครรภ์คุณภาพ แผนเสริมสร้างภูมิคุ้มโรคในเด็ก โรงเรียนพ่อ-แม่ การป้องกันการขาดสารไอโอดีน สาวไทยแก้มแดง คัดกรองโรค เบาหวาน ความดันโลหิตสูง เมตาโบลิคซินโดรม โรคไต ความเสี่ยงโรคหัวใจ คัดกรองต้อกระจก มะเร็งปากมดลูก ธาลัสซีเมียในหญิงตั้งครรภ์ พัฒนาการเด็ก สุขภาพจิตและปีหน้าจะเพิ่ม มะเร็งลำไส้ไหญ่ วัคซีนตามคำแนะนำ WHO, ไข้หวัดใหญ่, HPV เป็นต้น

นายแพทย์โสภณ กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ขณะนี้แผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี ด้านสาธารณสุข เร่งรัดพัฒนาความเป็นเลิศ 4 ด้านได้แก่ โดยการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค (P&P Excellence) ที่มีแผนงานโครงการรองรับอาทิ การบูรณาการ 4 กระทรวงดูแลผู้สูงอายุและเด็ก การลดการบาดเจ็บจากจราจร ลดกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรังเป็น 1 ใน 4 ยุทธศาสตร์ที่กระทรวงสาธารณสุขเร่งรัด ร่วมกับการพัฒนาระบบบริการเป็นเลิศ (Service Excellence) ที่จะทำให้คนไทยมีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวดูแล 6,500 คน ภายใน 10 ปี การจัดระบบแพทย์ฉุกเฉิน ระบบ EMCO ระบบดูแลผู้ป่วยระยะยาว การพัฒนาคนเป็นเลิศ (People Excellence) การวางแผนอัตรากำลังคน ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในแต่ละภูมิภาคผลิตและพัฒนาบุคลากร การปรับระบบค่าตอบแทนบุคลากร และระบบบริหารจัดการเป็นเลิศ (Governance Excellence) อภิบาลระบบสาธารณสุข สร้างต้นแบบองค์กรคุณธรรม ความมั่นคงด้านยาและเวชภัณฑ์ การใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลและพัฒนาสมุนไพร โดยมีเป้าหมาย คือ ประชาชนสุขภาพดี มีอายุคาดเฉลี่ยเมื่อแรกเกิดไม่น้อยกว่า 80 ปี และอายุคาดเฉลี่ยของการมีสุขภาพดีเมื่อแรกเกิดไม่น้อยกว่า 72 ปี เจ้าหน้าที่มีความสุข และระบบสุขภาพยั่งยืน

 

 

 

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 1 - 15 พฤษภาคม 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...