ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
เกษตรนำไทย ย้อนกลับ
121 ปี กรมชลประทาน สู่อนาคต สู่ทศวรรษใหม่
13 มิ.ย. 2566

ฉลองครบรอบ 121 ปี กรมชลประทาน ก้าวสู่ทศวรรษที่ 13 พัฒนางานด้านชลประทานอย่างไม่หยุดนิ่ง      มุ่งสร้างความมั่นคงทางด้านน้ำ เพิ่มคุณค่าการบริการ ก้าวสู่องค์กรอัจฉริยะภายในปี 2580  จัดกิจกรรมงานวันคล้ายวันสถาปนากรมชลประทาน “121 ปี กรมชลประทาน สู่อนาคต สู่ทศวรรษใหม่” โดยได้รับเกียรติจาก  ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานในพิธีเปิดงาน โดยมี นายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  เข้าร่วมงานพร้อมรับชมนิทรรศการทั้งในรูปแบบออฟไลน์และออนไลน์

นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า ตลอดระยะเวลา 121 ปี แห่งการกำเนิดและวิวัฒนาการงานชลประทานในประเทศไทย  จากกรมคลอง สู่กรมทดน้ำ จนถึงปัจจุบันก้าวสู่ทศวรรษที่ 13 กรมชลประทานได้ทุ่มเททำงานเพื่อสานต่องานด้านชลประทานอย่างไม่เคยหยุดนิ่ง ตามภารกิจหลักภายใต้ยุทธศาสตร์กรมชลประทาน 20 ปี (พ.ศ.2561-2580)  ด้วยการพัฒนาแหล่งน้ำ  เพิ่มพื้นที่ชลประทาน  โดยมีเป้าหมายในการเพิ่มพื้นที่ชลประทานให้ได้กว่า 49.5  ล้านไร่ เพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนได้ประมาณ 93,655 ล้านลูกบาศก์เมตร  เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำโดยการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาปรับใช้ เพื่อป้องกันและบรรเทาภัยพิบัติจากน้ำ  รวมไปถึงมุ่งสร้างความมั่นคงด้านน้ำ Water Security เพิ่มคุณค่าการบริการ ก้าวสู่องค์กรอัจฉริยะภายในปี 2580  ตาม  Road Map การดำเนินงานทั้ง 4 เฟส เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพและบรรลุเป้าหมายที่วางไว้  ได้แก่

             เฟส 1 (2561-2565) "เสริมพลังใหม่สู่การปรับเปลี่ยน" มีโครงการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดใหญ่ ขนาดกลาง ขนาดเล็ก และโครงการพระราชดำริ ที่ดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จหลายโครงการ กระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ  สามารถเพิ่มปริมาณน้ำเก็บกักได้รวม 1,292.50 ล้านลูกบาศก์เมตร  และเพิ่มพื้นที่ชลประทานได้ 1.94 ล้านไร่          

          ในปี 2566 กรมชลประทานเริ่มก้าวสู่ เฟส 2 (2566-2570) "สร้างภาคีเครือข่ายและความร่วมมือ" มุ่งสู่การเป็นศูนย์กลางการควบคุมและบริหารน้ำระบบอัจฉริยะ ก่อสร้างระบบชลประทานด้วยนวัตกรรมชั้นสูง สร้างระบบเครือข่ายที่เข้มแข็ง

             เฟส 3 (2571-2575) "ปฏิรูปรูปแบบกระบวนงาน"  Smart Water Operation Center

             และเฟส 4  (2576-2580) "มุ่งสู่องค์กรอัจฉริยะ" พัฒนาแหล่งน้ำชลประทานครอบคลุมทุกลุ่มน้ำ ระบบชลประทานครบสมบูรณ์

  เนื่องในโอกาสครบรอบ 121 ปี ในวันที่ 13 มิถุนายน 2566 นี้  เป็นการก้าวสู่ทศวรรษที่ 13  กรมชลประทานได้จัดงานนิทรรศการ 2 รูปแบบ ได้แก่ นิทรรศการออนไลน์  “สู่อนาคต สู่ทศวรรษใหม่ 121 ปี กรมชลประทาน” เป็นนิทรรศการเสมือนจริงแบบ 3 มิติ จัดแสดงนิทรรศการประวัติความเป็นมางานด้านชลประทาน  ผลงานตามภารกิจของกรมชลประทานตลอดจนทิศทางการขับเคลื่อนงานสู่เฟส 2 นอกจากนี้ภายในงานยังสามารถร่วมชมนิทรรศการในรูปแบบ On ground  ภายใต้ชื่อนิทรรศการ “กรมชลประทาน 6 รัชกาล งานของแผ่นดิน”   พร้อมจัดกิจกรรมต่างๆ ภายในงาน อาทิ  การเสวนาพิเศษจากวิทยากรสุดเซอร์ไพรส์ ดร.อั๋น ภูวนาท คุนผลิน กับหัวข้อ “ปลุกพลัง RID TEAM สร้างความสำเร็จ สู่อนาคตใหม่”   พิธีประกาศเกียรติคุณแก่ข้าราชการพลเรือน และลูกจ้างประจำดีเด่น ประจำปี 2565  กิจกรรมมอบโล่รางวัลการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษา โครงการชลประทาน และฝ่ายส่งน้ำและบำรุงรักษา ประจำปี 2566  เพื่อเป็นขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ในการขับเคลื่อนงานตามภารกิจเพื่อประโยชน์ของประชาชนต่อไป 

นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรม “มอบทุนต้นกล้าเกษตรคืนถิ่นเพื่อความยั่งยืน"  ให้แก่บุตรเกษตรกรที่ผ่านการคัดเลือกให้ศึกษาต่อระดับปริญญาตรี ณ วิทยาลัยการชลประทาน  กิจกรรมร่วมบริจาคโลหิตให้สภากาชาดไทย  และกิจกรรมแจกกล้าไม้ อาทิ สักทอง พะยูง ยางนา ตะเคียนทอง รวม 520 กล้า รวมไปถึงการจัดจำหน่ายผลผลิตทางเกษตรจากเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบภายใต้แผนพัฒนาอาชีพและแผนป้องกันแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม จากการก่อสร้างโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ บริเวณด้านหลังอาคาร 99 ปี หม่อมหลวงชูชาติ กำภู 

กรมชลประทาน จึงขอเชิญชวนร่วมชมนิทรรศการเนื่องในโอกาสครบรอบ 121 ปี กรมชลประทาน พร้อมกิจกรรมอื่นๆ ที่น่าสนใจ ได้ภายในวันที่ 13 มิถุนายน 2566 ณ กรมชลประทาน ถนนสามเสน  และร่วมสัมผัสเรื่องราวความประทับ  ในรูปแบบนิทรรศการเสมือนจริง 3 มิติ ผ่านทางเว็บไซต์ กรมชลประทาน http://www.121exhibition.rid.go.thได้ตั้งแต่วันที่ 13 มิถุนายน 2566 เป็นต้นไป

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...